บริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดงานเสวนา ‘Living with Robots เมื่อหุ่นยนต์มาอยู่ในชีวิตเรา’ เพื่อเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการ และแนะนำหุ่นยนต์ภายใต้การพัฒนาของ Obodroid ซึ่งจะมีการนำไปใช้จริงภายในพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิต รวมถึงโครงการของ MQDC (บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) โดยมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน
โดยในงาน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 มีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร.มหิศร ว่องผาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด พูดคุยเพื่อแนะนำบริษัท และเปิดตัวหุ่นยนต์ของโอโบดรอยด์, ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บาย เอ็มคิวดีซี พูดคุยถึงเทรนด์ของโรโบติกส์ในอนาคตต่อการดำเนินชีวิต, นายกิตติพันธุ์ อุยยามะพันธุ์ ผู้อำนวยการโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ เอ็มคิวดีซี พูดคุยถึงประด็นการรองรับของภาคอสังหาริมทรัพย์กับการใช้หุ่นยนต์ และนายคุณสุนทร เด่นธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) พูดคุยถึงประเด็นงานด้านบุคลากรเมื่อหุ่นยนต์จะมาแทนที่
บริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์บริการและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ได้มีการจับมือกับพันธมิตร MQDC ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจทั้งในด้านอสังหาริมทรัพย์และด้านอื่นๆ จนครอบคลุมถึงภาคการบริการทั่วไป หุ่นยนต์ดังกล่าวจะเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัยและประชาชนทั่วไป หุ่นยนต์สัญชาติไทยที่นำมาจัดแสดงในงาน ได้แก่
‘ไข่ต้ม (KAITOMM)’ เป็นหุ่นยนต์เพื่อน/ผู้ช่วยส่วนตัว (Companion/Personal Assistant Robot) ที่เป็นผู้ช่วยส่วนตัวของคนทุกวัย ทำให้ใช้ชีวิตได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่ทำให้การเชื่อมต่อกับทุกสิ่งบนโลกใบนี้เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยสามารถรับคำสั่งและพูดคุยกับผู้ใช้งานในภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ สามารถเชื่อมต่อกับระบบบ้านอัจฉริยะ (Home Automation) เพื่อสั่งการเปิด/ปิดไฟ รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในที่พักอาศัยได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับวัดค่าสัญญาณชีพต่างๆเพื่อช่วยดูแลสุขภาพของเจ้าของผู้ใช้งาน และหุ่นยนต์มีกล้องภายในตัว สามารถใช้เป็นกล้องวงจรปิด หรือโทรวีดีโอคอลได้ และมีฟังก์ชั่นอื่นๆของหุ่นยนต์สามารถตั้งเตือน ตั้งปลุก เล่นเพลง สวดมนต์ เช็คสภาพอากาศ และอื่นๆอีกมากมาย เหมาะสำหรับใช้ในที่พักอาศัยเพื่อเป็นผู้ช่วยผู้ดูแลให้กับผู้ใช้งานได้ในทุกเพศทุกวัย
ข่าวน่าสนใจ:
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
- "ทีเส็บ" และภาคีเครือข่าย ชวนคนไทยร่วมพลิกฟื้นเศรษฐกิจเชียงรายหลังวิกฤตน้ำท่วม
- ททท.เตรียมเปิดตัวการแข่งขันวิ่งเทรลไตรบูรพาซีรีย์ 4 สนาม 3 จังหวัดภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
- นราธิวาส-สุดทน! พ่อค้าแม่ค้าร้อง ส.ส.นำเรื่องเข้าสภาฯ หลัง "บอสตลาดเก็นติ้ง" จัดหนัก! ปรับราคาเช่า-ต่อสัญญาสูงลิ่ว
‘เอสอาร์วัน (SR1)’ หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย มีระบบเดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้ได้อัตโนมัติ (Auto-Navigation System) ประกอบด้วยกล้องรอบตัว 360 องศา เพื่อเก็บข้อมูลภาพและเสียงที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ในหุ่นยนต์ตัวนี้คือ เทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุในซอร์ฟแวร์ของตัวหุ่นยนต์ ทำให้สามารถตั้งค่าโปรแกรมในการตรวจจับวัตถุต่างๆตามที่ต้องการ เช่น ใบหน้า สิ่งของ สิ่งมีชีวิต หรืออาวุธ พร้อมทั้งส่งข้อมูลแจ้งเตือนให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยรับทราบได้ทันที นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการโทรฉุกเฉินที่ผู้อยู่อาศัยหรือผู้คนรอบๆสามารถกดปุ่มเพื่อโทรขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากตัวหุ่นยนต์ได้ในทันที เหมาะสำหรับการใช้งานในโครงการที่อยู่อาศัย ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ต่างๆ ที่ต้องดูแลรักษาด้านความปลอดภัย
นอกจากนี้ ทีมงาน Obodroid ยังรู้สึกภาคภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสร่วมทำงานกับทีมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (MI Workspace) ในการผลิตหุ่นยนต์ต้นแบบ ‘ปิ่นโต (PINTO)’ หุ่นยนต์รถเข็นส่งอาหารผู้ป่วย (Quarantine Delivery Robot) ที่สามารถควบคุมการเคลื่อนที่จากระยะไกลได้ และ ‘กระจก (MIRROR)’ เป็นแท็บเลตใช้สำหรับสื่อสารทางไกล สามารถใช้พูดคุยระหว่างคนไข้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้ทันที โดยไม่ต้องกดรับสาย และคนไข้สามารถกดเรียกหาพยาบาลได้ เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งช่วยลดทั้งความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง รวมทั้งดูแลทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคได้ง่าย ไม่สะสมให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่อไปได้อีก ซึ่งสามารถตอบโจทย์คณะแพทย์และพยาบาลในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตนี้ได้เป็นอย่างดี
โดยหุ่นยนต์ปิ่นโตและแท็บเล็ตกระจกนี้ เป็นการใช้งานแบบอิสระและเบ็ดเสร็จ ไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งเครื่องมือหรือโครงสร้างอื่นใดเพิ่มเติม จึงทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถใช้งานได้ทันที ซึ่งในปัจจุบันหุ่นยนต์และอุปกรณ์แท็บเล็ตชุดนี้ได้ถูกกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: