ระยอง – ผู้ว่าฯ ระยอง ประกาศปิดชายหาดแม่รำพึง หลังคราบน้ำมันรั่วไหลไปถึง ด้านอธิบดีกรมอนามัย ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างและสำรวจผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ขณะที่รัฐมนตรีทรัพยากร เผย ไทยมีแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ บูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน
กรณีเกิดคราบน้ำมันรั่วไหลในทะเล จากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเลของ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) บริเวณ อ.มาบตาพุด จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.2565 ซึ่งหลายหน่วยงานต่างระดมกำลังพร้อมอุปกรณ์เร่งขจัดคราบน้ำมัน แต่ล่าสุด พบคราบน้ำมันดิบขึ้นฝั่งหาดแม่รำพึงแล้ว ทั้งบริเวณชายหาดลานหินขาวและลานหินดำ ที่พบเห็นคราบน้ำมันจำนวนมากเป็นระยะทางยาว กระทั่งผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ต้องประกาศปิดชายหาดแม่รำพึง ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้า-ออก โดยสั่งเจ้าหน้าที่สกัดปิดเส้นทาง เพื่อป้องกันอันตราย พร้อมขอความร่วมมือร้านค้าริมหาดแม่รำพึงปิดร้านทั้งหมด จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
ด้านกระทรวงสาธารณสุข ส่งอธิบดีกรมอนามัย และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ออกเก็บตัวอย่างและดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยของประชาชน ที่จะได้รับผลกระทบ โดยนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความและภาพในเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘สาธิต ปิตุเตชะ’ https://www.facebook.com/100002877215977/posts/4420979531341244/?sfnsn=mo ระบุว่า
“มาถึงแล้วครับเช้านี้ ที่ลานหินขาวหาดแม่รำพึง”
ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่ง อธิบดีกรมอนามัย ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ศูนย์ควบคุมโรค ลงพื้นที่ดู ทั้งเก็บตัวอย่าง และ เรื่องสุขภาพอนามัยที่จะได้รับผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนคน ระยองบ้านเราครับ
ขณะที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว TOP Varawut – ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา
https://www.facebook.com/674202746364334/posts/1439597146491553/?sfnsn=mo
#รู้ไว้ใช่ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล การปฏิบัติการเพื่อขจัดคราบน้ำมันให้เร็วที่สุด จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำมันรั่วไหล จึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างมาก
ข่าวน่าสนใจ:
- สมัคร อบจ. ระยองวันแรก คึกคัก ลงสมัคร ครบทีม
- ศึกษาธิการระยอง จับมือเทคนิคระยอง และศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง จัดกิจกรรมโครงการเรียนดี มีความสุขสู่อนาคตที่สดใส
- สงขลา ผู้ว่าฯ สงขลา เยี่ยมเหยื่อถูก อส.กราดยิง สั่งดำเนินคดีอย่างเคร่งครัด พร้อมเข้มการพกพาอาวุธ
- รับสมัคร นายก อบจ.มหาสารคาม "คมคาย"ตัวเต็งจับมือ"อ้ายเปิ้ล"สัญญาสู้กันในเกมส์
สําหรับประเทศไทยได้มีการจัดทําแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ เพื่อให้การขจัดคราบน้ำมันดําเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแผนระดับชาติในการกําหนดภารกิจ หน้าที่ความรับผิดชอบ แนวทางการปฏิบัติขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยร่วมมือกัน ในการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันในน่านน้ำไทย
แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ จัดทำขึ้นในปี 2545 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและความรับผิดชอบทั้งรัฐและเอกชน ในการขจัดมลพิษทางน้ำ และยกระดับเหตุน้ำมันรั่วในน่านน้ำ ให้เป็นเหตุการณ์รุนแรงระดับชาติ เพราะสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรและประชาชน ตามแผนได้กำหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เป็นผู้สั่งการสูงสุด มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน โดยแบ่งโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1. คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เป็นหน่วยงานสั่งการหลัก
2. กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม / กรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม / กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งศูนย์ประสานงาน
3. กองทัพเรือ / กรมเจ้าท่า จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ
4. กองทัพเรือ / กรมเจ้าท่า / ส่วนราชการจังหวัด / กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน ทำหน้าที่หน่วยปฏิบัติการ
5. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยสนับสนุน
ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในส่วนของหน่วยงานสนับสนุน ในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน มีหน้าที่ให้การสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ดังนี้
– พัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งและจัดเก็บในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)
– ศึกษาองค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอนของน้ำมัน เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของน้ำมันที่รั่วไหลและ ใช้ในการพิสูจน์หาแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษน้ำมันในแหล่งน้ํา
– ดูแลและกํากับการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน
– จัดทําแผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและเสนอให้มีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและประเมินค่าวามเสียหาย อันเนื่องมาจากน้ำมัน
– สนับสนุนข้อมูลและหลักฐานอันเป็นประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหายและดําเนินการทาง กฎหมายกับผู้ก่อให้เกิดมลพิษจากน้ำมัน
– คาดการณ์แนวทางการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันโดยใช้แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ (oil map) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพของน้ำมันเชิงพื้นที่และเวลาในอ่าวไทยตอนบนและชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออกโดยใช้ร่วมกับข้อมูลความถี่ของบริเวณที่เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลโดยแบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตที่ 1 มีความเสียงสูงมาก เขตที่ 2 มีความเสี่ยงสูง และเขตที่ 3 มีความเสี่ยงปานกลาง
ขอบคุณภาพประกอบจาก
ทวิตเตอร์ : ittipat pinrarod @ittipat_tv
เฟซบุ๊ก : TOP Varawut – ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา
: สาธิต ปิตุเตชะ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: