กรุงเทพฯ – รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ค้านแก้รัฐธรรมนูญ แต่คิดไม่ถึงรัฐบาลจะตั้งธงทำยาวถึง 4 ปี แนะ ต้องเตรียมเงินไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท
วันที่ 27 กันยายน 2566 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุน ถ้าเป็นการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น และต้องไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ซึ่งเป็นหลักที่มีความชัดเจน ขณะเดียวกัน จะต้องดูให้รอบคอบว่า จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาเป็นต้นร่างหรือต้นแบบ อย่าไปดูจากที่มาอย่างเดียว แม้จะที่มาจะมีความสำคัญ แต่เนื้อหาก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อรัฐธรรมนูญบังคับใช้แล้ว จะถูกบังคับใช้ตามเนื้อหา ไม่ได้บังคับใช้ตามที่มา
อีกทั้งต้องดูว่า รัฐธรรมนูญฉบับไหนที่เคยบังคับใช้มาแล้วมีช่องโหว่น้อยที่สุด ถ้าสามารถนำมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ ก็ควรจะนำฉบับนั้นมาเป็นต้นร่าง หรืออาจใช้หลาย ๆ ฉบับ มาพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย โดยเลือกเฉพาะข้อดีมารวมกัน ให้สอดคล้องกัน ก็สามารถทำได้
ส่วนข้อเสนอแนะของ นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้แก้มาตรา 256 เพื่อลดงบประมาณในการทำประชามตินั้น นายจุรินทร์ ระบุว่า เรื่องนี้อยู่ที่รัฐบาล แต่ที่กำลังพูดถึงนี้หมายถึงนโยบายรัฐบาล ที่ไปหาเสียงไว้และประกาศในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ว่า เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะเร่งแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนจะแก้อย่างไรนั้น ดูเหมือนประธานคณะกรรมการศึกษาฯ จะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. หากตั้ง สสร.ก็แปลว่า จะต้องมีขั้นตอนกระบวนการที่ยาวพอสมควร จะต้องมีการเสนอทำประชามติ และเสนอต้นร่างเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามขั้นตอนกระบวนการ ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า รัฐบาลตั้งธงจะทำถึง 4 ปี เพราะเห็นแถลงเป็นนโยบายเร่งด่วน
ข่าวน่าสนใจ:
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ถ้าสมมติมีการทำใหม่ทั้งฉบับ ตั้ง สสร. รัฐบาลก็ต้องเตรียมงบประมาณไว้ไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท ไม่ใช่ว่าจะค้านหรือไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลต้องรู้ถึงภาระที่จะตามมา ซึ่งเป็นหน้าที่รัฐบาลที่ต้องเตรียมไว้ด้วย เพราะการทำประชามติครั้งหนึ่ง เท่าที่ กกต. ประเมิน ก็ประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: