X

กทม. ผ่อนคลายระยะ 3 เปิด 17 สถานที่ แต่ยังต้องเข้มลดเสี่ยงโควิด-19

กรุงเทพฯ – คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. มีมติเปิด 17 สถานที่รับผ่อนคลายระยะ 3 ให้บริการ1 มิ.ย.นี้

วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร แถลงผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 ระยะที่ 3 โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน โดยจะมีกิจการและกิจกรรมที่เปิดเพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2563 ดังนี้

1.ร้านอาหาร นั่งรับประทานร่วมกันได้ แต่ต้องเว้นระยะห่าง 1 เมตร (จากเดิม 1.5 เมตร) เพื่อไม่ให้เกิดความหนาแน่นมากเกินไป แต่ไม่จำกัดคนแต่ละโต๊ะ

2.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดถึง 21.00 น. ตามที่รัฐบาลแถลง ให้พนักงานกลับที่พักก่อนเคอร์ฟิวเวลา 23.00 น.

3.ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย สามารถทำสีผมได้ ให้บริการได้เหมือนปกติ แต่ต้องใช้เวลาไม่เกิน2 ชั่วโมง และทำความสะอาดทุก 2 ชั่วโมง ผู้ให้บริการและผู้รับบริการต้องสวมหน้ากากอนามัยด้วย

4.คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สถานบริการสักผิวหนัง เจาะผิวหนัง เปิดให้บริการได้ทุกกิจกรรม แต่ต้องไม่เกิน 2 ชั่วโมง รวมถึงต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย โดยในส่วนของ กทม. เพิ่มว่า ผู้ให้บริการหรือแพทย์ต้องใส่เฟซชิลด์ รวมถึงการลงทะเบียนยืนยันตามมาตรการการป้องกันโรคของทางราชการ พร้อมยกตัวอย่างการทำหน้า ว่าผู้ประกอบการต้องประยุกต์หาวิธีป้องกันการหายใจโดยไม่มีสิ่งใดกรอง ซึ่งผู้ประกอบการรับปากว่าทำได้ โดย กทม.ย้ำว่าขอให้ใส่หน้ากากอนามัยให้มากที่สุด

5.ฟิตเนส  ทั้งนอกและในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดให้บริการทุกประเภทแต่จำกัดจำนวนผู้เล่น ห่างอย่างน้อย 2 เมตร งดอบตัว อบไอน้ำ เครื่องเล่นต้องห่าง 2 เมตร และต้องมีการทำความสะอาดตลอด

6.การใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถานศึกษา ยังไม่ให้เปิดเทอม แต่จะให้เตรียมความพร้อมก่อน ครูสามารถมาประชุมได้ ส่วนโรงเรียนเอกชนนอกระบบที่เป็นการสอนวิชาชีพ ศิลปะและกีฬา สามารถทำได้ สำหรับกีฬาต้องเป็นชนิดที่ได้รับการผ่อนผันแล้ว อาทิ แบดมินตันตะกร้อ ปิงปอง สควอช ยิมนาสติก แต่ต้องมีการทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

7.การจัดแสดงสินค้า นิทรรศการในศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า ต้องมีขนาดไม่เกิน 20,000 ตารางเมตร จำกัดสูงสุด 5,000 คน หรือไม่น้อยกว่า 4 ตาคางเมตรต่อคน เว้นระยะห่างที่นั่งและยืนไม่น้อยกว่า 1 เมตร และเปิดบริการได้ถึง 21.00 น.

8.ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา ทำได้แต่ต้องไม่มีการจัดรวมสัมมนาจัดประกวด และรวมกลุ่มเพื่อการจอง เช่าพระ พระบูชา วัตถุมงคล เช่น การประมูล เป็นต้น

9.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ในส่วนของ กทม. ให้เจ้าหน้าที่มาประกอบอาหารและนมเพื่อนำไปส่งตามบ้านของเด็ก หรือให้ผู้ปกครองมารับตามศูนย์ ยังไม่ได้เปิดรับเลี้ยง

10.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ นวดแผนไทย สปา เปิดให้นวดได้เต็มรูปแบบ จำกัดการใช้บริการไม่เกิน 2 ชั่วโมงเช่นกัน ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากาก ยกเว้นเวลาอบตัวอบสมุนไพร หรืออบไอน้ำ แต่ยังห้ามนวดบริเวณใบหน้า ห้ามอบตัว อบสมุนไพร เป็นกลุ่มรวมถึงยังงดเว้นสถานที่อาบน้ำและอาบอบนวด

11.สถานที่ฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย เปิดเฉพาะฝึกซ้อมกับเป้า ยังไม่ให้ฝึกซ้อมร่วมกันเนื่องจากมีความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค

12.สนามกีฬา อนุโลมมากขึ้น คือ ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล และวอลเวย์บอล แต่ต้องไม่มีการแข่งขัน แต่ผู้ที่อยู่ในบริเวณต้องไม่เกิน 10 คน (ไม่นับรวมนักกีฬา)

13.สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ต โรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ให้เฉพาะการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อมเท่านั้น ไม่ให้มีการแข่งขัน เว้นระยะห่างทั้งการยืนและนั่งไม่น้อยกว่า 1 เมตร

14.สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ ไม่ให้เกิน 5 ตารางเมตรต่อคน

15.สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬา เช่น เจ็ตสกี ไคท์เซิร์ฟ บานาน่าโบ๊ต แต่ต้องไม่เป็นการแข่งขัน

16.โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ จำกัดไม่เกิน 200 คน ต้องสวมหน้ากากอนามัย งดการจัดแสดงดนตรี คอนเสิร์ต หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง

17.สวนสัตว์หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์ เปิดบริการได้แต่ต้องทำตามมาตรการของรัฐ

สำหรับกิจกรรมแอโรบิกแดนซ์นั้น โฆษก กทม. กล่าวว่า ศูนย์บริการสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยังไม่อนุญาต แต่การรำไท่เก๊กทำได้ แต่ห้ามร่วมกลุ่มและต้องเว้นระยะห่าง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ลักขณา สุริยงค์

ลักขณา สุริยงค์

ทำหน้าที่สื่อมวลชนมาเกือบ 30 ปี ทั้งงานสายข่าวและจัดรายการทีวี-วิทยุมานับไม่ถ้วน "ไม่เป็นกลาง แต่เป็นธรรม พร้อมนำเสนอความจริง"