มรสุมที่โหมกระหน่ำเหนืออ่าวทุ่งคา จังหวัดชุมพร ทำให้เกลียวคลื่นซัดเข้าหาชายฝั่งอย่างบ้าคลั่ง ก่อนที่จะค่อย ๆ สลายหายไปกับแนวต้นโกงกาง หลงเหลือไว้เพียงความชุ่มชื้นที่ถูกโอบอุ้มไว้ด้วยป่าชายเลนผืนใหญ่แห่งนี้
ปัจจุบันป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวี นับเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ แต่ไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นพื้นที่นากุ้งเสื่อมโทรมที่ต้องใช้เวลาพลิกฟื้นมากกว่า 20 ปี
ผืนป่าเขียวขจีด้วยฝีมือมนุษย์
“บริเวณนี้ก่อนจะมีอุทยาน เดิมเป็นบ่อปลา บ่อกุ้ง ต้นไม้อะไรก็ไม่มี สัตว์น้ำก็ไม่มีที่อยูอาศัย ชาวบ้านก็ไม่กล้าเข้าไปเพราะเป็นที่ของนายทุน” คำบอกเล่าของโยธิน อ่ำมา หรือ บัวลอย ชาวประมงที่เติบโตในอ่าวทุ่งคาสะท้อนถึงอดีตที่ไม่สวยงาม ไม่มีแม้แต่ภาพฝันของผืนป่าที่จะเติบโตขึ้นได้ในอ่าวทุ่งคาแห่งนี้
ภาพอดีต-ปัจจุบัน พื้นที่รอบที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร
จนกระทั่งเมื่อปี 2542 อ่าวทุ่งคาได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรจึงเริ่มเกิดการฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างจริงจัง นายมรกต โจวรรณถะ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร พาพวกเราเข้าไปสำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่อยู่ติดกับที่ทำการอุทยานซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นบ่อกุ้ง แต่ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันฟื้นฟูจนกลายเป็นป่าชายเลนอีกครั้ง
ผืนป่าฝีมือมนุษย์ที่เราเห็นกลายเป็นผืนป่าชายเลนขนาดใหญ่ที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารจากการทับถมของตะกอนที่พัดพามาจากคลองสายต่าง ๆ ปกคลุมไปด้วยร่มเงาของต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ที่เรียงตัวกันแน่นทึบจนกลายเป็นแหล่งพักพิงของทั้งปูแสม ปลาตีน สัตว์น้ำวัยอ่อน ลิงแสม รวมถึงนกนานาชนิด
ปลูกป่าในใจคน
นอกจากผืนป่าโดยรอบที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรแล้ว ยังมีพื้นป่าอีกกว่า 2,700 ไร่ ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรได้ตรวจยึดคืนจากบริษัทเอกชนซึ่งมีสภาพเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งที่ไม่มีพันธุ์ไม้ชายเลนหลงเหลืออยู่เลย หากปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัวเองอาจต้องใช้เวลานานและใช้งบประมาณของรัฐจำนวนมาก การปลูกป่าในใจคนตามแนวทางศาสตร์พระราชาจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวีอย่างยั่งยืน
เราออกเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรเพื่อไปสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียงในตำบลทุ่งคาก็พบนากุ้งร้างกว่า 20 บ่อ ซึ่งปัจจุบันมีต้นโกงกางสูงกว่า 2 เมตรขึ้นอย่างหนาแน่นรอบ ๆ ขอบบ่อและลดหลั่นกันเข้าไปยังบ่อกุ้งด้านใน สำหรับพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรเชิญชวนให้หน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูป่าชายเลน โดยในปี 2561 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้ามาร่วมกับชาวบ้าน นักเรียน จิตอาสาในการพลิกฟื้นนากุ้งร้างให้กลับมาเป็นป่าชายเลนด้วยพลังจากสองมือ
ปลูกป่าในใจคน
นอกจากผืนป่าโดยรอบที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรแล้ว ยังมีพื้นป่าอีกกว่า 2,700 ไร่ ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรได้ตรวจยึดคืนจากบริษัทเอกชนซึ่งมีสภาพเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งที่ไม่มีพันธุ์ไม้ชายเลนหลงเหลืออยู่เลย หากปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัวเองอาจต้องใช้เวลานานและใช้งบประมาณของรัฐจำนวนมาก การปลูกป่าในใจคนตามแนวทางศาสตร์พระราชาจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวีอย่างยั่งยืน
เราออกเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรเพื่อไปสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียงในตำบลทุ่งคาก็พบนากุ้งร้างกว่า 20 บ่อ ซึ่งปัจจุบันมีต้นโกงกางสูงกว่า 2 เมตรขึ้นอย่างหนาแน่นรอบ ๆ ขอบบ่อและลดหลั่นกันเข้าไปยังบ่อกุ้งด้านใน สำหรับพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรเชิญชวนให้หน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูป่าชายเลน โดยในปี 2561 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้ามาร่วมกับชาวบ้าน นักเรียน จิตอาสาในการพลิกฟื้นนากุ้งร้างให้กลับมาเป็นป่าชายเลนด้วยพลังจากสองมือ
ความน่าสนใจของภารกิจฟื้นฟูป่าชายเลนของ กฟผ. คือ การมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและความต้องการของคนในท้องถิ่นตั้งแต่การเลือกพื้นที่ ลงมือปลูก ตลอดจนดูแลรักษาป่าตามแนวทาง “ปลูก 1 ปี บำรุงรักษาต่อเนื่องอีก 2 ปี” เพื่อเพิ่มอัตราการรอดของป่าที่ปลูกก่อนส่งมอบป่าชายเลนคืนให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ดูแลต่อไป
ธีระพงศ์ ฉั่วอรุณ หนึ่งในชาวบ้านบ้านทุ่งคาที่รับจ้างปลูกและดูแลป่าชายเลนให้กับ กฟผ. เล่าว่า ในปีแรกของการปลูกป่าชายเลนต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะต้นโกงกางยังมีขนาดเล็ก รากค้ำจุนยังไม่แข็งแรง อาจถูกเพรียงเจาะรากหรือน้ำท่วมตายได้ ทำให้ต้องนำกล้าต้นใหม่มาปลูกซ่อมทดแทนอยู่เรื่อย ๆ รวมถึงต้องคอยตรวจดูประตูระบายน้ำไม่ให้มีเศษขยะหรือกิ่งไม้ไปขวางทางระบายน้ำเพื่อไม้ให้เกิดน้ำท่วมขัง
“ผมเข้ามาช่วยดูแลและปลูกป่าร่วมกับจิตอาสา ตั้งแต่เราปลูกป่าเพิ่ม มีการดูแลรักษาป่า มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น บางครั้งเขาหาฝักโกงกางมาขายผมก็จะรับซื้อจากชาวบ้านแล้วเอาไปปลูกป่า”
ทำให้นับตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน กฟผ. สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าบกและป่าชายเลนให้กับจังหวัดชุมพรแล้วรวมกว่า 14,000 ไร่ ช่วยเพิ่มพื้นที่แหล่งอาหาร ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
ปลูกป่า…ได้มากกว่าป่าที่ปลูก
“พอเขามาปลูกป่าชายเลน ของก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ มีสัตว์ทะเลทุกอย่างครับ ทั้งปูม้า ปลาหมึก ปลา เยอะจนชาวบ้านอยูได้ บางลำก็ได้เกือบเป็นหมื่น” พี่บัวลอยเล่าให้เราฟังอย่างมีความสุข เพราะเมื่อความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าชายเลนกลับคืนมา คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นแบบพลิกฝ่ามือ ทำให้ทุกคนในชุมชนพร้อมดูแลปกป้องป่า
“กลุ่มของพวกผมจะไปช่วยปลูกป่า ไปเก็บขยะทุกอย่าง เราไปช่วยหมด เพราะว่าเราอยากให้บ้านดูดี นักท่องเที่ยวก็จะเข้ามาบ้านเราเยอะขึ้น”
ความเข้มแข็งของพลังชุมชนและความเอาจริงเอาจังของภาครัฐที่ร่วมมือกันอย่างสอดประสานทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ทำให้ผืนป่าชายเลนที่ร่วมกันพลิกฟื้นมีอัตราการรอดและเติบโตอย่างรวดเร็ว
“เรามีเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวนประจำอยู่แล้ว ถ้ามีการบุกรุกเราต้องดำเนินการทันที สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ ถ้าเขาไปเจอว่ามีการใช้ทรัพยากรที่ผิดประเภทหรือไม่ถูกต้อง ก็จะโทรมาแจ้งเรา มีการให้ข้อมูลเราอยู่ตลอด” มรกต โจวรรณถะ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร กล่าวทิ้งท้าย
ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวี อาจเป็นภาพที่ไกลเกินฝันว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่วันนี้ป่าชายเลนที่นี่ได้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง และค่อย ๆ เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยความรักและความหวงแหนป่าที่หยั่งรากลึกลงในใจของคนชุมพรอย่างแท้จริง
ปัจจุบัน กฟผ. ยังเดินหน้าโครงการปลูกป่าล้านไร่ เพื่อพลิกฟื้นผืนป่าทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าชายเลน ป่าชุมชน และป่าเศรษฐกิจ รวม 1 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ หากหน่วยงานใดสนใจร่วมโครงการปลูกป่าล้านไร่กับ กฟผ. สามารถติดต่อประสานงานได้ที่ฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม กฟผ. โทร 08 2337 5040
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: