กรุงเทพฯ – กฟผ. ร่วมอัปเดตเทรนด์พลังงานสะอาดในเวที SETA 2023 และ Solar+Storage Asia 2023 กับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทั่วโลก มุ่งผลักดันประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emission พร้อมชูกลยุทธ์ Triple S ของ กฟผ. มุ่งมั่นนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
วันที่ 17 สิงหาคม 2566 นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมพิธีเปิดงาน มหกรรมด้านพลังงานและเทคโนโลยีแห่งเอเชีย SETA 2023 และ Solar+Storage Asia 2023 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2566 ภายใต้แนวคิด ‘Driving Asia’s Energy Transition Pathways to Carbon Neutrality’ ผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emission
โดยมีผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานสะอาดทั่วโลกกว่า 100 คน ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแลกเปลี่ยนมุมมองด้านพลังงานเชิงลึกครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. ระบุว่า ขณะนี้เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน จากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียน กฟผ. ได้กำหนดนโยบายด้านการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ EGAT Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ.2050 ด้วยกลยุทธ์ Triple S ได้แก่
ข่าวน่าสนใจ:
- ตม.สระแก้ว ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จับกุมชาวจีน 2 ราย หลบหนีเข้าเมือง
- สมเด็จพระสังฆราช โปรดประทานผ้าพระกฐินทอดถวาย ณ วัดเขาไกรลาศ หัวหิน
- เปิดฉาก! สีฐานเฟสติวัล 2024 ลอยกระทงปีนี้ที่ มข.แบบ “วิถีแห่งอีสาน สีฐานมูเตลู”
- ตรัง เปิดความสวยงาม "เขาแบนะ-อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม" เส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบภูเขาชมทะเลงาม
1.Sources Transformation เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น ปรับปรุงโรงไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ให้มีความยืดหยุ่น และพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน อาทิ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) และระบบกักเก็บพลังงานแบบไฮโดรเจน (HESS)
2.Sink Co-creation เพิ่มปริมาณการดูดซับกักเก็บคาร์บอน โดยผนึกกำลังพันธมิตรตั้งธงปลูกป่า 1 ล้านไร่ ภายในปี พ.ศ.2574 และศึกษาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) เพื่อนำมาใช้กับโรงไฟฟ้า
3.Support Measure Mechanism สนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และโครงการห้องเรียนสีเขียว เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
ภายในงาน ยังจัดพิธีมอบรางวัล Power & Energy Award 2023 ซึ่งเป็นรางวัลระดับนานาชาติ สะท้อนความสำเร็จของธุรกิจและบุคคลที่ผลักดันนวัตกรรมภาคพลังงานและไฟฟ้า โดย กฟผ. ได้รับรางวัล Energy Revolution และนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. ได้รับรางวัล Energy Leadership Executive of the Year
กฟผ. ยังได้ร่วมอภิปรายบนเวทีเสวนา ร่วมกับผู้นำทางด้านพลังงานไฟฟ้าในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ โอกาสและความท้าทายในการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าในอาเซียน (Utilities Panel: Opportunities and Challenges for Asian Grid Integration) การขยายและเพิ่มแหล่งกักเก็บพลังงานในอาเซียน (Storage Panel: Scaling up and Growing the Energy Storage in ASEAN) ‘โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ’ จุดสนใจของอาเซียน และการถอดบทเรียนจากที่ผ่านมา (Floating Solar: ASEAN Spotlight and Lesson Learned)
การขยายตลาดไฮโดรเจน และการเพิ่มผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทาน (How to scale up the Hydrogen market and build up value chain players based on the opportunities and challenges) การเพิ่มความยืดหยุ่นให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตและการลงทุน (Expanding Grid Flexibility : Opportunities for Growth and Investment) ภูมิทัศน์พลังงานไทย เติบโตอย่างยั่งยืนได้ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Powering Sustainable Growth: Circular Economy Solutions for Thailand’s Energy Landscape) และวิธีใช้ยานพาหนะขนาดเล็กในเมืองใหญ่ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน (How to leverage Micro mobility for low carbon solutions in the Large Cities and case study)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: