กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรี กำชับหน่วยงานเกี่ยวข้อง แก้ปัญหาภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หลังสร้างความเสียหายให้คนไทยเพิ่มขึ้นทุกปี เฉพาะรอบปีที่ผ่านมา เกือบ 30,000 ล้านบาท เชื่อ ร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จะป้องกันและควบคุมบริการธุรกรรมออนไลน์ได้
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ ที่สร้างความเสียหายให้ประชาชนเพิ่มขึ้น
จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565-6 กุมภาพันธ์ 2566 มีการแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 192,031 คดี เท่ากับมีสถิติคดีแจ้งความประมาณ 1,000 รายต่อวัน มูลค่าความเสียหายมากถึง 29,546 ล้าน 732,805 บาท สามารถติดตามอาญัติบัญชี 65,872 บัญชี อายัดได้ทัน 445,265,908 บาท มีผู้เสียหายสูงสุดมูลค่าถึง 100 ล้านบาท จึงเป็นสถานการณ์ขั้นวิกฤต ส่วนรูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.การหลอกลวงซื้อสินค้า 2.การโอนเงินหารายได้พิเศษ 3.การหลอกให้กู้เงิน 4. คอลเซ็นเตอร์ และ 5.การหลอกให้ลงทุน
นายกรัฐมนตรี สั่งการให้พิจารณาแนวทางดำเนินการเพื่อแก้ไข ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอออก พระราชกำหนดปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพิ่มอำนาจในการสืบสวนสอบสวนให้มีประสิทธิภาพพร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้เท่าทัน ซึ่งการร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการบูรณาการความร่วมมือเพื่อเป็นเครือข่ายในการยับยั้ง ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกัน แก่ประชาชน เพื่อให้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ ล่าสุด ร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. …. คาดการณ์ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เชื่อว่าเมื่อมีผลบังคับใช้แล้ว จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยธนาคารสามารถระงับธุรกรรมที่ผิดปกติ หรือต้องสงสัยได้ทันที
ข่าวน่าสนใจ:
- สระแก้ว จัดพิธีรับพระราชทาน “พระพุทธสิรินธรเทพรัตน์มงคลภูวดลสันติ”
- สภาพการจราจรสระแก้วมุ่งหน้าช่องเขาตะโก ไปบุรีรัมย์และอีสานใต้เคลื่อนตัวได้ คาดตั้งแต่ค่ำนี้เป็นต้นไปรถเริ่มหนาแน่น
- เงิน 9,000>เยียวยาน้ำท่วมใต้ บ่งบอกจิตสำนึกคนนอกรีตไม่เข้าเกณฑ์
- เปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ หัวรถไถไฟฟ้า ฝีมือครูสุโขทัย ถูก-ประหยัดกว่าถึง 10 เท่า
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ และ NT ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย ได้ร่วมกันดำเนินการ ดังนี้ ตรวจสอบปิดไลน์ปลอมของธนาคาร ควบคุมและจัดการ ชื่อผู้ส่ง SMS (SMS Sender) ปลอม ปิดกั้น URL ที่เป็นอันตราย พร้อมทั้งหารือแนวทางกับธนาคารสมาชิก พัฒนาระบบความปลอดภัยแชร์เทคนิคและแนวทางการป้องกันภัย เช่น พัฒนาการป้องกันและควบคุมบริการธุรกรรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของสถาบันการเงิน (Mobile Banking Application) กรณีมือถือมีการเปิดใช้งาน Accessibility Service เพิ่มระบบการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ด้วย Biometrics Comparison เช่น ลายนิ้วมือ รูม่านตา และโครงสร้างใบหน้า เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: