กรุงเทพฯ – ผู้ว่าฯ กทม.คุยครอบครัวนักเรียน ม.2 ที่ถูกแทงเสียชีวิต ก่อนดูจุดเกิดเหตุยืนยัน โรงเรียนมีมาตรการตรวจกระเป๋าเด็ก แต่ไม่ 100% เผย เด็กก่อเหตุไม่ใช่เด็กพิเศษ
วันที่ 29 มกราคม 2567 ความคืบหน้า กรณีเด็กนักเรียนแทงกัน ภายในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ในซอยพัฒนาการ 26 แขวงและเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
ทำให้เด็กนักเรียนชายชั้น ม.2/3 ที่ถูกแทงเข้าที่บริเวณลำคอและท้ายทอย เป็นแผลฉกรรจ์ เสียชีวิตในเวลาต่อมา
ข่าวน่าสนใจ:
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาล เพื่อพบพูดคุยกับครอบครัวของเด็กนักเรียนที่ถูกแทง ก่อนเดินทางไปยังโรงเรียนเพื่อติดตามเรื่องราวด้วยตัวเอง
นายชัชชาติ เปิดเผยว่า จากหลักฐานที่มี เด็กนักเรียนผู้ก่อเหตุไม่ได้เป็นเด็กพิเศษ ที่บอกว่าเป็นเด็กพิเศษอาจเป็นการสังเกต ซึ่งต้องระวัง เพราะมีเด็กพิเศษอยู่ในโรงเรียน กทม.หลายคน จะกลายเป็นว่าทุกคนกลัวเด็กพิเศษไปหมด เด็กพิเศษมีหลายรูปแบบอย่าเอาเรื่องนี้เป็นประเด็น รอการสืบสวนให้ชัดเจนก่อนว่าปัญหาเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องการบุลลี่ด้วย
ส่วนมาตรการความปลอดภัยนั้น คงต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องการเอาอย่างกัน เลียนแบบกัน
เรื่องแรก คือ เรื่องการตรวจอาวุธต้องเข้มข้นขึ้น ตรวจตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงเรียนก็ต้องระวังด้วย เช่น กรรไกร มีดทําอาหารที่อยู่ในโรงเรียน อาจต้อเก็บให้เป็นระเบียบมากขึ้น ที่ผ่านมา มีการตรวจอยู่ แต่อาจจะไม่ได้100% ทุกวัน เพราะเกี่ยวกับเรื่องเวลา และเรื่องสิทธิของนักเรียนด้วย ผู้ปกครองก็อาจจะมาช่วยกันดูด้วย
เรื่องที่ 2 คือ การหาข้อมูลให้ชัดเจน เช่น ถ้าเกิดเหตุปุ๊บหรือเด็กสังเกตเห็นพฤติกรรมต่าง ๆ จะทําอย่างไรให้เด็กกล้ามาบอก หรือครูแนะแนว ครูโฮมรูม สามารถสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติได้เพื่อป้องกันเหตุ ต้องสร้างบรรยากาศที่เด็กสามารถกล้ามาบอกรวมถึงผู้ปกครองเองก็อาจจะมีส่วนสังเกต จะได้ช่วยกันแก้ปัญหา ความร่วมมือจากทุกส่วนเป็นเรื่องที่สําคัญ
เรื่องที่ 3 อาจจะเป็นเรื่องการเสริมสร้างหลักสูตรให้เด็กด้านจิตใจ ไม่เน้นเรื่องวิชาการอย่างเดียว
รวมทั้งบริบทต่าง ๆ ของชุมชนพื้นที่ด้วย อย่างโรงเรียนนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องมีเยาวชนจากด้านนอก มีพฤติกรรมที่เกเรนิดหน่อย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อน แล้วผู้ปกครองให้ความเห็นที่น่าสนใจ ว่าไม่อยากให้เด็กแต่งชุดไปรเวท เพราะแยกเด็กไม่ออก
ผู้ว่า กทม. กล่าวต่อว่า กทม.ต้องถอดบทเรียนเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่งมี2 ส่วน คือ ที่มาของอาวุธ นำเข้ามาโรงเรียนได้อย่างไร และเรื่องพฤติกรรม จะแยกพฤติกรรมนี้ออกมาได้อย่างไร จะดูแลเด็กที่อาจจะมีพฤติกรรมที่ได้รับการบําบัดหรือทําให้ดีขึ้นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้จะนำนักจิตวิทยาเข้ามาดูแล เพื่อดูแลผลกระทบทางจิตใจเนื่องจากเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นต่อหน้า
ขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครในฐานะต้นสังกัดของโรงเรียน ได้ขึ้นข้อความแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้สูญเสีย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: