นนทบุรี – กฟผ. โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่คิดค้นใหม่เพิ่มกว่า 30 ผลงาน อาทิ หุ่นยนต์อเนกประสงค์เพื่องานบำรุงรักษาสายส่ง และต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในงาน EGAT INNOVATION SHOWCASE 2020 หวังช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
วันที่ 8 ธันวาคม 2563 นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดงาน EGAT INNOVATION SHOWCASE 2020 ภายใต้แนวคิด “EGAT Smart Energy Solutions” บูรณาการด้านพลังงานไฟฟ้าด้วยการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานใหญ่ กฟผ. อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
นายสมชาย โชคมาวิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กฟผ. ระบุว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ภาคอุตสาหกรรมพลังงานในระดับโลก กฟผ. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าได้ปรับกลยุทธ์การทำงานด้วยการนำนวัตกรรมและระบบอัจฉริยะมาช่วยเสริมศักยภาพระบบผลิต – ส่งไฟฟ้าให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยส่งเสริมการคิดค้นผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า และเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม อาทิ หุ่นยนต์อเนกประสงค์เพื่องานบำรุงรักษาสายส่ง เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถไต่บนสายดินล่อฟ้า (Overhead Ground Wire : OHGW) ที่พาดอยู่บนเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งมาพร้อมกับแขนกลสำหรับดึงหรือลากอุปกรณ์ลดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Damper) ที่ติดตั้งอยู่บนสาย OHGW ให้กลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ โดยไม่ต้องดับไฟระหว่างปฏิบัติงาน แก้ปัญหาสาย OHGW หลุดลงมาพาดสายส่งไฟฟ้าจนทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง
โครงการวิจัย 20C Discharge C-Rate & Pole Solid State Battery เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะที่เหมาะสมมาใช้กับประเทศไทย เพื่อช่วยให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น แสงแดด และลมมีเสถียรภาพมากขึ้น การพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่นที่ 2 สำหรับตรวจสภาพภายในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาทิ หุ่นยนต์มีแรงเคลื่อนที่มากขึ้น กล้องคมชัดยิ่งขึ้น มีอุปกรณ์เสริมสามารถหยิบวัตถุแปลกปลอมที่ตกค้างภายในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกได้ รวมถึงรองรับเทคโนโลยีใหม่ เช่น เทคโนโลยีโลกเสมือน (Augmented Reality : AR) การประยุกต์ใช้พลาสมาเจ็ตแบบหลายรูที่ความดันบรรยากาศ สำหรับปรับปรุงผิวเมล็ดพันธุ์ โดยนำหัวกำเนิดพลาสมาเจ็ตแบบหลายรูมาช่วยเพิ่มอัตราการงอกและการเติบโตของต้นอ่อนให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรด้วยวิธีไม่ใช้สารเคมี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์อุทกภัย ณ ที่ว่าการอำเภอท่าฉาง พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
- กฟผ.แม่เมาะ มอบความสุข สไตล์บาหลี อินโดนีเซีย ในงานฤดูหนาวและของดีนครลำปาง
และอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบสองทิศทาง ภายใต้แบรนด์ Wallbox โดย กฟผ. ร่วมกับบริษัท Wallbox Chargers SL. ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพของประเทศสเปนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและผลิตอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบอัจฉริยะที่มีขนาดเล็กสำหรับติดตั้งภายในอาคารหรือที่อยู่อาศัย โดยจะนำเข้าอุปกรณ์ชาร์จฯ มาให้บริการในไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน ซึ่ง กฟผ. เป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการให้บริการดูแลและติดตั้งอุปกรณ์ของ Wallbox เพียงรายเดียวในประเทศไทย ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ออกแบบระบบไฟฟ้า ติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนบริการหลังการขายโดยทีมช่างของ กฟผ. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจในระบบความปลอดภัย
ภายในงาน EGAT INNOVATION SHOWCASE 2020 ยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ควรพลาด อาทิ การปาฐกถาพิเศษเรื่อง “EGAT Smart Energy Solutions” การเสวนาเรื่อง “โครงการ ERC Sandbox” การบรรยายพิเศษ “โครงการวิจัย 20C Discharge C-Rate & Pole Solid State Battery” โดย ดร.อัมพร โพธิ์ใย ผู้อำนวยการศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รวมถึงมีการบรรยายพิเศษด้านนวัตกรรมพลังงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ อดีตผู้ว่าการ กฟผ. ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.วโรดม คำแผ่นชัย CEO and Co-Founder จากบริษัท Alto Tech จำกัด และผู้เชี่ยวชาญอีกมากมายที่มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานยังสามารถชมผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมอีกกว่า 30 ผลงาน รวมถึงชมนิทรรศการยานยนต์ไฟฟ้า กฟผ. หลายประเภท ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง กฟผ. – สวทช. (รถ i-EV) รถบัสโดยสารไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และเรือไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้เห็นว่าการใช้พาหนะ EV สามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้พลังงานสะอาดที่จะช่วยลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิง และช่วยลดมลพิษทางอากาศจากภาคการขนส่ง
“กฟผ. มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าให้ประชาชนมีไฟใช้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่ง กฟผ. ไม่ได้ส่งเสริมเฉพาะพนักงานเท่านั้น แต่ยังให้ทุนกับภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำไปพัฒนาประเทศทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม” นายสมชาย โชคมาวิโรจน์ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: