กรุงเทพฯ – โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ชี้ กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ให้ข้อมูลอาการโควิด-19 วันต่อวัน ตามที่อ้าง เผย ‘สายพันธุ์โอมิครอน’ ส่วนใหญ่ติดเชื้อไม่มีอาการ แนะเข้มมาตรการ VUCA ป้องกันติดและแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ช่วยลดการแพร่ระบาดได้
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงกรณีขณะนี้มีการโพสต์และแชร์ข้อความในโซเชียลมีเดีย ถึงอาการเตือนของการติดเชื้อโควิด-19 แบบวันต่อวัน ว่าแต่ละวันจะมีอาการอย่างไร โดยอ้างว่าสรุปมาจากกระทรวงสาธารณสุขนั้น ขอยืนยันว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว และจากการตรวจสอบพบว่า มีการระบุถึงสายพันธุ์ B.1.1.7 ซึ่งคือสายพันธุ์อัลฟา ที่เคยระบาดในประเทศไทยเมื่อปี 2564 เป็นการนำข่าวปลอมเดิมกลับมาปรับแต่งแล้วแชร์ใหม่ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และควรตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก
นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งผู้ติดเชื้อประมาณ 80-90% ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ทำให้อาจติดเชื้อและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการเข้มการป้องกันตามมาตรการ VUCA คือ
1.ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะการฉีดเข็มกระตุ้นเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยลดการติดเชื้อ ลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มเกิน 3 เดือน รวมถึงผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนขอให้รีบมารับวัคซีนที่สถานพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน
2.ป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา โดยสวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง ล้างมือ หลีกเลี่ยงการเข้าสถานที่เสี่ยงหรือแออัด โดยเฉพาะขณะนี้การติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากการรวมกลุ่มสังสรรค์ และนำมาติดเชื้อในครอบครัวหรือที่ทำงาน ปัจจัยเสี่ยงคือช่วงเวลาที่มีการถอดหน้ากากพูดคุยและรับประทานอาหารร่วมกันจึงยังต้องเข้มป้องกันในส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง
ข่าวน่าสนใจ:
- ททท. ผนึกพันธมิตร จัดงาน "เหนือพร้อม..เที่ยว" Kick off แคมเปญ "แอ่วเหนือ...คนละครึ่ง" เริ่ม 1 พ.ย.นี้
- 'เทพรัตน์' คว้ารางวัล 'สุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ' สาขาสิ่งแวดล้อม
- ททท.เปิดตัวแคมเปญ "สุขท้าลอง 72 สไตล์" 72 เส้นทางเมืองน่าเที่ยว ปลุกกระแสท่องเที่ยวไฮซีซั่น
- ททท. จัดแคมเปญ "แอ่วเหนือ...คนละครึ่ง" มอบส่วนลด 50% ลงทะเบียนก่อนรับสิทธิ์ก่อน
3.มาตรการ COVID Free Setting ในสถานประกอบการต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัย และ 4.ตรวจ ATK เป็นประจำ ช่วยให้รู้ผลเร็ว หากติดเชื้อจะได้แยกรักษา ซึ่งปัจจุบันเน้นการดูแลที่บ้านและชุมชน (HI/CI First) จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อต่อ ซึ่งหากทุกคนช่วยกันปฏิบัติมาตรการดังกล่าวจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันลงได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: