กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรี ปลื้ม World Bank รายงาน แม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วเกินคาด และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง คาด ปี 65 ขยายตัวร้อยละ 3.4 ส่วนปี 66 ร้อยละ 3.6
วันที่ 18 ธันวาคม 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยรายงาน Thailand Economic Monitor ฉบับเดือนธันวาคม 2565 ของธนาคารโลก (World Bank) ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ไตรมาสที่3/2565 โดยมีระดับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ขยายตัวถึงร้อยละ 4.5 สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และเกินจากที่มีการคาดการณ์ไว้ โดยมีปัจจัยสำคัญจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ภายหลังการกลับมาเปิดประเทศ และมาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาล
ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานดังกล่าวด้วยความยินดี ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจไทยว่า มีตัวเลขการฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพ แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ จากภายนอก พร้อมกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ให้มีประสิทธิภาพและภูมิคุ้มกัน สามารถรองรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกได้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุด้วยว่า รายงานดังกล่าว ยังคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ทั้งปี ของปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 2.9 และคาดการณ์ว่าในปี2566 เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6
ข่าวน่าสนใจ:
- UNDP และ ม.อ๊อกซ์ฟอร์ด เผยวิจัยใหม่ แนะแนวทางยุติความยากจนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
- แฮนดี้แมนออโต้ เปิดตัว "NIBD" คุณภาพพรีเมี่ยม มิสแกรนด์สมุทรปราการร่วมสร้างสีสันแบรนด์
โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคการท่องเที่ยว การลงทุน การบริโภคของภาคเอกชนที่ฟื้นตัว และการจ้างงานคาดว่าจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รายงานฯ ระบุว่า ระบบการเงินโดยรวมของไทยยังคงมีเสถียรภาพการขาดดุลการคลังที่ลดลงและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ค่อย ๆ ลดลงอยู่ในระดับที่มีความยั่งยืน อย่างไรก็ดี ในปี 2566 ธนาคารโลกมองว่า ยังคงมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อและแรงกดดันด้านราคาที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง
“นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน เพื่อเศรษฐกิจของประเทศ จนเห็นผลสำเร็จเป็นสัญญาณที่ดี ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกำชับทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ผลักดันภาคการท่องเที่ยว เพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการคลัง และมุ่งช่วยเหลือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อกระตุ้น ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า หากทุกฝ่ายร่วมมือกันมั่นใจว่าไทยจะฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน” นายอนุชา กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: