กรุงเทพฯ – ทนายความ แถลงโต้กรมราชทัณฑ์ ครอบครัว ‘บุ้ง เนติพร’ ตั้งข้อสังเกตการรักษาและกู้ชีพ งัดเอกสารการแพทย์ยืนยัน สอดท่อหายใจผิดจริง เตรียมบุกโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ขอเอกสารการรักษาอีกรอบ
วันที่ 19 พฤษภาคม 2567 ที่วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหาน นายกฤษฎางค์ นุตจรัส หรือ ทนายด่าง ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แถลงข่าวตอบโต้คำแถลงของกรมราชทัณฑ์ ที่ยืนยันว่าการรักษา น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง เนติพร ตามมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งเมื่ออ่านแถลงของกรมราชทัณฑ์จบ ก็ได้ฉีกเอกสารทิ้งต่อหน้าสื่อมวลชน
จากนั้น นายกฤษฎางค์ อ่านคำชี้แจงตอบโต้ โดยยกเอกสารการชันสูตร ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และข้อสังเกตในการรักษาพยาบาลและการกู้ชีพ จากครอบครัว ใจความว่า
ตั้งแต่เหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ซึ่งข้อมูลจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แจ้งว่า น.ส.เนติพร มีอาการหมดสติ ไม่มีสัญญาณชีพแล้ว ได้ทำ CPR เพื่อฟื้นคืนชีพ ตั้งแต่เวลา 06.23 น. ก่อนจะส่งตัวผู้ป่วยมารักษาตัวต่อที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ในเวลา 09.30 น. ข้อมูลการรักษาก่อนที่จะมีการกู้ชีพ รวมถึงก่อนมีการส่งตัวมาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ถึงบัดนี้ยังไม่มีการเปิดเผย
ทั้งนี้ สาเหตุการเสียชีวิต ในผลชันสูตรพลิกศพลงความเห็นเพียงว่า 1.ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉียบพลัน 2.ภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ 3. ภาวะหัวใจโต
ข่าวน่าสนใจ:
- บุรีรัมย์ จัดนิทรรศการศิลปะ รักษ์โลก รักเรา จุดพลังเยาวชน ประกวดวาดภาพชิงรางวัล 60,000 บาท (มีคลิป)
- รมว.ท่องเที่ยว ชวนลอยกระทง "สีสันแห่งสายน้ำฯ" สร้างสรรค์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
- "รัฐสภา" ร่วมสนับสนุนการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “พระจักราวตาร”
ส่วนผลการตรวจหาสารพิษในร่างกาย ยังอยู่ระหว่างการรอผลจากห้องวินิจฉัย โดยจากข้อมูลการรักษาเวชระเบียนของคนไข้ ที่ได้จากทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ แรกรับในเวลา 09.30 น. พบว่า น.ส.นิติพร ไม่มีสัญญาณชีพ ไม่มีคลื่นไฟฟ้าจากหัวใจ ไม่พบเสียงลมในปอด แต่พบเสียงลมบริเวณลิ้นปี่ เมื่อตรวจดูจากอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลาย พบว่า ‘ท่อช่วยหายใจอยู่ในหลอดอาหาร’ ค่าลมหายใจไม่มี จากข้อมูลทั้งหมดระบุว่า มีการใส่ท่อช่วยหายใจลงไปในหลอดอาหาร แพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ จึงใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ จึงได้ยินเสียงลมเข้าปอดทั้ง 2 ข้างและวัดค่าได้
“ผมได้ขออนุญาตครอบครัว ว่านี่เป็นความลับของคนตาย ได้รับอนุญาต จึงกล้านำมารายงาน นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ โดยที่ไม่ได้กล่าวหาใคร แต่เหตุที่ต้องมาพูดวันนี้ เพราะมีการโทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เพื่อขอให้อธิบาย การสอบถามหรือการข่มขู่นั้น มีเส้นแบ่งเพียงนิดเดียว เราต้องรักษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติไว้” นายกฤษฎางค์ ระบุ
ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แถลงอีกว่า จากรายงานยังระบุด้วยว่า ตั้งแต่เวลาที่ตรวจไม่พบสัญญาณชีพ 06.23 น. จนถึงห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เวลา 09.30 น. เป็นเวลา 3 ชั่วโมงในการกู้ชีพ สัญญาณแรกรับ ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ไม่พบชีพจร ยังคงต้องค้นหาสาเหตุการตาย ผ่านการทบทวนของเวชระเบียนของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งยังไม่ได้รับในขณะนี้
“แม้การใส่ท่อหายใจผิดพลาดลงไปในหลอดอาหารเป็นสิ่งที่พบได้ แต่ตามมาตรฐานวิชาชีพ การตรวจสอบเพื่อยืนยันตำแหน่งท่อช่วยหายใจนั้น เป็นพื้นฐานที่ต้องทำ หากไม่แน่ใจต้องมีวิธีการในการยืนยันตำแหน่งว่า ตำแหน่งอยู่ในที่ถูกต้อง แม้การใส่ท่อฯ ผิดตำแหน่ง และตรวจสอบไม่ได้ อาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุในการเสียชีวิต แต่เป็นหนึ่งในความผิดพลาดอย่างร้ายแรง ที่ทำให้โอกาสในการกู้ชีพของ น.ส.เนติพร น้อยลงจนแทบไม่มีโอกาสรอดชีวิต”
นอกจากนี้ ยังได้ทราบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมว่า ในรถพยาบาลที่นำส่งนั้น มีแพทย์และผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ อยู่ด้วย
ทนายความและครอบครัว ต้องการตั้งคำถามทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ น.ส.เนติพร ตั้งแต่การดูแลก่อนเสียชีวิต ขณะการกู้ชีพ การรักษาตัวเพื่อส่งต่อ ขอให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และมาตรฐานของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์น่าสลดกับคนไข้รายอื่น ยืนยันว่าสิ่งที่ร้องขอ เป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแบบนี้เกิดขึ้นอีก ไม่ใช่เรื่องการเมืองหรือหาความผิดว่าเป็นของใคร
ถ้าแก้ไขไม่ได้ วันหนึ่งญาติพี่น้องเราที่อาจจำเป็นต้องไปใช้บริการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ อาจต้องเจอปัญหานี้ ศาลก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะทุกครั้งที่ขอประกันตัวน้อง ๆ ที่ยังอยู่ในเรือนจำ ก็ได้รับคำตอบว่า มีการรักษาพยาบาลที่ดีแล้ว
ทั้งนี้ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น. เพื่อน ๆ ของ น.ส.เนติพร และทนายความที่ได้รับอำนาจ จะเดินทางไปรับเอกสารจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ขอให้รอดูว่าจะได้รับหรือไม่ หลังจากรับปากกับทนายความไว้เ ป็นครั้งที่ 7 แล้ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: