กรุงเทพฯ – รัฐบาลเดินหน้า เพิ่มโอกาสทางการตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับอาหารพื้นถิ่นและอาหารฟังก์ชัน สู่นวัตกรรมอาหารปลอดภัย ให้ผู้บริโภควางใจ พร้อมช่วยรับรองประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์
วันนี้ 17 มกราคม 2567 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาล โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ลงนามความร่วมมือ เรื่อง การบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) 4 แห่ง (มรภ.อุดรธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และ มรภ.สุรินทร์)
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เรื่องการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งตรงกับยุทธศาสตร์ในเรื่องการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ของประเทศ และสร้างระบบนิเวศการวิจัย
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานต่อยอดในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อเนื่องจากปี 2566 โดยในปี 2567 นี้ มีผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น ในจังหวัดเป้าหมาย คือ
ข่าวน่าสนใจ:
- ธารน้ำใจป่อเต็กตึ๊ง,เมตตาธรรม-สงเคราะห์ผู้ประสบภัย14จังหวัด ซับน้ำตาผู้ประสบอุทกภัย
- ชัยภูมิเตรียมจัดใหญ่รอบ60ปีพลังศรัทธาทำสถิติงานเจ้าพ่อพญาแลหนึ่งเดียวในโลก! สืบสานประเพณีโบราณถวายช้างคืนถิ่นกว่า6พันเชือก!
- ระทึกสืบชัยภูมิขับรถไล่ล่ายิงสกัดรถแก๊งขนยาบ้าหนียึด 2 แสนเม็ด!
- ททท.เปิดตัวหนังสือ “กว่าจะมาถึงเมืองพระพิศณุโลกย์”
มรภ.อุดรธานี ได้แก่ หมกยวก แหนมเนือง แหนมกบ ขนมปังญวณ
มรภ.บุรีรัมย์ ได้แก่ ยำกุ้งจ่อม ดักแด้ทรงเครื่อง แกงเผือกปลาย่าง ขนมตดหมา
มรภ.สุรินทร์ ได้แก่ หมาน้อย แกงกล้วย ปลาปิ้ง ข้าวต้มใบมะพร้าว
และ มรภ.ศรีสะเกษ ได้แก่ เบ๊าะกะต๊าด หรือส้มตำกระดาษ แกงอ่อมปู แกงเปรอะทุเรียนภูเขาไฟ ไก่ย่างไม้มะดัน
โดยทุกหน่วยงานจะทำงานร่วมกัน ทั้งเรื่องการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ การสร้างการยอมรับเรื่องประโยชน์ของการฉายรังสีผลิตภัณฑ์ และอำนวยความสะดวกให้มี ศูนย์ประสานงาน ในการส่งผลิตภัณฑ์เพื่อมาฉายรังสี รวมทั้งการใช้พื้นที่และทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาตัวสินค้า จนสามารถขยายไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะนำไปจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ
“การยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐาน ด้วย ‘เทคโนโลยีและนวัตกรรม’ เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยมุ่งหวังนำเทคโนโลยีการฉายรังสี มาร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารฟังก์ชัน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เพื่อช่วยรับรองถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์พร้อมสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพออกมาจำหน่าย ให้คนไทยได้มีสุขภาพที่ดีต่อไป” นายคารม กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ 5 / 5. จำนวนโหวต: 1