กรุงเทพฯ – ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ติงอังกฤษไม่หารือไทยก่อนแพร่ข้อมูล ชี้ สถานการณ์ในไทยยังไม่เอื้อกลายพันธุ์ ด้านอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ต้นตอมาจากอียิปต์ ไทยตรวจเจอในสถานที่กักตัว จึงไม่ควรเรียก ‘สายพันธุ์ไทย’
วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ตามที่สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ (Public Health England – PHE) หรือ พีเอชอี แถลงเมื่อ 27 พ.ค.64 ว่า พบเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ชนิดใหม่ ที่มาจากประเทศไทย โดยตั้งชื่อให้ว่า VUI-21MAY-02 หรือ C.36.3 ซึ่ง VUI ย่อมาจาก Variant Under Investigation หรือ สายพันธุ์ของเชื้อโรคที่อยู่ระหว่างการสอบสวน และ 21MAY คือ วันที่ยืนยันในระบบการตรวจสอบอย่างเป็นทางการ
เบื้องต้น พีเอชอี เชื่อว่าเชื้อไวรัสโคโรนาตัวนี้เป็นสายพันธุ์ที่มาจากต่างประเทศ และมีผู้ป่วยในสหราชอาณาจักร แล้วอย่างน้อย 109 คน พบมากที่สุดในกรุงลอนดอน โดยมีข้อมูลยืนยันครั้งแรกในประเทศไทย ระบุว่าพบเชื้อในกลุ่มคนที่เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบข้อบ่งชี้ว่า เชื้อ C.36.3 ส่งผลให้เกิดอาการป่วยรุนแรง และลดประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีอยู่ ซึ่งพีเอชอีกำลังศึกษาและสอบสวนพันธุกรรมของเชื้อสายพันธุ์นี้อย่างละเอียด
ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษา ศบค. ตั้งข้อสังเกตว่าข่าวที่ออกมาอาจเป็นเพียงข้อสงสัยจากทางอังกฤษเท่านั้น ซึ่งอังกฤษควรแจ้งมายังทางการไทย เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่จะนำออกมาเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไทยในขณะนี้ ยังไม่เอื้อต่อการกลายพันธุ์ เนื่องจากยังพบผู้ติดเชื้อเพียง 60 คนต่อประชากร 1 แสนคน ขณะที่ปัจจัยที่เอื้อต่อการกลายพันธุ์ส่วนใหญ่ เกิดในพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อมากกว่า 75 คนต่อประชากร 1 แสนคน และเชื้อโควิดที่ระบาดในไทย นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มากกว่าร้อยละ 95 เป็นเชื้อโควิดจากสายพันธุ์อังกฤษ อีกทั้งการตรวจสอบการกลายพันธุ์ จะต้องได้รับการยืนยันมากกว่า 1 แล็บ
ด้าน กรมวิทย์ฯ อธิบาย ไม่ควรเรียก ‘สายพันธุ์ไทย’
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังตรวจสอบข้อมูลว่า สายพันธุ์ C.36.3 Varia ในประเทศไทย ที่ถูกระบุชื่อในตารางสายพันธุ์ไวรัส ว่า Thailand ex Egypt เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมมาจากห้องปฏิบัติการใด อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นทราบข้อมูลว่า เป็นนักท่องเที่ยวมาจากอียิปต์ เข้าสถานกักกันโรคในไทย ซึ่งไทยตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ ในหลักการ หากต้นตอมาจากอียิปต์ ก็ไม่ควรเรียกว่า ‘สายพันธุ์ไทย’ เหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่นพบสายพันธุ์บราซิล ตามการรายงานในตารางเขียนว่า Japan ex Brazil ก็เรียกว่าสายพันธุ์บราซิล ดังนั้น ที่พบในไทยจึงควรจะเรียกว่าสายพันธุ์อียิปต์
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ เรียกตาม ‘แหล่งที่พบ’
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ชี้ว่า การรายงานลักษณะของเชื้อ เมื่อพบที่ไหนก็เรียกชื่อตามประเทศที่พบ ดังนั้น ที่เขียนว่า Thailand ex Egypt หมายถึง เจอที่ประเทศไทย แต่ไม่ได้เจอในคนไทย แต่เป็นการเรียกตามชื่อแหล่งที่พบ ว่าเป็นประเทศไทย แต่จริง ๆ แล้ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: