กรุงเทพฯ – นายวิษณุ เครืองาม แถลงสรุป 6 ข้อ ผลสอบ 2 บิ๊กตำรวจ เผย ไม่ชี้ใครถูกใครผิด แต่ให้ ‘พล.ต.อ.ต่อศักดิ์’ กลับไปดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามเดิม ไม่ใช่ฟอกขาว แต่ไม่มีข้อที่จะต้องตรวจสอบอีก ส่วน ‘พล.ต.อ.สุรเชษฐ์’ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา และรอทูลเกล้าฯ ให้ออกจากราชการ ยังมีลุ้นขึ้น ผบ.ตร. แต่ต้องเคลียร์คดีก่อน
วันที่ 20 มิถุนายน 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลสอบของ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีปรากฎเป็นข่าวต่อสาธารณะเกี่ยวกับความชัดแย้งในเรื่องคดีของบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรณีความขัดแย้งระหว่าง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่มี นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตั้งขึ้นเมื่อ 20
โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้ตั้งอนุคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุดและสอบพยานหลายคนกว่า 50 คน รวมถึงคู่กรณี ความวุ่นวายมาจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องบงการตำรวจ และมีต้นเหตุมาจาก 3 เรื่องใหญ่ คือ ยาเสพติด พนันออนไลน์ และหนี้นอกระบบ ที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย เพราะเป็นต้นทางที่ต้องการเงินไปซื้อตำแหน่ง
นายวิษณุ สรุปผลการตรวจสอบ ดังนี้
1.มีการขัดแย้งและไม่มีความเรียบร้อยเกิดขึ้นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติจริง มีความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ระดับกลาง ระดับเล็ก ในทุกระดับ ทุกฝ่าย ไม่รู้ว่าเกิดจากเหตุเดียวกัน หรือคนละเหตุ และประจวบด้วยกันก็ตาม จนเกิดเป็นคดีความต่าง ๆ ทั้งร้องเรียน และฟ้องร้อง
2.เรื่องราวที่เกิดขึ้น เกี่ยวพันกับบุคคล 2 ฝ่าย คือ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งแต่ละคนมีทีมงานใต้บังคับบัญชา ทำให้ทีมงานเกิดความขัดแย้งไปด้วย คดีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ เช่น คดี 140 ล้าน (เป้รักผู้การเท่าไหร่) คดีกำนันนก คดีมินนี่พนันออนไลน์ พนันออนไลน์ Bnk และแยกย่อยไปอีกประมาณ 10 คดี กระจายอยู่ตามสถานีตำรวจต่าง ๆ และศาล ความขัดแย้งบางเรื่องเพิ่งเกิดขึ้น แต่ บางเรื่องเกิดมากว่า 10 ปีมาแล้ว
ข่าวน่าสนใจ:
- รับสมัครนายกและสมาชิกสภา อบจ.พังงา วันแรกคึกคัก คนหน้าเดิมกลับมาร่วมชิงชัยนายก3คน สมาชิกสภา72คน
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- ศึกชิงนายก อบจ.สมุทรปราการ คึกคัก
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
3.ต้องส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ บางเรื่องส่งให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ศาล ตามขั้นตอนปกติ
4.บางเรื่องเกี่ยวพันกับกระบวนการนอกกระบวนการยุติธรรม เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยมีเจ้าของคดีรับดำเนินการแล้วทั้งสิ้น ไม่มีตกค้างอยู่ที่ สตช.
5.หลังจากเมื่อวันที่ 20 มี.ค. มีคำสั่งให้ทั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ มาช่วยราชการ ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมา 18 เม.ย.ได้ส่งกลับ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ไป สตช.เพื่อปฏิบัติในหน้าที่เดิม แต่วันเดียวกันนั้น มีการตั้งคณะกรรมการอีกชุด เพื่อสอนสวนทางวินัย และตามมาด้วยคำสั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน
ส่วนกรณี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ยังไม่ได้ส่งกลับไปก่อนหน้านี้ จึงสมควรส่ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กลับไปปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่เดิม เนื่องจากสอบสวนเสร็จแล้ว ไม่มีข้อที่จะต้องตรวจสอบอีก
สำหรับคดีอื่น ๆ ให้ว่าไปตามกระบวนการของแต่ละหน่วยงาน ส่วนจะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอีกหรือไม่ เป็นหน้าที่ของ สตช.
6.คณะกรรมการตรวจสอบไม่ได้ชี้ว่าใครถูกใครผิด เพราะคนที่ชี้คือคนอื่น แต่จากรายงานพบเห็นว่า มีความยุ่งยากสับสนระหว่างอำนาจสอบสอนระหว่างหน่วยงานหลายหน่วย
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการฯ ยังเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรี กรณีการสอบพบความสับสนในการตรวจสอบข้อกฎหมาย ไม่รู้อยู่ในอำนาจใคร เพราะคาบเกี่ยวระหว่าง ตำรวจ ดีเอสไอ ปปท. และ ป.ป.ช. จึงเสนอให้ กระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีคณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม ไปตรวจสอบเรื่องขอบเขตอำนาจ
สำหรับสถานภาพของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ นั้น อยู่ระหว่างการนำความกราบบังคมทูลฯ ให้ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต้องตรวจสอบว่า ทำถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ นำเรื่องไปฟ้อง คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมตำรวจ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ทั้งสองฝ่ายปรองดองในทางราชการ ส่วนตัวใครจะทำผิดให้ว่าไปตามกฎหมาย แต่ให้ทำงานเพื่อให้บังเกิดประโยชน์กับประชาชน ไม่ให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาและกระทบภาพลักษณ์ตำรวจ เชื่อว่าสถานการณ์ต่อจากนี้จะเบาบางลง เพราะตลอดเวลา 4 เดือน ทั้งสองฝ่ายได้พบปะพูดจา และกรรมการได้เข้าไปไกล่เกลี่ยในบางเรื่อง แต่ไม่ใช่การซูเอี๋ย หรือเป็นมวยล้มต้มคนดู เพราะมีคดีปักหลังกันทุกคน
หลังจากนี้ ให้ทำงานร่วมกัน ไม่เช่นนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะไม่มีหัว มีแค่ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพชร รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำงานไม่ไหว จำเป็นต้องมีคนเข้าไปช่วย ตามนโยบายที่ต้องการแก้ไข คือ ยาเสพติด หวย พนันออนไลน์ และหนี้นอกระบบ
เมื่อถามว่า การให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กลับ สตช.ถือเป็นการล้างมลทินให้หรือไม่ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่ใช่ล้างมลทินและไม่ใช่การฟอกขาว เพราะคดีเดินหน้าตามปกติ คดีที่อยู่ใน ป.ป.ช.ยังต้องดำเนินการตรวจสอบต่อไป ซึ่งการส่ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กลับ สตช.คงจะทำให้เกิดการปรองดองในส่วนราชการ ทำให้เรียบแต่ไม่ร้อย ปัญหาจะอ่อนลง แต่คงไม่หมดไป เนื่องจากมีความขัดมาตั้งแต่ปี 2557
อย่างไรก็ตาม ในส่วน พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยังมีโอกาสที่จะได้รับพิจารณาในตำแหน่ง ผบ.ตร. แต่ต้องรอกระบวนการต่าง ๆ ให้ถูกต้องก่อน โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างให้ออกจากราชการไว้ก่อน แต่ขั้นตอนยังไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้อง เพราะต้องกราบบังคมทูลฯ ก่อน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: