กรุงเทพฯ – ตำรวจไซเบอร์ ชี้ 3 วิธี คนร้ายใช้ดูดเงินจากบัญชี ด้านกูรูไซเบอร์ เตือน เลี่ยงผูกบัตรเครดิต-เดบิต-บัญชีเงินเดือน กับแอปพลิเคชันต่าง ๆ
วันที่ 18 ตุลาคม 2564 พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ นำแถลง กรณีมีผู้เสียหายจำนวนมาก จากการถูกถอนเงินออกจากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต และบัตรเดบิต หลายครั้งจนสูญเงิน โดยไม่ทราบสาเหตุว่า กรณีดังกล่าวสันนิษฐานว่าเกิดจาก 3 กรณี คือ
1.คนร้ายได้ข้อมูลเลขด้านหน้าบัตร และเลข 3 ตัวด้านหลังบัตร จึงสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ที่มีมูลค่าเล็กน้อยได้ โดยไม่ต้องนำรหัส OTP มากรอกยืนยันการทำธุรกรรม
ข่าวน่าสนใจ:
- ชวน” คลี่ปมขัดแย้งแก้พ.ร.บ.กลาโหม นักการเมือง-ทหาร ไม่ไวใจกันเอง สลับกันแก้หวังกระชับอำนาจ อ้างตัดไฟรปห.แค่ปลายเหตุ ต้นเหตุเพราะนักการเมืองโกง!
- ขอนแก่น พร้อมจัด " Khonkaen Countdown 2025 Rise Beyond" ขอนแก่น พุ่งทะยานสู่อนาคต อย่างยิ่งใหญ่ คาดเงินสะพัด 50 ล้านบาท
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
2.การหลอกให้กรอกข้อมูลบัตร ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จากการ Phishing มาในเอสเอ็มเอส หรืออีเมล
3.มาจากการเข้าเว็บไซต์ที่คนร้ายปลอมขึ้น เช่น หลอกให้กรอกข้อมูลบัตรเพื่อจ่ายเงินค่าภาษีของเว็บไซต์ไปรษณีย์ไทยปลอม
พล.ต.ท.กรไชย กล่าวต่อว่า จากการหารือกับสมาคมธนาคารไทย พบผู้เสียหายแล้วประมาณ 4 หมื่นคน มูลค่าความเสียหายรวมไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ยอดเงินเสียหายสูงสุดถึง 2 แสนบาท โดยเงินในบัญชีถูกถอนออกในแต่ละครั้งไม่มาก แต่หลายครั้ง และหากเจ้าของบัญชีผูกกับบัตรเดบิตมักจะไม่ส่งเอสเอ็มเอสแจ้งเตือน ยอดที่ถูกหักไปเกิดกจากการซื้อไอเทมในเกมส์ หรือค่าซื้อโฆษณาออนไลน์
จึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง
♦ หลีกเลี่ยงการผูกบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ไว้กับแอปพลิเคชันต่าง ๆ
♦ หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือผ่านทางออนไลน์ ที่ต้องแจ้งข้อมูลด้านหน้าบัตรและหลังบัตร
♦ หลีกเลี่ยงการกดลิงก์ที่แนบมาทางอีเมล ข้อความเอสเอ็มเอส หรือสื่อสังคมออนไลน์
หากต้องการเข้าไปที่เว็บไซต์ใด ขอให้พิมพ์ชื่อเว็บไซต์นั้นด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันเข้าไปสู่เว็บไซต์ปลอม
♦ ควรนำแผ่นสติกเกอร์ทึบแสงปิดรหัสหลังบัตร หรือจดจำรหัสนั้นเอาไว้ แล้วใช้กระดาษทรายลบตัวเลขรหัสดังกล่าวออกจากด้านหลังบัตร เพื่อความปลอดภัยในการใช้จ่ายประจำวัน ป้องกันมิจฉาชีพ มิให้แอบถ่ายรูปด้านหน้าและหลังบัตรเพื่อนำไปใช้จ่ายในโลกออนไลน์
ด้าน ดร.ปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ระบุว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิต นำไปผูกไว้กับแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อใช้จ่ายหรือซื้อสินค้าออนไลน์ หรือการรูดบัตรตามสถานที่ต่าง ๆ อาจเกิดช่องโหว่ให้บรรดาแฮกเกอร์หรือมิจฉาชีพนำข้อมูลเลขหน้าบัตรและหลังบัตรไปไปใช้ในทางไม่ชอบได้ ถ้าใครผูกบัตรไว้กับเว็ปไชต์ที่ใช้ซื้อของออนไลน์จะเสี่ยงอย่างยิ่ง หากข้อมูลบัตรเครดิตนั้นรั่วไหลไปสู่มือมิจฉาชีพ ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่มิจฉาชีพเจาะเข้าไปโจรกรรมข้อมูลในเว็ปไซต์ก็ได้
ดร.ปริญญา หอมเอนก กล่าวด้วยว่า แนวทางป้องกันที่ดีที่สุด คือ จำกัดวงเงินบัตรในการช็อปออนไลน์ให้เหลือน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการผูกบัญชีเงินเดือนกับบัตรเดบิต ไม่เช่นนั้นเงินเดือนหรือเงินเก็บจะถูกมิจฉาชีพดูดออกไปอย่างง่ายดาย แม้แต่ตนเองยังเคยตกเป็นเหยื่อขบวนการดูดเงินนี้ เพราะเคยผูกบัตรเครดิตไว้กับแอปพลิเคชัน จนถูกมิจฉาชีพรูดเงินผ่านบัตรไปถึง 70,000 บาท
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ปฏิเสธว่า การโอนเงินออกจากบัญชีที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะข้อมูลรั่วไหล แต่เป็นความผิดปกติ จากการที่ผู้ที่ถือบัตรไปผูกบัญชีกับร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และไม่ใช่การแอปดูดเงิน แต่ผู้เสียหายส่วนหนึ่งยืนยันว่า ไม่ได้ผูกบัญชีออนไลน์ มีแค่สมุดบัญชีเท่านั้น แต่ก็เกิดปัญหาเช่นกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: