กรุงเทพฯ – นักธุรกิจ ถาม ถูกต้อง-เป็นธรรมแล้วหรือ ที่ข้าราชการน้ำดี พยายามแก้ไขปัญหา แต่กลับถูกโยนเป็นแพะรับผิดชอบ แนะ หาคนผิดแท้จริงตั้งแต่อนุญาตให้ขนกากอันตราย
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ภายหลัง นายจุลพงษ์ ทวีศรี ประกาศลาออกจากตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หลังถูกแรงกดดันอย่างหนัก จากปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง ทั้งการลักลอบขนกากแคดเมียม และไฟไหม้โรงงานเก็บสารเคมีซ้ำซาก
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นถึงเรื่องดังกล่าวในหัวข้อ ‘ความถูกต้องและความเป็นธรรมของข้าราชการน้ำดี จากมรสุมในกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ตรงไหน?’ ระบุว่า
1)กรณีเพลิงไหม้โรงงาน ที่ทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ. )วัตถุอันตรายฯ และ พ.ร.บ.โรงงานฯ ที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง และ ที่ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ซ้ำซาก
ข่าวน่าสนใจ:
1.1 มันคือ Accident (อุบัติเหตุ) หรือ มีใครจงใจเผาทำลายหลักฐาน วัตถุอันตราย ที่เข้าสู่ระบบ และไม่ได้กำจัด ตามกฎหมาย ?
1.2 อำนาจหน้าที่ในการจัดการ กำกับดูแลโรงงาน ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตรายฯ ได้มอบอำนาจไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดนั้น ๆ แล้ว ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับอธิบดีกรมโรงงานฯ
ดังนั้น การที่ท่านอธิบดีกรมโรงงานฯ ไปช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ หน้างาน ในแต่ละกรณี จนเสมือนต้องกลายเป็นคนต้องมารับผิดชอบทั้งหมด! มันถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่กับข้าราชการดี ๆ เช่นนี้ ?
1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะระดับนโยบาย ควรจะลากไปถึงต้นตอว่ายุคไหน ? สมัยไหน ?
ปลัดฯและอธิบดีท่านไหน ที่มีการ ปล่อยปละละเลย (หรือเห็นด้วยฯ) ให้มีการอนุญาตให้ขนกากที่เป็นวัตถุอันตรายในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกองกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานฯ ได้
ทั้ง ๆ ที่ควรจะโดนจัดการไปตั้งแต่ปีที่เจ้าหน้าที่ได้คีย์อนุญาตให้มีการขนกากอันตรายไปแล้ว
2) กรณีกากแคดเมียม @จ.ตาก
ก็สะท้อนปัญหาแบบมีเงื่อนงำ ในการจัดการกากวัตถุอันตราย ที่ควรจะให้เป็นไปตามEIA ที่กำหนดไว้ แต่ก็มีการฝ่าฝืนทำผิดกฎหมาย
ล่าสุด! การที่ข้าราชการประจำหลายหน่วยงานได้ลงพื้นที่ และพยายามแก้ไขปัญหาการขนกากแคดเมี่ยม กลับมาที่ต้นทาง ให้ดีที่สุด ก็สมควรที่จะได้รับกำลังใจและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะจากผู้บังคับบัญชามากกว่าการจ้องดิสเครดิต หรือทำลายล้างกัน แม้จะมีเหตุไม่คาดคิดใด ๆ
บทสรุป ;
หน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคการเมือง ทั้งที่ดูแลด้านนโยบาย และภาคนิติบัญญัติ ควรจะแสดงความเป็นมืออาชีพ ในการแก้ไขปัญหาที่ได้รับการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้วจากส่วนกลาง
1) การมุ่งแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุตั้งแต่ต้นตอ ที่ได้ก่อตัวเกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีต เอาคนผิดมาลงโทษ รวมทั้งผู้ประกอบการสีดำที่ควรโดนลงโทษสูงสุด
ไม่ใช่มุ่งแต่กดดัน ลงโทษคนที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาและรับผิดชอบแทนในปัจจุบันตลอดจนเร่งแก้ปัญหาปัจจุบัน ที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพของประชาชน ให้ดีที่สุด
2) อย่าให้การหาผลประโยชน์ในการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการประจำ ในตำแหน่งสำคัญ ๆ ที่อาจจะมีการวิ่งเต้น หาผลประโยชน์
เราควรยึดหลักธรรมาภิบาล ด้วยการเลือก คนเก่ง และคนดี ในการดำรงตำแหน่งที่สำคัญ
ท้ายนี้ ไม่ว่า การลาออกของท่านอธิบดีกรมโรงงานฯ จะมีผลสรุปอย่างไร ? ผมก็ได้แต่หวังว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ จะทำให้สังคมที่เกี่ยวข้อง จะได้ตื่นตัว ด้วยการให้กำลังใจคนทำดี และร่วมจับตามองใกล้ชิด ต่อคนที่เป็นต้นเหตุของ มะเร็งร้าย และวงจรอุบาทว์ของประเทศครับ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้ :
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: