กรุงเทพฯ – ผู้ว่าฯ กทม. เผย สตง.ตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายมา 2 เดือนแล้ว ประกาศ ผิดเป็นผิด ไม่ยอมรับทุจริตทุกกรณี เดินหน้าตรวจสอบทุกโครงการ ไม่มีละเว้น
วันที่ 6 มิถุนายน 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำแถลงข่าวกระบวนการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ในศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ และศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ หลังจากมีการตั้งข้อสังเกต ถึงความผิดปกติในการจัดซื้อที่ราคาสูงกว่าราคาตลาด
นายชัชชาติ ยอมรับว่า ปัญหาการคอร์รัปชันยังมีอยู่ เมื่อทราบเรื่องได้สั่งการให้ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตกรุงเทพมหานคร (ศปท.กทม.) ตรวจสอบทันที ณ ขณะนี้กำลังดำเนินการตรวจสอบ ว่ามีจุดไหนที่เกิดความผิดพลาดอย่างไร ขณะเดียวกัน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบตั้งแต่ 2 เดือนที่แล้ว
“เราเอาจริงเอาจังและไม่ยอมรับต่อการกระทำความผิด จะต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อขยายผลต่อ กรุงเทพมหานครและรัฐบาล จะต้องร่วมมือกันในการปรับปรุงตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการจัดซื้อจัดจ้าง และปรับปรุง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างในอนาคตต่อไป” นายชัชชาติ กล่าว
ผู้ว่าฯ กทม.ยังอธิบายว่า กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแบ่งเป็นขั้นตอน 4+1 คือ
1.ร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
2.เข้าสภา กทม.เพื่อเป็นข้อบัญญัติ
3.เมื่อผ่านสภาฯ เพื่อตรวจสอบว่างบประมาณมีความเหมาะสมหรือไม่ตามกฎระเบียบต่าง ๆ จนได้ออกมาเป็นพระราชบัญญัติ
4.ขั้นตอนการตรวจรับงาน
ข่าวน่าสนใจ:
- หนุ่มขับคอกขนส่งจอดหลับยาว 3 วัน พบเป็นศพคามอเตอร์เวย์
- รมว.อุตสาหกรรม ลงพื้นที่วินโพเสส เผย 60 วัน ขนกากสารอะลูมิเนียมดอสออก 7,000 ตันแล้วเสร็จ
- "กกต.นครพนมติวเข้ม! เครือข่าย ศส.ปชต. เสริมศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมเลือกตั้ง อบจ. อย่างมีคุณภาพ"
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรชวนเด็กและเยาวชนโดยรอบสนามบิน ร่วมกิจกรรมวันเด็ก 2568
และกระบวนการสุดท้าย ที่บวก 1 คือ กระบวนการจากภาคประชาชน ผ่านแอปพลิเคชัน
ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ จะต้องร่วมกันทำอย่างจริงจังและเข้มข้น ในแต่ละขั้นตอนต้องเพิ่มความละเอียดรอบคอบในทุก ๆ ขั้นตอน และต้องทำทั้ง 4 ขั้นตอน
รองปลัดฯ กทม.ยืนยันไม่ละเว้น ชวนเอกชนร่วมประมูล เพื่อให้การใช้งบฯ คุ้มค่าที่สุด
นายสมบูรณ์ หอมนาน รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเสริมขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างว่า เบื้องต้นที่ได้ตรวจสอบโครงการที่ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-bidding เป็นการซื้อโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน สำหรับการกำหนดราคากลาง กทม.ไม่ได้เป็นผู้ตั้งราคาขึ้นมาเอง แต่เป็นคณะกรรมการสืบราคาจากท้องตลาดไม่น้อยกว่า 3 ราย ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ๆ มีความมั่นคง มีมาตรฐานที่มั่นใจได้ว่า จะไม่ทิ้งงานและไม่ทิ้งการให้บริการหลังการขาย และของต้องมีคุณภาพ
ในการนี้ เป็นบริษัทจำหน่ายเครื่องออกกำลังกาย ภายหลังกระบวนการสืบราคา จะใช้ราคากลางตามระเบียบกฎหมายกำหนด
“ขอยืนยันว่า หากตรวจสอบและพบการกระทำผิด หรือการทุจริตจริง กรุงเทพมหานครจะดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ละเว้น ขอเชิญชวนภาคเอกชนเข้าร่วมการประมูล การจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์มากที่สุด” รองปลัดฯ สมบูรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: