กรุงเทพฯ – กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มการดูแลแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านแบบสมัครใจ สำหรับกลุ่มที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ไม่มีความเสี่ยง หายเองได้ ให้ยารักษาตามอาการ เริ่ม 1 มีนาคม 65 ตามแผนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็น ‘โรคประจำถิ่น’
วันที่ 1 มีนาคม 2565 วันนี้เป็นวันแรก ที่กระทรวงสาธารณสุข จัดระบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์โควิด-19 เพิ่มการดูแลในระบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล “เจอ แจก จบ” โดยตรวจผู้ที่สงสัยป่วยโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่ 1.ยาฟาวิพิราเวียร์ 2.ยาฟ้าทะลายโจร 3.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 1 มีนาคม 2565 นี้
ตามแผนการบริหารจัดการให้โรคโควิด-19 ออกจากการเป็นโรคระบาด ไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไปหรือโรคประจำถิ่น คือ การที่โรคลดความรุนแรงลง ไม่มีภาวะอันตรายมาก มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ประชาชนมีภูมิต้านทางมากเพียงพอ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนจากนี้
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุล่าสุดว่า ผู้ติดเชื้อโอมิครอน 90% ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง จึงปรับรูปแบบการดูแลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยหากมีอาการทางเดินหายใจหรือประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อตรวจ ATK ด้วยตนเอง หากผลเป็นลบให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT หากผลเป็นบวก สามารถ โทร.1330 ซึ่ง สปสช.จะมีการเพิ่ม Robot Screening ช่วยคัดกรอง หรือไปรับบริการที่คลินิกทางเดินหายใจ (ARI Clinic) หรือคลินิกสงสัยผู้ติดเชื้อ (PUI) ที่มีในทุกโรงพยาบาล หรือโทรติดต่อโรงพยาบาลที่มีสิทธิการรักษาเพื่อประเมิน หากมีภาวะเสี่ยง คือ เป็นกลุ่ม 608 มีโรคประจำตัว แต่อาการไม่มาก จะให้เข้าระบบ HI/CI (Home Isolation/Community Isolation), Hotel Isolation และ Hospitel แต่หากมีภาวะเสี่ยงและอาการรุนแรงจะส่งรับการรักษาในโรงพยาบาล
ข่าวน่าสนใจ:
- “เฉลิมชัย” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ลงพื้นที่ติดตามการทำหมันลิงเขาช่องกระจก ล๊อตแรก 300 ตัว
- นครพนม น้องขวัญ นำทัพกลุ่มนครพนมร่วมใจ เปิดตัว ส.อบจ.นครพนม ทั้ง 30 เขต
- นายกฯ "อิ๊ง" เปิดงานออนซอนกลองยาวชาววาปี สานตำนานเมืองวาปีปทุม 142 ปี
- หนุ่มวัย 31 ขับ AEROX 155 ข้ามถนนถูกตู้ชนร่างกายกระแทกกระบะจอดรอกลับรถดับ
สำหรับกลุ่มที่ไม่มีภาวะเสี่ยง สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวเองที่บ้าน ซึ่งคล้ายกับการรักษาระบบ HI คือ มีการแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการ โดย HI จะโทรติดตามทุกวัน และมีอุปกรณ์ตรวจประเมินให้ เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด รวมถึงอาหาร แต่กรณีผู้ป่วยนอกเนื่องจากไม่มีความเสี่ยง จึงไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมินและอาหารให้ และจะโทรติดตามอาการครั้งเดียวเมื่อครบ 48 ชั่วโมง แต่ทุกรูปแบบจะมีช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อกลับได้ และมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: