กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรี พอใจ ประชาชนตอบรับมาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐ ปี 2565 โดยเฉพาะคนละครึ่งเฟส 4 ขณะที่ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ชี้ ผลประกอบการบริษัทไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเริ่มเปิดประเทศ
วันที่ 12 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พอใจประชาชนตอบรับมาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐ ปี 2565 จำนวน 3 โครงการ ที่เปิดให้ใช้จ่ายไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ.65 ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 10 มีนาคม 2565 มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวม 40.81 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวมทั้งหมด 58,552.88 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิที่เป็นประชาชนที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 (ประชาชนกลุ่มเดิม) 25.46 ล้านราย มียอดใช้จ่าย 51,992.4 ล้านบาท และมีผู้ใช้สิทธิที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 (กลุ่มใหม่) จำนวน 7.85 แสนราย มียอดใช้จ่าย 1,280.6 ล้านบาท
2.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 13.32 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 4,858.98 ล้านบาท
ข่าวน่าสนใจ:
- สื่อมาเลย์เผย รัฐบาลไทยยังคง 'เงียบ' บีอาร์เอ็น ปั่นป่วนเพราะความโง่เขลาของตัวเอง
- THACCA ร่วมกับ วธ. สนับสนุน 220 ล้านบาท ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซอฟต์พาวเวอร์ไทย
- พ่อค้ายาหัวใส!! ซุกยาในหัวชาร์ตโทรศัพท์มีรูปสติกเกอร์โดเรม่อน ตบตาเจ้าหน้าที่ ถูกฝ่ายปกครองรวบพร้อมของกลาง จ.สระแก้ว
- "ประเสริฐ รักไทย” ประกาศชน “บุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ” สู้ศึกชิงเก้าอี้ อบจ.ตรัง
3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 1.24 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 420.90 ล้านบาท
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงการจัดอันดับเครดิตภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ผลประกอบการของบริษัทไทย มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2565 จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการเริ่มเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัทไทยที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตส่วนใหญ่ มีการบริหารจัดการกระแสเงินสดอย่างรอบคอบในช่วงสถานการณ์โรคระบาด โดยมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายลงทุน และการปรับลดอัตราการจ่ายเงินปันผล ขณะที่การเข้าซื้อกิจการกลับเพิ่มมากขึ้น เพื่อฉวยโอกาสในการขยายธุรกิจ ซึ่งฟิทช์คาดว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดีขึ้นจากการฟื้นตัวของผลประกอบการจะช่วยลดผลกระทบจากการลงทุนและการจ่ายเงินปันผลที่สูงขึ้นในปี 2565
“นับเป็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีสำหรับเศรษฐกิจของไทยในปี 2565 ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้กำชับการทำงานของทุกหน่วยงาน ให้ร่วมกันอย่างบูรณาการติดตามสถานการณ์ของโลกในทุกมิติที่จะกระทบกับประเทศ เพื่อช่วยกันวางแผนมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมรองรับและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เป็นไปในทิศทางที่ดี” นายธนกร กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: