กรุงเทพฯ – ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายอำนาจ ให้อิสระ แก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง 538 โรงเรียน
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในกรุงเทพมหานคร และอีก 10 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้ว จันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี มีสถานศึกษานำร่องรวมน 538 โรงเรียน
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานี้ เป็นพื้นที่การปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาในพื้นที่ระดับจังหวัด ซึ่งสถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
1.คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน
2.ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
3.กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง
4.สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมในพื้นที่
เกณฑ์การคัดเลือกจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พิจารณาจากความเหมาะสมและความพร้อมของจังหวัด การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีกรุงเทพฯและ 10 จังหวัด ที่ผ่านการคัดเลือก ดังนี้
1.กรุงเทพมหานคร 54 โรงเรียน กำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยปรับกรอบหลักสูตร อบรมพัฒนาครู เพิ่มทักษะ การใช้นวัตกรรมรูปแบบต่าง ๆ, การให้อิสระกับสถานศึกษา ในการวางแนวทางการบริหารบุคลากรและงบประมาณ, จัดตั้งภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเด็ก กทม.
ข่าวน่าสนใจ:
- ศึกษาธิการระยอง จับมือเทคนิคระยอง และศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง จัดกิจกรรมโครงการเรียนดี มีความสุขสู่อนาคตที่สดใส
- คึกคักวันแรก สมัครนายก อบจ.เชียงราย กองเชียร์ล้นทะลัก อาทิตาธร เบอร์ 1 สลักจิฤฏดิ์ เบอร์ 2
- ตำรวจนครพนมทลายขบวนการค้ายาเสพติด ยึดยาบ้า 2 ล้านเม็ด ไอซ์ 46 กก. ผู้ต้องหา 4 ราย รับจ้างข้ามชาติ
- นำทีมบ้านใหญ่ “ธรรมเพชร” ลงสมัคร นายก อบจ.พัทลุงอีกสมัย ด้าน “ สาโรจน์” คู่ชิงชัยคนสำคัญจะลงสมัครในวัดสุดท้าย
2.สุโขทัย 20 โรงเรียน มีการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมุ่งเน้นไปที่เด็กด้อยโอกาส
3.แม่ฮ่องสอน 19 โรงเรียน มีการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสและผู้เรียนหลากหลายชาติพันธุ์
4.กระบี่ 38 โรงเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองและเลือกการศึกษาต่อตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่
5.ตราด 22 โรงเรียน มีสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพด้านจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
6.สระแก้ว 30 โรงเรียน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่
7.จันทบุรี 28 โรงเรียน ปลดล็อกกฎระเบียบต่าง ๆ และมุ่งเน้นที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการศึกษาด้วยตนเองโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
8.ภูเก็ต 32 โรงเรียน สร้างระบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของประชาชน เช่น มุ่งเน้นให้เด็กภูเก็ตทุกคนต้องพูดได้มากกว่า 2 ภาษา และแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ
9.สงขลา 13 โรงเรียน มีสถานศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเข้าร่วมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองของ กสศ.
10.สุราษฎร์ธานี 21 โรงเรียน ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีการศึกษาอย่างเท่าเทียม ช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กที่มีปัญหา ให้ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเสมอภาค
11.อุบลราชธานี รวม 261 โรง จัดหลักสูตรที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนตามสมรรถนะและบริบทของพื้นที่
นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2561 โดยในปีนั้น กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้ 6 พื้นที่ 8 จังหวัด เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย สตูล ระยอง ศรีสะเกษ กาญจนบุรี เชียงใหม่ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวม 539 โรงเรียน
มีผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา อาทิ นราธิวาส มีการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาเพื่อจัดการศึกษาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม และลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา, สตูล มีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมโครงงานบนฐานวิจัย 14 ขั้นตอน ช่วยให้เด็กมีความสามารถด้านการคิด การสื่อสาร และนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อ ให้ชุมชนได้ และระยอง มีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัย (Rayong Inclusive Learning Academy : RILA) เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ของจังหวัด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: