กรุงเทพฯ – ศบค. พบ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ใน 10 จังหวัดพื้นที่แพร่ระบาดยังน้อย เร่งฉีดเพิ่ม เพื่อลดอัตราการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ขณะทั่วประเทศยังต่ำกว่าเป้าหมายเช่นกัน แม้มีผู้รับวัคซีนแล้วกว่า 86 ล้านโดส
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ระบุว่า จากการสำรวจพบว่า ยังมีคนไทยอีก 11 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลย จึงขอให้ผู้นำท้องถิ่นอย่าง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ช่วยรณรงค์ลูกบ้านให้ฉีดวัคซีนโควิด โดยเฉพาะในพื้นที่แพร่ระบาด 10 จังหวัด ที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ได้แก่ จ.ตาก ราชบุรี ขอนแก่น นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ให้เร่งไปรับวัคซีน เพื่อลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตให้มากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยขณะนี้ เข็มแรกอยู่ที่ 56.6%
ส่วนกลุ่มที่ยังต้องเร่งรัด คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ครอบคลุมแข็มแรก เพียง 17.7% เช่นเดียวกัน สำหรับผู้เสียชีวิต พบปัจจัยเสี่ยงเดิม ๆ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิดได้ง่าย และป่วยอาการรุนแรงกว่าคนปกติ 2 เท่า รวมถึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้กว่าคนไม่เป็นเบาหวานถึง 3 เท่า จึงขอให้เร่งไปฉีดวัคซีนหรือฉีดให้ครบโดส ระวังมาตรการส่วนบุคคล และพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ
สำหรับยอดการฉีดวัคซีน
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน 659,381 โดส
เข็มที่ 1 จำนวน 211,269 คน
เข็มที่ 2 จำนวน 412,749 คน
เข็มที่ 3 จำนวน 35,363 คน
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 16 พฤศจิกายน 2564
มีผู้รับวัคซีน สะสม 86,071,507 โดส ใน 77 จังหวัด
เป็นผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม 45,700,036 คน
เป็นผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม 37,527,295 คน
เป็นผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม 2,844,176 คน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ในวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 6,524 คน
♦️ ผู้ติดเชื้อในจากระบบเฝ้าระวัง ระบบบริการ และไปตรวจที่โรงพยาบาล 5,856 คน
♦️ จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 263 คน
♦️ ผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 393 คน
♦️ ผู้เดินทางจากต่างประเทศ 12 คน
ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสม ตั้งแต่ปี 2563 อยู่ที่ 2,037,224 คน กลับบ้านได้เพิ่ม 7,191 คน สะสม 1,925,643 คน รักษาตัวลดเหลือ 91,382 คน แบ่งเป็น รพ.หลัก เพิ่มเป็น 43,649 คน รพ.สนามและอื่น ๆ 47,733 คน ในจำนวนนี้อาการหนัก ลดเหลือ 1,739 คน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 407 คน มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 56 คน สะสม 20,199 คน
ผู้เสียชีวิต เป็นชาย 38 คน หญิง 18 คน มีสัญชาติเมียนมา 1 คน
อายุเฉลี่ย 75 ปี ต่ำสุด 22 ปี สูงสุด 93 ปี
อายุ 60 ปีขึ้นไป 41 คน (73 %) อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 13 คน (23 %) ไม่มีโรคเรื้อรัง 2 คน (4 %)
กทม. มีผู้เสียชีวิตมากสุด 8 คน ส่วนภาคใต้มีผู้เสียชีวิตรวมกัน 19 คน
จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10 อันดับแรก
อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร เพิ่ม 894 คน สะสม 412,558 คน
อันดับ 2 จ.สงขลา เพิ่ม 430 คน สะสม 55,067 คน
อันดับ 3 จ.เชียงใหม่ เพิ่ม 339 คน สะสม 23,072 คน
อันดับ 4 จ.สมุทรปราการ ขึ้นจากอันดับ 8 เพิ่ม 251 คน สะสม 126,228 คน
อันดับ 5 จ.นครศรีธรรมราช เพิ่ม 240 คน สะสม 35,733 คน
อันดับ 6 จ.ชลบุรี ขึ้นจากอันดับ 9 เพิ่ม 209 คน สะสม 105,213 คน
อันดับ 7 จ.ปัตตานี ตกจากอันดับ 4 เพิ่ม 190 คน สะสม 43,460 คน
อันดับ 8 จ.ยะลา กลับมาเข้าอันดับ เพิ่ม 182 คน สะสม 45,135 คน
อันดับ 9 จ.สุราษฎร์ธานี เพิ่ม 162 คน สะสม 22,108 คน
อันดับ 10 จ.ตรัง เพิ่ม 153 คน สะสม 14,222 คน
สถานการณ์ทั่วโลก
♦️ ยอดผู้ติดเชื้อ ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เพิ่มกว่า 4 แสน 8 พันคน อยู่ที่ 255,072,442 ล้านคน
♦️ อาการรุนแรง 78,038 คน
♦️ รักษาหายกว่า 4 แสน 3 หมื่นคน อยู่ที่ 230,587,236 คน
♦️ เสียชีวิต เพิ่มกว่า 7,100 คน มาที่ 5,129,420 คน
5 อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1.สหรัฐอเมริกา ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากถึงกว่า 87,000 คน มาที่ 48,161,377 คน
2.อินเดีย เพิ่มกว่า 8,800 คน มาที่ 34,456,401 คน
3.บราซิล เพิ่มกว่า 4,900 คน มาที่ 21,965,684 คน
4.สหราชอาณาจักร เพิ่มกว่า 37,000 คน มาที่ 9,637,190 คน
5.รัสเซีย เพิ่มกว่า 36,000 คน มาที่ 9,145,912 คน
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 (เท่าเดิม) จำนวน 2,037,224 คน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: