กรุงเทพฯ – เปิด 78 รายชื่อผู้ท้าชิง กรรมการ กสทช. ชุดใหม่ ทหาร-ตำรวจ-คนดัง แห่สมัคร ‘ฐากร ตัณฑสิทธิ์’ อดีตเลขาธิการ กสทช. ลงสมัครวันสุดท้าย
วันที่ 22 มิถุนายน 2564 วันสุดท้าย ที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กรรมการ กสทช.) ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยผู้สมัครสามารถยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 16-22 มิถุนายน 2564 (รวม 7 วัน) ณ จุดรับสมัคร บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา
มีผู้สมัครทั้งสิ้น 78 คน แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่
1. ผู้สมัครด้านกิจการกระจายเสียง 12 คน
2. ผู้สมัครด้านกิจการโทรทัศน์ 11 คน
3. ผู้สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม 13 คน
4. ผู้สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 11 คน
5. ผู้สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน 13 คน
6. ผู้สมัครด้านอื่น ๆ ที่ยังประโยชน์ต่อการปฎิบัติหน้าที่ของ กสทช.18 คน
(แบ่งเป็นด้านกฎหมาย 12 คน และด้านเศรษฐศาสตร์ 6 คน)
ผู้สมัครทั้ง 78 คน ประกอบด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
1. พลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
2. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร. 2550) (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
3. พันเอก ดร.พีรวัส พรหมกลัดพะเนาว์ กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม/ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สำนักงาน กสทช. (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
4. ดร.วรรณชัย สุวรรณกาญจน์ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
5. นายณภัทร วินิจฉัยกุล กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการกระจายเสียง (ประธานกรรมการ) (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
6. พลอากาศตรีทรงพล พรหมวา รองเจ้ากรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
7. ดร.พันธ์ศักดิ์ จันทร์ปัญญา กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สำนักงาน กสทช. (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
8. รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
9. นายสรศักดิ์ จันเกษม อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 2 (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
10. นางอรษา มุขเตียร์ เปอร์ดี้ อดีตผู้บริหารวิทยุกระจายเสียง (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
11. พลตรีวิเศษศักดิ์ สุนทรเกส ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผนสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
12. พลเรือเอกทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
13. นายต่อพงศ์ เสลานนท์ ที่ปรึกษาประจำรองประธาน กสทช. (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการ กสทช. (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านเศรษฐศาสตร์))
15. รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ วงศ์สรรค์ รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
16. พลเอกกิตติ เกตุศรี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
17. ดร.อานนท์ ทับเที่ยง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
18. รองศาสตราจารย์ ดร.อธิคม ฤกษบุตร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พสุ แก้วปลั่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
20. นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
21. พลเรือเอกประสาน สุขเกษตร อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
22. รองศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์ พิมลเสถียร รองศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
23. นายศักดิ์ชัย พฤฒิภัค อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ทีเอ็นเอ็น (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
24. ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
25. รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ อดีตอธิการสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
26. นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
27. พลโทชนินทร โพธิวัฒนางค์กูร หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
28. พลตำรวจโทเกียรติพงศ์ ขาวสำอางค์ ข้าราชการบำนาญ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
29. พลโทพร ภิเศก อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
30. นายชัยนันท์ งามขจรกุลกิจ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
31. พลตรีสุพิชาติ เสนานุรักษ์ ข้าราชการบำนาญกองทัพบก (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
32. พลเอกประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
33. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ผู้อำนวยการสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านเศรษฐศาสตร์))
34. นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านเศรษฐศาสตร์))
35. ศาสตราจารย์ ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านเศรษฐศาสตร์))
36. พลเรือเอกพงศกร กุวานนท์ ประธานกรรมการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียงทหารเรือ (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
37. พลอากาศโทธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ กสทช. (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
38. นางเตือนใจ สินธุวณิก อดีตผู้ตรวจราชการสำนักนายรัฐมนตรี (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
39. ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต ศาสตราจารย์สาขานิเทศศาสตร์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
40. นายพัชระ สารพิมพา สื่อมวลชนอิสระ (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
41. นายสรพงศ์ เอื้อชูชัย วิทยากรอิสระ (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
42. พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
43. นายรัฐชทรัพย์ นิชิด้า อดีตผู้บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด มหาชน (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
44. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
45. นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย อดีตผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
46. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ หทัยทิพยมงคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
47. พลตำรวจเอก ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
48. นายอุดม อึ้งสุวรรณพานิช รองอธิบดีอัยการภาค 8 (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
49. นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีล้มละลาย สำนักงานอัยการสูงสุด (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
50. พลตำรวจเอกศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
51. นายสุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพแรงงาน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
52. นายวิทยา สุริยะวงค์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
53. นายไพโรจน์ โพธิไสย กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน/คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สำนักงาน กสทช. (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
54. นายสมศักดิ์ อินทร์พันธุ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ (สมัครด้านอื่นๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
55.ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารงานยุติธรรมในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (สมัครด้านอื่นๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
56. นายจิตรนรา นวรัตน์ อดีตผู้ตรวจการอัยการ (สมัครด้านอื่นๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
57. พันเอก ดร.อนุรัตน์ อินกัน นักวิชาการอิสระ (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
58. พลเอกสุรใจ จิตต์แจ้ง อดีตหัวหน้าสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคม กองทัพบก (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
59. นายประเสริฐ อภิปุญญา อดีตกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (สมัครด้านกิจการกระจายเสียง)
60. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการ กสทช. (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
61. พลตรีสุรศักดิ์ ศุขะ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก (สมัครด้านกิจการโทรทัศน์)
62. นายวันชัย ผโลทัยถเกิง กรรมการอิสระ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
63. ศาสตราจารย์อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สมัครด้านกิจการโทรคมนาคม)
64. ศาสตราจาย์คลินิกนายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบตี มหาวิทยาลัยมหิดล (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
65. นายถนอม อ่อนเกตุพล ผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์ NBT2HD กรมประชาสัมพันธ์ (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
66. นายประพันธุ์ คูณมี ที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภคป
67. พลตำรวจโท สุรพล ทวนทอง อดีตผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)
68. นางสาวอารีวรรณ จตุทอง อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
69. พลเอก รศ.(คลินิก) นายแพทย์สายัณห์ สวัสดิ์ศรี อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
70. นายปรเมศวร์ กุมารบุญ กรรมการวิศวกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
71. พันเอกสุรจิต สุนทรธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
72. ดร.ศิริพงษ์ เกี้ยวสกุล นายกสมาคมสมาพันธ์ สภาองค์กรชุมชน (สมัครด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประซาชน)
73. พลโท ดร.พิเชษฐ คงศรี อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นกลาโหม (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
74. นายจีรพงศ์ วัฒนะรัตน์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายทรงคุณวุฒิ (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
75. ดร.กฤษดา โรจนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุด (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
76. ร้อยโท ดร.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (สมัครด้านอื่น ๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านกฎหมาย))
77. นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สมัครด้านอื่นๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านเศรษฐศาสตร์)
78. นางทรงพร โกมลสุรเดช อดีตปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สมัครด้านอื่นๆ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ด้านเศรษฐศาสตร์))
ขั้นตอนหลังจากนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จะส่งรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติตามมาตรา 7 ก. มาตรา 14/1 และมาตรา 14/2 และลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7ข แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิหยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อได้รับผลการตรวจสอบแล้ว คณะกรรมการสรรหาจะพิจารณาคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ก่อนจะเชิญมาแสดงวิสัยทัศน์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: