กรุงเทพฯ – ทนาย เปิดผลชันสูตร 3 สาเหตุหลัก ‘บุ้ง เนติพร’ เสียชีวิต ก่อนถึงมือแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ พร้อมตั้งข้อสงสัย ขอประวัติการรักษา จาก โรงพยาบาลราชทัณฑ์ แต่ยังไม่ได้
วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ณ วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร สถานที่ตั้งบำเพ็ญกุศลศพ นางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือ ‘บุ้ง ทะลุวัง’ นักกิจกรรมทางการเมือง
นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยผลการชันสูตรศพ โดยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ว่า ผลการตรวจเนื้อเยื่อ เลือด และสารคัดหลั่ง โดยห้องปฏิบัติการ (แลป) ยังไม่ออก แต่ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ออกใบแจ้งสาเหตุการตายเบื้องต้น 3 ข้อ ได้แก่
ข่าวน่าสนใจ:
- ททท. จัดงานใหญ่ "วิจิตรเจ้าพระยา 2024" สวยงามตระการตา กระตุ้นการท่องเที่ยวส่งท้ายปีนี้
- ตรัง ราคายางดิ่งกว่า 20บาทต่อกิโลกรัม กยท.หนุนสถาบันทำโครงการชะลอยางสู้นายทุน
- ทีดีอาร์ไอ จัดเวิร์คชอป “ CONTENT CREATOR WORKSHOP: SYNERGY FOR CLEAN ENERGY”
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
1.ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉียบพลัน
2.ภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ
3.ภาวะหัวใจโต
อย่างไรก็ตาม ทาง รพ.ธรรมศาสตร์ฯ หมายเหตุไว้ว่า ‘ผลที่แน่ชัด ต้องรอผลจากห้องแลปก่อน’ ส่วนในกระเพาะอาหารยืนยันว่าไม่พบอาหาร
นอกจากนี้ เอกสารประวัติการรักษาจาก รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ยังระบุอีกว่า ตอนที่รับตัวบุ้งมา ช่วงเช้าวันที่ 14 พ.ค.นั้น บุ้งไม่มีสัญญาณชีพแล้ว คือไม่มีสิ่งที่บ่งบอกการมีชีวิตอยู่ไม่มีชีพจร ไม่หายใจ ซึ่งภาษาทั่วไปก็คือ ‘ตายมาแล้ว’ ก่อนมาถึงมือแพทย์ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ดังนั้น การช่วยเหลือหลังจากนั้น เป็นการช่วยเหลือเพื่อหวังปาฏิหาริย์เท่านั้น
จึงนำข้อมูลไปขอความเห็นจากแพทย์ภายนอก สรุปมาเป็นหลักฐานว่า การรักษาพยาบาลระหว่างทางที่ส่งตัว ’เป็นการรักษาที่ผิดพลาด’ และมีหลักฐานด้วยว่า ราชทัณฑ์ทราบอยู่แล้วว่า บุ้งเสียชีวิตตั้งแต่ที่ทัณฑสถาน รพ.ราชทัณฑ์
นายกฤษฎางค์ นุตจรัส เปิดเผยอีกว่า ญาติและทนายความ ได้ขอประวัติการรักษาบุ้งจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ช่วง 5 วันสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง มีการรักษา และช่วยเหลืออย่างไร เพราะจะสะท้อนถึงสาเหตุการเสียชีวิตได้
แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับเอกสาร ทั้งที่นายกรัฐมนตรีรับปากกับญาติไว้ว่า จะให้ความร่วมมือเพื่อความโปร่งใส เอกสารที่ขอไป เป็นสิ่งที่ต้องมีบันทึกไว้อยู่แล้ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การรักษาพยาบาลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มีสิ่งใดที่แทรกแซงการทำงานของร่างกาย หรือมีการประมาทเลินเล่อเกิดขึ้นหรือไม่ และกังวลว่า เอกสารที่จะได้หลังจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรหรือไม่
ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวด้วยว่า จากการเข้าไปเยี่ยมบุ้ง ก่อนหน้านี้ แพทย์ก็ไม่เคยแจ้งว่า บุ้งมีความเสี่ยงภาวะต่าง ๆ มาก่อน มีแต่บุ้งที่บอกเองว่า มีอาการขาบวมและปวดขา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: