กรุงเทพฯ – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการ แก้หนี้เกษตรกร สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่เป็นลูกหนี้ 4 ธนาคารรัฐ 50,621 ราย ยอดหนี้เงินต้น 9,282.92 ล้านบาท
วันที่ 22 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำหรับลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สำหรับชำระหนี้แทนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50,621 ราย ยอดหนี้เงินต้นจำนวน 9,282.92 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี นับจากวันที่ ครม. อนุมัติ แบ่งการดำเนินการ ออกเป็น 3 ระยะ
ปีที่ 1 จำนวน 10,000 ราย ขอใช้งบกลางฯ รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2565 รวม 2,000 ล้านบาท
ปีที่ 2 จำนวน 22,000 ราย
ปีที่ 3 จำนวน 18,621 ราย
โดยเป็นหนี้ ธ.ก.ส.มากที่สุด 47,973 ราย มูลค่าหนี้เงินต้น 8,520.41 ล้านบาท ธอส. 2,008 ราย มูลหนี้เงินต้น 306.41 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 552 ราย มูลค่าหนี้เงินต้น 162.37 ล้านบาท และ ธพว. 88 ราย มูลหนี้เงินต้น 293.72 ล้านบาท
ข่าวน่าสนใจ:
- ศึกษาธิการระยอง จับมือเทคนิคระยอง และศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง จัดกิจกรรมโครงการเรียนดี มีความสุขสู่อนาคตที่สดใส
- ระทึก ไฟไหม้โรงงานผลิตกล่องโฟมใส่อาหารหวิดวอดหมดหลัง
- นนทบุรี ธงชัย ไม่หวั่นชน เลิศมงคล จากพรรคประชาชน เผยไม่สังกัดพรรคทำงานให้ประชาชนได้ทุกคน
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
นายธนกร แถลงต่อว่า แนวทางการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ จะพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน แล้วให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลง แต่ไม่เกิน 15 ปี เมื่อเกษตรกรชำระหนี้คืนเสร็จสิ้นแล้ว เงินต้น (ร้อยละ 50 ที่พักไว้) และดอกเบี้ยที่พักไว้ จะได้รับการยกหนี้ส่วนนี้ให้เกษตรกรทั้งหมด โดยสถาบันเจ้าหนี้จะได้รับการชดเชยเงินต้นจากรัฐบาล สำหรับการชดเชยดอกเบี้ยให้เป็นไปตามมติ ครม.
โดยมีเงื่อนไขสำคัญ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องไม่ก่อหนี้เพิ่มกับสถาบันการเงินอื่นใดอีก
สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระของธนาคาร 4 แห่งนั้น ครม.เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงการคลัง หารือก่อนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำเป้าหมายการแก้ปัญหาหนี้เกษตรในครั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสได้พักฟื้นเรื่องหนี้สิน รักษาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยขเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูตนเอง และสร้างรายได้ในการประกอบอาชีพ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบ ทั้งหนี้ครัวเรือนและหนี้เกษตรกร ตามที่ประกาศ ปี 2565 นี้ เป็นปีแห่งการแก้ปัญหาหนี้ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: