กรุงเทพฯ – ดีอี รับลูกนายกรัฐมนตรี ตั้งทีมปราบเฟกนิวส์ เร่งสกัดข่าวปลอม ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’
วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ประชุมหารือมาตรการเร่งรัดปราบปรามข่าวปลอม ตามข้อสั่งการของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ให้เร่งรัดการปราบปรามเฟกนิวส์ หรือ ข่าวปลอม ซึ่งปัจจุบันมีการเผยแพร่ข่าวปลอม บิดเบือน ข้อมูลอันเป็นเท็จ บนสื่อโซเซียลมีเดีย และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดต่อบุคคล และโครงการสำคัญของรัฐบาล สร้างความเสียหายโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย
ที่ประชุม กำหนดมาตรการเร่งรัดการปราบปรามข่าวปลอม ดังนี้
1.จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเนื้อหาข่าวสารและข้อมูลที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย พร้อมดำเนินการโต้ตอบ/ชี้แจงข้อเท็จจริงในทันทีตามความเหมาะสม เมื่อได้มีการตรวจสอบพบว่าเป็นข่าวปลอม/ข้อมูลผิด /ข้อเท็จจริง โดยให้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti Fake New Center หรือ AFNC) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและประเมินสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้สามารถร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้
2.เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข้อเท็จจริงให้มีความครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยให้ประสานขอความร่วมมือจากสื่อของหน่วยงานรัฐ และสื่อเอกชน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ
ข่าวน่าสนใจ:
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
- ขอนแก่นจัดงานแถลงข่าว เทศกาลสุดออนซอนแห่งปี! “PlaraMorlum” Isan to the World ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
3.ประสานงานความร่วมมือกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่พบว่ามีการเผยแพร่ข่าวปลอม เพื่อทำการตรวจสอบ และปิดกั้น
“ข่าวปลอม ถือเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สร้างผลกระทบและความเดือดร้อนต่อประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเข้าใจผิด บิดเบือนจากข้อมูลจริง โดยเฉพาะในขณะนี้ที่รัฐบาลกำลังดำเนินโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งมิจฉาชีพได้อาศัยความสนใจของประชาชนต่อโครงการดังกล่าวเป็นช่องทางในการสร้างข่าวปลอม เพื่อก่ออาชญากรรมออนไลน์ ดังนั้น กระทรวง ดีอี จึงร่วมกับ ตร. ตรวจสอบข่าวปลอมที่เข้าข่ายการกระทำความผิดอย่างเคร่งครัด โดยจัดตั้งเป็นคณะทำงานตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน เพื่อดำเนินการระงับยับยั้งข่าวปลอม และดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จอย่างจริงจัง” นายคารม ย้ำ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: