กรุงเทพฯ – กฟผ. และ บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ (ประเทศไทย) ร่วมลงนามเอ็มโอยู แลกเปลี่ยนและศึกษา Clean Energy Development มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เดินหน้าประเทศไทยสู่เป้าหมาย ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050
นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายเรียว ทาคุโบะ ประธานบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ (ประเทศไทย) จำกัด (MHI) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อแลกเปลี่ยนและศึกษาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพลังงานทางเลือก (Clean Energy) และเทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565
นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่าง กฟผ. และ MHI เป็นการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับพลังงานสะอาด ทั้งด้านเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization, and Storage) เทคโนโลยีการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน รวมถึงการใช้เชื้อเพลิงแอมโมเนีย สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกผลิตไฟฟ้า ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ.2050
ข่าวน่าสนใจ:
- มรภ.ราชนครินทร์ ผุดหลักสูตรคลายเหงาผู้สูงวัย รองรับสังคมไทยในอนาคต
- เซ็นทรัล จัดแข่งขัน FIREMAN Challenge ครั้งที่ 20
- ครัวคุณต๋อยยกทัพ บุกขอนแก่น จับมือศูนย์การค้าเซ็นทรัล ขอนแก่น ขนร้านอาหารชื่อดังนับร้อย มาเสิร์ฟสายกิน 11 วันเต็ม 14 - 24 พ.ย.นี้
- เปิดฉาก! สีฐานเฟสติวัล 2024 ลอยกระทงปีนี้ที่ มข.แบบ “วิถีแห่งอีสาน สีฐานมูเตลู”
ความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยให้ กฟผ. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดได้มากขึ้น พร้อมนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่กับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานอย่างยั่งยืน
ด้านนายเรียว ทาคุโบะ ประธานและกรรมการผู้จัดการ MHI กล่าวว่า กลุ่มบริษัทในเครือ MHI ได้ร่วมส่งเสริมและพัฒนาพลังงานในประเทศไทยมากว่า 5 ทศวรรษ พร้อมสนับสนุนการศึกษาข้อมูลเทคโนโลยีกังหันก๊าซ ซึ่งใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนีย และเทคโนโลยี CCUS ที่มีส่วนสำคัญในการลดการปล่อยมลพิษ เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงลึก ร่วมกับ กฟผ. ขยายโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าลดการปล่อยคาร์บอนในประเทศไทย
ทั้งนี้ กฟผ. และกลุ่มบริษัท MHI ได้ร่วมมือพัฒนาพลังงานในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่การสร้างเขื่อนสิริกิติ์ เมื่อปี 2511 นำไปสู่การพัฒนาโรงไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศ ทั้งโรงไฟฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าน้ำพอง และโรงไฟฟ้าวังน้อย และเมื่อปี 2552 ได้ร่วมกับกลุ่มบริษัท กฟผ. จัดตั้ง EGAT Diamond Service (EDS) ให้บริการงานด้านวิศวกรรมกังหันก๊าซ แก่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับความร่วมมือระหว่าง กฟผ. และ MHI ครั้งนี้ มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึง ร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ.2030 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ.2050 และเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ.2065
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: