X

62 นักวิชาการสื่อ จี้รัฐ เปิดพื้นที่หาทางออกจากวิกฤติ ขณะนิสิตสื่อสาร ประณามสื่อไม่เป็นกลาง รัฐปิดหูปิดตา

นักวิชาการด้านสื่อจาก 24 สถาบัน 62 รายชื่อ ร่วมออกแถลงการณ์ขอทุกฝ่ายยุติความรุนแรง เรียกร้องรัฐเปิดพื้นที่เจรจาหาทางออก และตรวจสอบสื่อสร้างความเกลียดชัง

วันที่ 15 ตุลาคม 2563 214 นักวิชาการด้านสื่อและการสื่อสารจาก 24 สถาบันการศึกษา รวม 62 คน ออกแถลงการณ์ เรื่อง การสื่อสารเพื่อคลี่คลายวิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทย ระบุว่า สังคมไทยต้องเผชิญกับวิกฤติความขัดแย้งของคนในสังคมอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าวิกฤติจะคลี่คลายลง ทุกวันนี้ จํานวนการสื่อสารที่กระตุ้นความเกลียดชัง บิดเบือนความจริง และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เห็นต่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจากสื่อมวลชนกระแสหลักหรือสื่อภาค ประชาชนฝ่ายใดก็ตาม ซึ่งหากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดําเนินต่อไปและไม่เร่งหาทางแก้ไข อาจนําไปสู่วิกฤติ ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงยิ่งในสังคม

ในฐานะนักวิชาการที่สอนด้านสื่อและการสื่อสารทั้งหมด 62 คน (ตามรายนามแนบท้าย) รู้สึกห่วงใย ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมองว่าการสื่อสารเป็นกลไกสําคัญที่จะนําไปสู่การหาทางออกที่แท้จริงของ วิกฤตการณ์ได้ จึงขอเสนอทางออก ดังต่อไปนี้

1.ขอให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรงและการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชังต่อกันทั้งในการเผชิญหน้าและการสื่อสารผ่านสื่อทุกประเภท

2.ขอให้ภาครัฐจัดพื้นที่การสื่อสาร เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติดังกล่าวได้สื่อสารกัน รับฟังกัน และพูดคุยหาทางออกร่วมกันอย่างมีสติ

3.ขอให้ผู้บริหารองค์กรสื่อมวลชนและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในองค์กรสื่อมวลชน ยึดมั่นในจรรยาบรรณสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคม นําเสนอข้อมูลข่าวสารของเหตุการณ์อย่างถูกต้อง รอบด้าน ไม่กระตุ้นความเกลียดชัง มุ่งสร้างสติและสันติให้คนในสังคม

4.ขอให้องค์กรที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสื่อและการสื่อสาร ทั้งของภาครัฐและภาควิชาชีพปฏิบัติงานกํากับดูแลสื่อในเชิงรุกบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสื่อ ความรับผิดชอบต่อสังคมและคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รอบด้านของคนในสังคม

5.ขอให้สถาบันการศึกษาและนักวิชาการด้านสื่อและการสื่อสาร ตระหนักถึงพันธกิจสําคัญของตนในการร่วมแก้ปัญหาสังคมด้วยการสื่อสาร โดยช่วยกันสื่อสารเพื่อสร้างสติและสันติใน สังคม รวมถึงเปิดพื้นที่ทางการสื่อสารให้แก่นิสิตนักศึกษา และคนในสังคม เพื่อร่วมกันหาทางออกของวิกฤตการณ์ครั้งนี้

6.ขอให้คนในสังคมร่วมกันตรวจสอบการทํางานของสื่อที่มุ่งสร้างความเกลียดชัง บิดเบือนความจริง และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งอาจนําไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพได้

7.ขอให้ผู้ใช้สื่อมีสติในการส่งสารและรับสาร เคารพในความเป็นมนุษย์ ไม่สื่อสารสร้างความเกลียดชัง เปิดรับข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อไม่ ตกเป็นเครื่องมือในการสร้างความเกลียดชังของฝ่ายใด

ด้านภาคีนิสิตนักศึกษาสื่อสารมวลชน ออกแถลงการณ์ ป้องม็อบคณะราษฎร ชุมชนสันติ ตามสิทธิ ตำหนิรัฐใช้ความรุนแรง ปิดหูปิดตา พร้อมประณามสื่อไม่เป็นกลาง

ภาคีนิสิตนักศึกษาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์ ระบุว่า จากสถานการณ์การชุมนุมของคณะราษฎร ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 เป็นการชุมนุมอย่างสันติ ตามสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐาน อันปรากฎในรัฐธรรมนูญมาตรา
44 ที่ว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพใการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ หากสื่อมวลชนกระแสหลักกลับเพิกเฉยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของของรัฐบาล ทหาร
ตำรวจ ซึ่งมีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม การละเลยและเพิกเฉยของสื่อมวลชนครั้งนี้ ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างครบถ้วนและ
รอบด้านอย่างที่ควร ซึ่งถือเป็นการปิดหูปิดตาประชาชน และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการก่ออาชญากรรมโดยรัฐต่อผู้ชุมนุม

ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนบางสำนักที่ควรวางตัวเป็นกลาง กลับใช้อำนาจสื่อในมือเพื่อบิดเบือนข่าวสาร นำเสนอข่าวเพื่อโจมตีผู้ชุมนุมฝ่ายคณะราษฎรอย่าง
ชัดแจ้ง รวมทั้งจงใไม่นำเสนอภาพหตุการณ์ในการชุมนุม โดยให้เหตุผลถึงความไม่เหมาะสมและความรุนแรง เป็นเหตุไประชาชนได้รับข้อมูลไม่ทั่วถึงและเกิดความเกลียดชังต่อกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายคณะราษฎร

ภาคีนิสิตนักศึกษาสื่อสารมวลชนรู้สึกอับอายเป็นอย่างมาก ที่สื่อมวลชนมืออาชีพไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อได้ เราจึงขอ
ประณามการปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่เป็นกลางเช่นนี้ ในฐานะที่องค์กรสื่อสารมวลชนทุกแขนง กำเนิดมาบนฐานคิดแห่งประชาธิปไตย สื่อมวลชนจึงมีหน้า
ที่เป็นกระบอกเสียงเพื่อประชาชน มิใช่เป็นครื่องมือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเป็นปฏิปกษ์ต่อประชาชน ภาคีนิสิตนักศึกษาสื่อสารมวลชนจึงขอเรียกร้องต่อ
สื่อมวลชนและทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

สื่อมวลชนต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารตามหลักจริยธรรมสื่อ คือ การนำเสนอ
ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ครบถ้วนรอบด้าน ตรวจสอบได้ ไม่สอดแทรก
ความคิดเห็นลงไปในการรายงานข่าว และไม่ตกอยู่ในอิทธิพล หรือการแทรกแซง
โดยสถาบันการเมือง หรือกลุ่มทุนอื่นใด รัฐบาลต้องหยุดคุกคาม แทรกแซง
หรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่วสารของสื่อมวลชนทั้งในและ
ต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ที่มุ่งคุ้มครอง
เสรีภาพสื่อมวลชนให้เป็นอิสระจากเจ้าของทั้งรัฐและเอกชน เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งจริยธรรมและอุดมการณ์แห่ง การทำเพื่อประชาชน เพราะสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมีค่าเทียบเท่ากับ สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร บนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย

กสทช. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และองค์กรกำกับจริยธรรมสื่อที่เกี่ยวข้อง
ต้องกำกับดูแลและ ดำเนินการปฏิรูปสื่อโดยปราศจากการครอบงำ หมั่นตรวจสอบการรายงานข่าวของสื่อมวลชนให้ไม่มี Fake News หรือ Hate Speech เกิดขึ้น ในเนื้อหาของการรายงาน เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ลักขณา สุริยงค์

ลักขณา สุริยงค์

ทำหน้าที่สื่อมวลชนมาเกือบ 30 ปี ทั้งงานสายข่าวและจัดรายการทีวี-วิทยุมานับไม่ถ้วน "ไม่เป็นกลาง แต่เป็นธรรม พร้อมนำเสนอความจริง"