กรุงเทพฯ – เลขาธิการ กกต. ยกคำสั่งศาลฎีกา สมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพถือเป็นสิทธิ แต่ทำอาชีพนั้นจริงหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ต้องไปตรวจสอบ ชี้ หากตรวจพบข้อมูลสมัครเป็นเท็จ หรือรับจ้างสมัคร เป็นความผิด
วันที่ 29 มิถุนายน 2567 นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) กรณีสิทธิสมัครรับเลือก สมัครเป็นเท็จรับจ้างสมัคร และคดีที่น่าสนใจในการเลือกลงกลุ่ม
โดยอ้างคำสั่งศาลฎีกา คดีหมายเลขดำที่ ลต สว 185/2567 คดีหมายเลขแดงที่ ลต สว 169/2567 ว่า
“การที่ผู้คัดค้าน (ผอ.เลือกระดับระดับอำเภอ) รับสมัครผู้ซึ่งประกอบอาชีพทำนาเกลือ เป็นไปตามที่ผู้สมัครดังกล่าวประสงค์เข้ารับเลือกในกลุ่มที่ 5 ซึ่งผู้คัดค้านได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครแยกเป็นรายกลุ่มตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 อันเป็นการดำเนินการตามความประสงค์ของผู้สมัคร ซึ่งเป็นการปฏิบัติอำนาจหน้าที่ของผู้คัดค้าน จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้อง (ผู้สมัครที่ไปร้องที่ศาลฎีกา) จะยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง”
ข่าวน่าสนใจ:
นายแสวง ยังอธิบายเพิ่มเติ่มว่า สิทธิการรับสมัคร เป็นคนละส่วนกับเอกสารสารรับสมัครเป็นเท็จ เช่น แจ้งว่าทำนาเกลือ แต่ในความเป็นจริงตรวจสอบแล้วไม่ได้ทำนาเกลือ ลักษณะแบบนี้จะเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เป็นต้น
ดังนั้น กรณีเอกสารรับสมัครด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ กกต. ต้องตรวจสอบผู้สมัครทุกคน หากพบว่ามีข้อความอันเป็นเท็จ ก็อาจเป็นความผิดตามมาตรา 74 รู้ว่าไม่มีสิทธิแต่ก็มาสมัคร และ หากเป็นกรณีการรับจ้างสมัคร แม้เอกสารการถูกต้องสมบูรณ์ แต่ก็เป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: