กรุงเทพ – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แนะ วิธีปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า ระยะเร่งด่วน กลางยาว ที่ต้นเหตุ โดยระยะเร่งด่วน ให้ทำงานเชิงรุกเพื่อลดค่าเอฟที ให้ค่าไฟฟ้าปีนี้ ไม่เกิน 3.60 บาท/หน่วย ส่วนระยะกลางและยาว ให้เร่งเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เปิดตลาดเสรีทั้งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ และลดการผูกขาด ให้ค่าไฟฟ้าไม่เกิน 3 บาท/หน่วย
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นำเสนอทางออกค่าไฟฟ้า ด้วยการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ พุ่งเป้าหมาย ค่าไฟฟ้า ปี 2567 ต้องไม่เกิน 3.60 บาท/หน่วย และในระยะกลาง/ยาว ค่าไฟฟ้าไม่เกิน 3 บาท/หน่วย ดังนี้
การแก้ปัญหาเร่งด่วน เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft.) เพื่อให้ค่าไฟฟ้า ปี 2567 ไม่เกิน3.60 บาท/หน่วย
1.การขับเคลื่อนกลไกเชิงรุก ด้วยแนวทางการบริหาร คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เชิงรุก โดยยึดประโยชน์ ค่าครองชีพของประชาชน และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นที่ตั้ง
♦ การช่วยภาคประชาสังคม รัฐต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าผลักภาระมาให้ภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขัน
♦ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) = ครม.เศรษฐกิจด้านพลังงาน ควรประสานแนวทางการปรับลดค่าพลังงานและค่าไฟฟ้า เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับนโยบายไปดำเนินการเชิงรุก ลดความตื่นตระหนก สับสน และตอบโจทย์ประชาชนได้ เช่น การประกาศ ค่า Ft.
♦ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) การพิจารณาค่า Ft. ขาดการปรับปรุงข้อมูลค่าพลังงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ความถูกต้อง ความโปร่งใสของข้อมูลที่นำมาใช้พิจารณา เปิดเผย ตรวจสอบได้หรือไม่ ค่า Ft. เผื่อปลอดภัยไว้ก่อนจนแพงเกินควรหรือไม่ การเปิดรับฟังความเห็น ค่า Ft เนื้อหาเข้าใจยาก ขาดการมีส่วนร่วมในวงกว้าง ตั้งธงไว้แล้วหรือไม่
ข่าวน่าสนใจ:
- ปราจีนบุรี ลูกจ้าง อบต.10 คน ถวายหัวหมู หลังถูกเลขเด็ด 2 ตัวตรง
- คนงานรับเหมาถูกเพื่อนโกหก ทิ้งงาน ไม่มีเงินกลับบ้าน จ.ปราจีนบุรี
- ตรัง ผู้ตรวจฯกระทรวงพาณิชย์ ลงตรังเยี่ยมแปลงปลูกพริกไทยตรัง-สุราชุมชน ผู้ผลิตต่อยอดสินค้า GI "พริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียน สู่มาตรฐาน EU organic…
- อดีตปลัดโวย ดื่มน้ำถังจะอ้วกพบตะไคร่ก้นถัง
2.ควรสร้างความเข้มแข็งให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในทุกมิติ โดยช่วยเพิ่มสภาพคล่องของ กฟผ. เช่น การชะลอส่งเงินเข้าคลัง หรือ ออกพันธบัตรรัฐบาล ให้ กฟผ.ดูแลหน่วยงาน System Operator (S.O.) เช่นเดิม การสรรหา ผู้ว่าฯ กฟผ.ปราศจากการแทรกแซง
3.กำลังการผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการ และผลักดันส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้พลังงาน ลดการนำเข้าฟอสซิล
♦ ค่า AP (ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้า) เร่งลด Margin (การสำรอง) เพื่อยืดเวลา โดยสัญญาเดิม ยืดหยุ่นค่า AP (ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้า) สำหรับผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่(IPP) ส่วนสัญญาใหม่ ลดผลตอบแทนลง
♦ ไม่เร่งเพิ่มกำลังการผลิต (Supply) โดยทบทวนแผน NEP ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน)
♦ เพิ่มความต้องการ (Demand) การใช้ไฟฟ้า
– สนับสนุน EV Bus & EV Truck โดยจัดทำมาตรการส่งเสริมการผลิตและการใช้ เหมือนกับมาตรการ Subsidy (อุดหนุน) ยานยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบัน
– ส่งเสริมการใช้ Heat Pump ในโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายการใช้ เชื้อเพลิง และบำรุงรักษาได้ง่าย
4.ส่งเสริม และปลดล็อกพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ให้สะดวกและเป็นธรรม
♦ สำหรับภาคครัวเรือน : ผลักดันมาตรการทางการเงินและการคลัง เพื่อจะสนับสนุนคนติดตั้ง Solar Rooftop
♦ สำหรับภาคธุรกิจ : เนื่องจากธุรกิจ (โรงงาน/โรงแรม/โรงพยาบาล ฯลฯ) ที่ติดตั้ง Solar Rooftop กำลังผลิตเกิน 1 เมกะวัตต์ จะต้องขอใบอนุญาต รง.4 ใหม่ จึงควรผลักดันให้เกิดการปลดล็อก รง.4 เพื่อให้สามารถติดตั้ง Solar Rooftop ได้
♦ สนับสนุนการทำ Net Billing ในราคาที่สมเหตุผล
5.ปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ (NG) ลด Margin NG ของ SPP (ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก) / ลดค่าผ่านท่อ NG ให้เป็นธรรม และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหา NG/LNG (ก๊าซธรรมชาติเหลว)
♦ กำหนดราคาขายก๊าซผู้ผลิตไฟฟ้าทุกประเภท (IPP SPP IPS) ให้เป็นราคาเดียวกันกับ IPP
♦ ทบทวนค่าผ่านท่อ NG ให้เป็นธรรม อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ ท่อ NG ที่คุ้มค่าการลงทุนแล้ว
♦ นำเข้า LNG จากประเทศที่มีราคาถูกและเพิ่มการนำเข้า NG จากพม่าให้มากที่สุด
♦ LNG นำเข้าจากประเทศใหม่: สนับสนุนเรื่องธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศและการจัดหาผู้รับประกันภัยสินค้าทางทะเล
รองประธาน ส.อ.ท. ยังเสนอแนะถึง การแก้ไขปัญหาระยะกลางและยาว เพื่อค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 3 บาท/หน่วย ว่า
1.ให้เร่งเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา (OCA : Overlapping Claims Area) โดยยึดหลักความมั่นคงทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงเรื่องเขตแดน
♦ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจควรจะรวมเรื่องความมั่นคงทางพลังงานจากทรัพยากรใน OCA ด้วย
♦ Oil and Gas supply security (การรักษาความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานน้ำมันและก๊าซ) ไม่ถูกกระทบจากปัญหาความขัดแย้งของภูมิรัฐศาสตร์
♦ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ ที่จะช่วยชดเชย ต้นทุนพลังงานของไทยในภาวะน้ำมันแพง
♦ ต้องรีบนำขึ้นมาใช้ เพราะระยะยาว เมื่อมีการพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียนได้เต็มที่ มูลค่าของน้ำมันและก๊าซจะลดลง/หายไป
2.เร่งเปิดระบบตลาดเสรี ทั้งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ และลดการผูกขาดใด ๆ
♦ สำหรับการเปิดตลาดไฟฟ้าเสรี
▪ภาครัฐ ต้องมีระบบ Smart Grid & Smart Meter
▪เปิดให้มีการขายไฟฟ้าแบบ P2P และ Net Meterin
▪เปิดให้บุคคลที่สาม (TPA) ใช้โครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ในอัตรา Wheeling Charge (อัตราสำหรับการซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า) ที่เหมาะสมและเป็นธรรม
♦ TPA ท่อส่ง NG และ LNG Terminal (รอยืนยัน)
▪เงื่อนไขปัจจุบัน เหมาะกับผู้ใช้ NG รายใหญ่ (EGAT/IPP/SPP) ทำให้ผู้ใช้ NG รายย่อยขาดโอกาส
▪TPA ยังไม่ครอบคลุมถึงท่อจัดจำหน่าย ทำให้ผู้ใช้ NG รายย่อย ภาคอุตสาหกรรม ไม่สามารถซื้อNG จาก Shipper รายใหม่ ๆ ได้
จึงเสนอให้ ปรับแก้ TPA code ให้ครอบคลุมถึงระบบท่อย่อย และปรับแก้ข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างสถานี LNG ระบบท่อหลักและระบบท่อย่อยกับผู้นำเข้า ให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: