กรุงเทพฯ – บอร์ดค่าจ้าง เคาะสูตรอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ พร้อมนำร่องสำรวจขึ้นค่าแรงรอบ 2 ใน 10 จังหวัดพื้นที่ท่องเที่ยว-บริการ ส่งข้อมูลบอร์ดพิจารณา 26 มีนาคมนี้
ที่ประชุมคณะกรรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 ครั้งที่ 2/2567 มีมติเห็นชอบ สูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ และแนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ที่คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเสนอ เพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะขึ้นค่าจ้างเท่าไหร่
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผย่า ที่ประชุม เมื่อวันที่ 27 ก.พ.67 ได้เชิญผู้แทนคณะอนุกรรมการฯ มานำเสนอสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยนำเรื่องมิติของเวลามาใช้ในการปรับค่าจ้าง การคำนวณจากรายพื้นที่ หรือคิดตามประเภทกิจการ ทำให้ยืดหยุ่นต่อการปรับระหว่างปี ทำให้ค่าจ้างที่ปรับใหม่ เป็นค่าจ้างที่สะท้อนระยะเวลาการปรับค่าจ้างที่แท้จริงในปัจจุบัน และเป็นธรรมกับแรงงาน เช่น
การปรับอัตราค่าจ้างครั้งหลังสุด เมื่อเดือนตุลาคม 2565 และมีการปรับอัตราค่าจ้างครั้งใหม่ เดือนมกราคม 2567 คิดเป็นจำนวนเดือนที่ไม่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 15 เดือน
ข่าวน่าสนใจ:
- เงิน 9,000>เยียวยาน้ำท่วมใต้ บ่งบอกจิตสำนึกคนนอกรีตไม่เข้าเกณฑ์
- ตำรวจจับ 6 ราย ปิดล้อมตรวจค้นและระดมกวาดล้างเป้าหมายยาเสพติดในห้วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
- เปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ หัวรถไถไฟฟ้า ฝีมือครูสุโขทัย ถูก-ประหยัดกว่าถึง 10 เท่า
- กระฮึ่มรุมสาปแช่งทั่วเมืองสาวแสบยังไม่สำนึกขโมยของศาลเจ้าพ่อพญาแลผู้ก่อตั้งเมืองชัยภูมิ!
นอกจากนี้ มาตรา 87 ที่ใช้ในการพิจารณาประกอบเพิ่มเติมจากสูตรการคำนวณ ได้มีการปรับช่วงของการพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ ผลิตภาพแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ อัตราสมทบของแรงงาน (ค่า L) ยังคงเหมือนสูตรเดิม
ซึ่งนอกจากบอร์ดค่าจ้าง มีมติเห็นชอบสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่แล้ว ยังเห็นชอบแนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามพื้นที่ โดยให้สำรวจข้อมูลประเภทกิจการด้านท่องเที่ยวและบริการ ในพื้นที่ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา พังงา ประจวบคีรีขันธ์ และระยอง
เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ มาตรฐานการครองชีพ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของลูกจ้าง ข้อเท็จจริงทางสังคมและเศรษฐกิจตามพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดจนความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) เพื่อนำมาวิเคราะห์ และประมวลผลประกอบการพิจารณาของ คณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งจะทำให้สามารถทราบสูตร การคำนวณการขึ้นอัตราค่าจ้างเป็นรายพื้นที่ให้เหมาะสมต่อไป และจะพยายามทำให้เสร็จตามไทม์ไลน์ คือ ประกาศใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ใน เดือนเม.ย.67
ส่วนจะได้ถึง 400 บาทต่อวันหรือไม่ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า จะพยายามทำให้ดีที่สุด แต่ไม่ขอพูดไปก่อน จะต้องทำตามข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสำรวจ ซึ่งการประชุมคณะกรรรมการค่าจ้างไตรภาคี ครั้งต่อไป จะมีขึ้นในวันที่ 26 มี.ค.67
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: