นนทบุรี – คมส. เห็นชอบผลักดัน ‘การแบนแร่ใยหิน’ เป็นวาระแห่งชาติ ให้ สธ.นำร่องเป็นต้นแบบ และให้ประกาศ ‘โรคที่เกิดจากเหตุแร่ใยหิน’ เป็นกลุ่มโรคสำคัญ พร้อมเคาะแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ จากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2564-2565
วันที่ 6 ตุลาคม 2563 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
นายสาธิต ระบุว่า การขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพฯ ให้เป็นรูปธรรม ต้องดำเนินการร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้พี่น้องประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการติดตามและทบทวนมติเดิมที่เกิดขึ้นว่า ควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเดินหน้าต่ออย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ที่ประชุมครั้งนี้ ได้ติดตามความก้าวหน้าหลายมติ อาทิ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตกรรม การใช้ยาอย่างสมเหตุผล การยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ฯลฯ
เชื่อว่า การที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ อย่างน้อยที่สุด เราได้เห็นพลังระดับล่างขึ้นข้างบน ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากและมีคุณค่าสูงสุด ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจในระดับนโยบาย ผู้มีอำนาจสั่งการต้องพิจารณาทุกผลกระทบ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน หัวใจสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ข่าวน่าสนใจ:
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข ชี้เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อนมติในกลุ่มการแพทย์และสาธารณสุข เช่น มติสานพลังปราบยุงลาย ที่ต้องใช้กลไกและเครื่องมือในระดับพื้นที่เป็นฐานปฏิบัติการสำคัญ รวมถึงการสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการจัดทำข้อกำหนดหรือเทศบัญญัติ หรือมติการจัดการเชิงระบบสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ที่แม้ในระดับนโยบายมีการดำเนินการกันมามาก แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่หน่วยงานทั้งหลายจะร่วมกันทำอย่างไรให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาและสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้เมื่อเจ็บป่วย
ส่วนนางทิพยรัตน์ นพลดารมย์ ประธานอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ กล่าวถึงความก้าวหน้าในมติ ‘ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’ ว่า ที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีข้อเสนอร่วมสำคัญ ต่อแนวทางการขับเคลื่อนในปี 2564–2565 นั่นคือ ให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรัฐต้นแบบในการประกาศไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประกาศให้โรคที่เกิดจากเหตุแร่ใยหิน เป็นกลุ่มโรคสำคัญ ภายใต้ พ.ร.บ.โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 โดยเร็ว
และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีองค์กรหน่วยงานอื่น ๆ รวมไปทั้งภาคเอกชนและประชาชน ร่วมกันยกเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากแร่ใยหินได้ในที่สุด นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้มีมาตรการอื่น ๆ เช่น การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกัน “สิ่งสำคัญต้องเร่งผลักดันรณรงค์ให้ความรู้ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนักแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: