กรุงเทพฯ – กระทรวงเกษตรฯ จับมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยตั้ง ‘ศูนย์เทคโนโลยีแมลง’ หนุน 20,000 ฟาร์ม ปั้นอุตสาหกรรมอาหารใหม่ (Novel Food) ดันสตาร์ทอัพเกษตร เจาะตลาดโลก 3 หมื่นล้าน
วันที่ 15 ตุลาคม 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 แถลงว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดนโยบายตั้งเป้าหมาย ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตโปรตีนจากแมลง หรือฮับแมลงโลก ส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดให้เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ โดยมอบหมายหน่วยงานในสังกัด เร่งส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งมีกว่า 20,000 ฟาร์ม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
นโยบายดังกล่าวสอดรับกับแนวทางของ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO : Food and Agriculture Organization ที่ประกาศให้ ‘แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก’ โดยคาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของโลกซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนเพิ่มขึ้น 30% ภายใน 15 ปีข้างหน้า การสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากแมลง จึงเป็นหนึ่งในแนวทางในการรับมือกับอาหารในอนาคตที่ดีที่สุด
ผลการวิจัยเรื่องอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และอาหารใหม่ (Novel Food) พบว่า “แมลง” มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งแคลเซียม ซิงค์ วิตามินบี 2 บี 12 ในปริมาณสูง มีโอเมกา 3 6 9 รวมทั้งไฟเบอร์ ซึ่งเป็นไฟเบอร์จากสัตว์เพียงชนิดเดียว ที่ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ นอกจากนี้ ยังมีกรดอะมิโน จำเป็นต่อร่างกายอีกกว่า 10 ชนิด
แมลงที่มีอยู่นับล้านชนิด ‘จิ้งหรีด’ เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ข้อมูลจากบริษัท Research and Markets คาดว่าในปี 2023 ตลาดจะมีขนาด 37,900 ล้านบาท โดยตลาดเอเชียมีสัดส่วนถึง 30-40% ของทั้งโลก
ขณะที่ข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร พบว่า ประเทศไทยมีแมลงที่มีคุณค่าอาหารอย่างน้อย 194 ชนิด เช่น จิ้งหรีด จิ้งโกร่ง ตั๊กแตน หนอน และดักแด้ไหม ปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นตลาดหลักในการส่งออกแมลงไปขายทั่วโลก
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า โปรตีนจากแมลงจัดเป็นซูเปอร์ฟู้ด (Super Food)และเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่ต้องยกระดับมาตรฐานการผลิต การแปรรูป และการตลาด รวมทั้งส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย ทั้งนี้ จะมีการจัดตั้ง ‘ศูนย์เทคโนโลยีแมลง’ ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม โดยความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรฯ กับอีกอย่างน้อย 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เชียงใหม่ แม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ กระบวนการผลิต การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งแบบสด แช่แข็ง ทอด คั่ว หรือบรรจุกระป๋อง รวมถึงทำเป็นผงบด เพื่อเป็นส่วนผสมเบเกอรี่ และแปรรูปเป็นแป้งจำพวกเส้นพาสต้า โปรตีนบาร์ ผงแป้ง ขนมขบเคี้ยว ซึ่งกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา เอเชียตะวันออก ละตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างให้ความสนใจบริโภคเป็นอย่างมาก
ข่าวน่าสนใจ:
- KCC จัดงาน "เทศกาลซอฟต์พาวเวอร์ไทย-เกาหลี" คร้ังแรกที่กรุงเทพฯ ผสานศิลปวัฒนธรรมสองประเทศ
- บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วม 2 หมื่นคน พร้อมใจกันสวมใส่เสื้อเหลือง เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต
- แฟลช เอ็กซ์เพรส ประกาศผลรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โครงการแข่งขันทักษะการแปลและการล่าม จีนไทย – ไทยจีน ปีที่ 1
- เพชรบูรณ์ - นอภ.เขาค้อเขาค้อ ชี้วันหยุดสัปดาห์แรกหลังเข้าฤดูท่องเที่ยว นทท.ไม่ต่ำ 20,000 คน แห่เที่ยว-ชมคอนเสิร์ต คาดเงินสะพัด 30 ล้าน
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ยังส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ผู้เลี้ยงแมลง โดยเฉพาะจิ้งหรีด ปัจจุบันมีแปลงใหญ่จิ้งหรีด 11 แปลง เกษตรกรสมาชิก469 ราย พื้นที่รวมประมาณ 848.5 ไร่ ใน 10 จังหวัด มีกำลังการผลิตรวมกว่า 1,100 ตัน รวมทั้งส่งเสริมยกระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยง และให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงจิ้งหรีด ทั้งสายพันธุ์ทองดำ ทองแดง และสะดิ้ง เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ในยุคโควิด
ที่ปรึกษา รมว.เกษตร กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีบริษัทสตาร์อัพ ที่ผลิตและทำตลาดผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจากจิ้งหรีดส่งออก เป็นรายแรก ๆ ของโลก และมีบริษัทที่แปรรูปแมลงทยอยเกิดขึ้นตามมา นอกจากนี้ ยังมีบริษัทไทยและบริษัทต่างชาติ ลงทุนทำฟาร์มเพาะเลี้ยงและตั้งโรงงานแปรรูปแมลงเพื่อส่งออก ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: