ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้เกิดการบัญญัติคำว่า “Prosumer” ขึ้น ซึ่งมาจากคำว่า Consumer ที่แปลว่าผู้บริโภครวมกับคำว่าProducer ที่แปลว่าผู้ผลิต Prosumer คือการที่ผู้บริโภคผันตัวเองจากการเป็นเพียงคนที่จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการอยู่ฝ่ายเดียวมาเป็นทั้งผู้ที่ซื้อและผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ เช่นเดียวกันในอุตสาหกรรมพลังงานเองก็มีเทคโนโลยีล้ำ ๆ ที่ส่งเสริมให้ Prosumer สามารถซื้อขายไฟฟ้าได้เองง่าย ๆ ผ่านแพลตฟอร์มซื้อขายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ กฟผ. ที่ชื่อว่า “Peer-to-Peer Energy Trading”
แอปพลิเคชัน EGAT Peer-to-Peer
ทดสอบการซื้อขายจริงผ่าน 3 โครงการนำร่องสำหรับแพลตฟอร์ม ของ กฟผ. เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Prosumer หรือผู้ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด นำไฟฟ้าส่วนที่เกินจากความต้องการใช้งานมาเสนอซื้อ-ขายระหว่างกันได้โดยตรง (Peer-to-Peer) ซึ่งผ่านการทดลองใช้งานจริงแล้วในโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงานระยะที่ 1 (ERC Sandbox ระยะที่ 1) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) โดยรองรับการตกลงซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบสัญญาทวิภาคี (Bilateral Trading) ระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อไฟฟ้า ซึ่งแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading ได้ทดสอบในสภาพแวดล้อมการใช้งานจริงจากผู้เข้าร่วมทดสอบใน 3 โครงการ ได้แก่ ‘โครงการ TU EGAT Energy’ นำร่องทดสอบซื้อขายไฟฟ้าระหว่างอาคารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โครงการ TU EGAT Energy มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ข่าวน่าสนใจ:
‘โครงการศรีแสงธรรมโมเดล’ ซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง 4 พื้นที่ของบ้านดงดิบจ.อุบลราชธานี โรงเรียนศรีแสงธรรม วัดป่าศรีแสงธรรม โรงเรียนบ้านดงดิบ และศูนย์เด็กเล็กบ้านดงดิบ
โครงการศรีแสงธรรมโมเดล จ.อุบลราชธานี
‘โครงการ ENGY Energy is Yours’ ซึ่ง กฟผ. ร่วมกับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการศึกษาทดสอบในพื้นที่นำร่องแล้ว 3 แห่ง คือ โครงการเวนิวโฟลว์ (Venue Flow) แจ้งวัฒนะ โครงการเพอเฟคพาร์ค (Perfect Park) และโครงการคาซ่า พรีเมี่ยม (Casa Premium) ราชพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ
โครงการเวนิวโฟลว์ แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี
ทั้ง 3 โครงการมีการทดลองซื้อขายไฟระหว่างกันในพื้นที่ผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบติดตามค่าการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน รวมทั้งดูประวัติย้อนหลังได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการประหยัดพลังงานได้อย่างดีอีกด้วยทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมการออกแบบกำหนดกฎกติกา มาตรการส่งเสริม หรือมาตรการป้องกันที่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบไฟฟ้าอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งจำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้บริโภครวมถึงระบบกิจการพลังงานโดยรวมของประเทศที่จะนำไปสู่การผลักดันให้เกิดรูปแบบธุรกิจด้านพลังงานใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคต
ขยายการทดสอบ สร้างความมั่นใจในการซื้อขายจริง
กฟผ. เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มให้สามารถใช้งานได้ง่ายและเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นพร้อมเตรียมขยายผลสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้าในยุคดิจิทัล โดย “Peer-to-Peer Energy Trading” ของ กฟผ. ได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงานระยะที่ 2 (ERC Sandbox ระยะที่ 2) ซึ่งจะพัฒนาต่อยอดการดำเนินการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจริงในพื้นที่โครงการนำร่องทั้ง 3 โครงการของ ERC Sandbox ระยะที่ 1 และกฟผ. ได้เร่งมองหาพื้นที่ในการทดสอบใหม่ ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ Prosumer ที่ต้องการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด
นอกจากนี้ กฟผ. ได้จับมือกับ 4 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด นำแพลตฟอร์ม“Peer-to-Peer Energy Trading” มาเป็นศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ติดตั้ง Solar Rooftop ในโครงการ SolarPlus นำร่องที่หมู่บ้านศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ รังสิต คลอง 2 จ.ปทุมธานีเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสีเขียว มุ่งหวังเป็นต้นแบบของโครงการซื้อขายพลังงานแบบ Peer-to-Peer Energy Trading ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
โครงการ Solar Plus หมู่บ้านศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ รังสิต คลอง 2 จ.ปทุมธานี
ความสำเร็จและความคืบหน้าของโครงการต่าง ๆ ข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์เทรนด์การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างกันสามารถทำได้โดยสะดวกมากขึ้น พร้อมเดินหน้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ของ กฟผ. (EGAT Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065 ตลอดจนเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงาน Smart Energy Solutions แบบครบวงจรในอนาคตอย่างยั่งยืน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: