กรุงเทพฯ – กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงสภาพอากาศช่วงปลายฤดูฝน ให้ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ ช่วง 1-2 เดือนนี้อย่างใกล้ชิด เตือน ก.ย. – ต.ค.จะมีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุด หากมีพายุหมุนเขตร้อน จะประกาศเตือนล่วงหน้า 3 วัน
วันที่ 1 กันยายน 2565 ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายวิชาการ และโฆษกรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงสภาพอากาศบริเวณประเทศไทย ช่วงปลายฤดูฝนปี 2565 ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ เผยแพร่ข้อมูลและแจ้งเตือนสภาพอากาศขณะนี้ ว่า สภาพอากาศในปีนี้ แตกต่างจากปี 2554 ที่ฤดูฝนเริ่มต้นเร็วกว่าปกติ และมีฝนตกต่อเนื่องโดยไม่มีภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 24 และมีค่ามากที่สุด ในคาบ 61 ปี นับจาก พ.ศ.2494 รวมถึงมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง 1 ลูก คือ พายุโซนร้อนนกเตน ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม
นอกจากนั้น ยังมีพายุหมุนเขตร้อน ที่แม้ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ส่งผลทางอ้อมต่อลมฟ้าอากาศในประเทศไทย ส่งผลให้ไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่น ตกหนักถึงหนักมากมาเป็นระยะ ๆ และต่อเนื่อง มีน้ำเหนือไหลหลากเข้าท่วมหลายพื้นที่ ประกอบกับในระยะครึ่งหลังของเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงและต่อเนื่องในประเทศไทย
โฆษกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับปี 2565 นี้ กรมได้ประกาศเข้าสู่ฤดูฝน ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม และคาดหมายว่าจะสิ้นสุดฤดูฝน ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคม
ข่าวน่าสนใจ:
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
โดยจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2 ลูก ปีนี้ ฤดูฝนเริ่มต้นในช่วงเวลาปกติของฤดูกาล จากนั้นในช่วงเดือนมิถุนายนฝนลดลง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก อุบลราชธานี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
จากนั้น สถานการณ์ฝนกระจายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 จนถึงปัจจุบัน ปริมาณฝนรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ในทุกภาคของประเทศ โดยสูงกว่าค่าปกติ 203.9 มิลลิเมตร หรือสูงกว่าค่าปกติร้อยละ 23
สาเหตุที่เกิดฝนส่วนใหญ่ เกิดจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และร่องมรสุมที่มีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ โดยยังไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง มีเพียงพายุโซนร้อนมู่หลาน ที่เคลื่อนตัวมา แล้วอ่อนกำลังลงบริเวณประเทศจีนตอนใต้ และพายุโซนร้อนหมาอ๊อน
ที่เคลื่อนตัวมา แล้วอ่อนกำลังลงบริเวณประเทศลาวตอนบน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม และ 24 สิงหาคม ตามลำดับ
ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และร่องมรสุม ที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงดังกล่าวมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งเป็นระยะ ๆ ในทุกภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย กล่าวต่อว่า สำหรับช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ปีนี้ จะยังมีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุด และยังมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่
จากปัจจัยที่แตกต่างนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาจึงขอแจ้งให้ประชาชนรับทราบ
และให้ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ หากมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นและจะส่งผลกระทบกับประเทศไทย
กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศเตือนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และหากพบเห็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่
สายด่วน 1182
เว็บไซต์ www.tmd.go.th
แอปพลิเคชั่น thai weather
เพจ Facebook, youtube Chanel, twitter
และสถานีวิทยุกระจายเสียง ของกรมอุตุนิยมวิทยา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: