กรุงเทพฯ – สคช. จับมือ สภาการพยาบาล พัฒนาศักยภาพกำลังคน กลุ่มพนักงานให้การดูแล รองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานในอนาคต
วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. และ รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร กลุ่มพนักงานที่ให้การดูแล (Nurses’ aides / Care givers) ณ สภาการพยาบาล โดยมีคณะทำงานทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมเป็นสักขีพยาน
ดร.นพดล ผู้อำนวยการ สคช. ระบุว่า สาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการบริการสุขภาพ อย่างพนักงานให้การดูแล เป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพประชาชน คนไทยมีปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้น ป่วยโรคซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง มีความต้องการได้รับบริการสุขภาพกันมากขึ้น สวนทางกับจำนวนเจ้าหน้าที่บริการด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐานที่ยังขาดแคลน แต่เพื่อเป็นการขยายโอกาส การเข้าถึงบริการที่ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงเป็นที่มาให้ สคช. และสภาการพยาบาล เห็นความสำคัญในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ พนักงานให้การดูแล เพื่อให้กลุ่มคนอาชีพนี้มีความพร้อม มีสมรรถนะ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ การจัดทำมาตรฐานอาชีพในพัฒนาศักยภาพบุคลากรอาชีพนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นในภาวะสังคมปัจจุบัน
เหนือไปกว่านั้น สคช. ได้พัฒนาการอบรมออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มคนในอาชีพสามารถเข้ามาเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปเตรียมความพร้อมในอาชีพ รวมทั้งการประเมินสมรรถนะเพื่อให้ได้การรับรองจาก สคช.
ผู้อำนวยการ สคช. กล่าวด้วยว่า ผู้ที่ผ่านการประเมินแล้ว จะมีชื่อปรากฏอยู่ในแอปพลิเคชันปักหมุดมืออาชีพ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสเพิ่มช่องทางการหางานให้กับคนในอาชีพนี้ และผู้บริโภคเองก็สามารถเลือกใช้บริการได้อย่างมั่นใจ ว่าพวกเขาจะได้พนักงานให้การดูแลที่มีมาตรฐาน ได้รับการการันตีจากหน่วยงานภาครัฐ
ด้าน รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า สภาการพยาบาลเป็นองค์กรวิชาชีพตามกฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งได้ดำเนินการควบคุมดูแล การประกอบอาชีพตามขอบเขตที่กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนด ประกอบกับปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วยของประชากรมีมากขึ้น แม้เทคโนโลยีจะมีความเจริญก้าวหน้า แต่ความต้องการการดูแลผู้เจ็บป่วยกลับมีมากขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พยาบาล หรือผู้ช่วยพยาบาลไม่เพียงพอ และพนักงานให้การดูแล หรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ภายใต้การกำกับดูของพยาบาลวิชาชีพ (Nurses’ aides / Care givers) ซึ่งผ่านการอบรมมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนตามหลักสูตรวิชาชีพ จึงตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
การจัดทำมาตรฐานอาชีพ จะทำให้ผู้รับบริการเชื่อมั่นได้ว่า คนเหล่านี้ทำงานได้จริง สามารถดูแลผู้ป่วยได้จริง เพราะผ่านการประเมินสมรรถนะ ได้การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ ปัจจุบัน พนักงานที่ให้การดูแลมีอยู่ราว 40,000 คน ที่สำคัญ จะเป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ เมื่อเปิดการค้าเสรี กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ พยาบาล จะเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความต้องการสูง ซึ่งผู้ที่ผ่านการประเมิน ได้ใบรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ จะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าทำงานก่อน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเกิดขึ้น หมายถึงเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศก็จะเติบโตขึ้นตามไปด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: