กรุงเทพฯ – สาธารณสุข ยืนยัน พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์ XBB 2 คน มาจากต่างประเทศ เป็นหญิงไทยและต่างชาติ อาการน้อยและหายป่วยแล้ว และสายพันธุ์ BF.7 อีก 2 คน เป็นชายชาวต่างชาติและบุคลากรทางการแพทย์หญิง อยู่ใน กทม.ทั้งคู่ ชี้ ไทยพบสายพันธุ์ย่อยใหม่ 30 คน
วันที่ 17 ตุลาคม 2565 นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากรายงานการเฝ้าระวังสายพันธุ์ไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย พบเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนกลายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ XBB 2 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ ขณะนี้ทั้ง 2 รายหายจากอาการป่วยโควิดแล้ว และเดินทางต่อไปยังต่างประเทศแล้ว
รายแรก หญิงไทย อายุ 49 ปี มีประวัติเดินทางกลับมาจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565 และวันรุ่งขึ้นเริ่มมีอาการ ไอ คัดจมูก ไม่มีไข้ ต่อมา วันที่ 27 กันยายน 2565 ตรวจ ATK ผลเป็นบวก จึงเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง และรับยากลับมารักษาตัวที่บ้านจนครบกำหนด
รายที่ 2 หญิงต่างชาติ อายุ 60 ปี เดินทางมาจากฮ่องกง มีอาการไอ ไม่มีไข้ ตรวจด้วย ATK พบผลบวก วันที่ 28 กันยายน 2565 จึงเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชน และรับยากลับมาพักรักษาตัวอยู่ในห้องพักโรงแรม นาน 10 วัน
ข่าวน่าสนใจ:
- นำทีมบ้านใหญ่ “ธรรมเพชร” ลงสมัคร นายก อบจ.พัทลุงอีกสมัย ด้าน “ สาโรจน์” คู่ชิงชัยคนสำคัญจะลงสมัครในวัดสุดท้าย
- ศึกชิงนายก อบจ.สมุทรปราการ คึกคัก
- ตรัง "โลกเปลี่ยน เราไม่เปลี่ยน" บอกรักทะเลด้วยสองมือ ณ หาดฉางหลาง ทะเลตรัง ก้าวขา-พาสองมือเก็บขยะทะเล รังสรรค์งานศิลป์
- เปิดรับสมัคร นายก และสมาชิก อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ วันแรกคึกคัก
“แม้ว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 ในไทย มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิต โดยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาเสียชีวิต 53 ราย เฉลี่ยวันละ 7 ราย ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่ม 608 และมากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่ฉีดวัคซีน จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์การระบาดในต่างประเทศ ที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากไวรัสกลายพันธุ์ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือรับวัคซีนมาแล้วเป็นระยะเวลามากกว่า 4 เดือน ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นโดยเร็ว แม้วัคซีนจะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่มีประสิทธิผลเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า สามารถช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้อย่างดี” นายแพทย์ธเรศ กล่าว
ด้านนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า ด่านควบคุมโรคติดต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสนามบินนานาชาติในภูมิภาค ยกระดับการเฝ้าระวังผู้เดินทางจากสิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนประเทศที่มีรายงานการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ XBB หากผู้เดินทางจากพื้นที่ดังกล่าวมีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูก เมื่อมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ สามารถแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เพื่อขอรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ฟรี
ขอแนะนำผู้โดยสารสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยระหว่างการเดินทาง นำชุดตรวจ ATK ติดตัวไปพร้อมสำหรับตรวจเมื่อมีอาการในต่างประเทศ รวมทั้งขอรับวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนการเดินทางหากครบกำหนดฉีดแล้ว โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกช่วงวัย ล่าสุด จัดหาวัคซีนไฟเซอร์ฝาสีแดง สำหรับเด็กเล็กอายุ 6 เดือน-4 ปี มาให้บริการตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา สามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นในวันเดียวกัน จึงขอเชิญชวนผู้ปกครองนำบุตรหลานเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ที่สถานพยาบาลทั่วประเทศ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกรุงเทพมหานครกำหนด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยัน พบโควิดสายพันธุ์ XBB และสายพันธุ์ BF.7 ชนิดละ 2 คน
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงเช่นกันว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในไทย ตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ XBB 2 ราย นอกจากนี้ ยังพบสายพันธุ์ BF.7 อีก 2 ราย
รายแรก ชายชาวต่างชาติ อายุ 16 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอาการไอ เจ็บคอเล็กน้อย
รายที่สอง หญิงไทย อายุ 62 ปี เป็นบุคลากรทางการแพทย์ อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง (กลุ่ม 608)
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังพบสายพันธุ์ BN.1 จำนวน 3 คน และพบเพิ่มเติมอีก 7 คน แต่ยังอยู่ระหว่างนำเข้าเผยแพร่บนฐานข้อมูล GISAID ( ส่วนสายพันธุ์ BQ.1.1 ยังไม่พบรายงานในประเทศไทย) อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ BA.5 ยังคงเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในไทย
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้เพิ่มระดับคำเตือนเรื่องการเฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เพียงแต่พบโอมิครอนที่แตกลูกหลาน และจะมีสายพันธุ์ที่ต้องอยู่ภายใต้การติดตามกำกับข้อมูลอย่างใกล้ชิด เช่น BA.5 มีลูกหลาน เช่น BF.7 ที่พบในไทย ส่วน BA.2.3.20 เป็นตัวที่องค์การอนามัยโลก ให้ประเทศต่าง ๆ เฝ้าระวัง
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีการกลายพันธุ์ของโอมิครอน มากถึง 50 ตำแหน่ง โดยเฉพาะสไปท์ที่จับกับเซลล์ของคน และยิ่งกลายพันธุ์มากจะยิ่งเข้าไปยิ่งแพร่ง่าย เช่น กลายพันธุ์ 6 ตำแหน่งจะเร็วกว่า 100% หรือมากกว่า 7% สำคัญจะมากถึง 297% ยิ่งกลายพันธุ์มากยิ่งทำให้การแพร่และติดเชื้อ
โดยในไทย ยืนยันพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 จำนวน 19 คน และอีก 11 คนกำลังนำเข้าเผยแพร่บนฐานข้อมูล GISAID เป็น BA.2.75.1 จำนวน 4 คน, BA.2.75.2 จำนวน 3 คน, BA.2.75.3 จำนวน 1 คน และ BA.2.75.5 จำนวน 3 คน ถ้ามีการยืนยันทั้ง 11 คนนี้ จะเท่ากับไทยมีสายพันธุ์ย่อยใหม่ 30 คน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: