กรุงเทพฯ – ตำรวจไทย เสี่ยง ‘ฆ่าตัวตาย’ เพราะเครียด ถูกกดดัน และการเป็นฮีโร่ที่ถือปืนอยู่ในมือ จิตแพทย์ เผย คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 4,000 คน
นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า คนไทยพยายามฆ่าตัวตายปีละ 53,000 คน หรือ 9 นาที 55 วินาที จะมีคนพยายามฆ่าตัวตาย 1 คน โดยฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 4,000 คน หรือ 6.3 ต่อประชากร 1 แสนคน (สถิติปี 2561)
ทั้งนี้ ผู้หญิงพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ชาย 4 เท่า แต่ผู้ชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิง 4 เท่า เนื่องจากใช้วิธีการที่รุนแรงและเด็ดขาดกว่า ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งฆ่าตัวตายมากขึ้น โดยกลุ่มอายุที่ฆ่าตัวตายสูงสุด คือ 70-74 ปี อยู่ที่ 9.5% อันดับสอง อายุ 35-39 ปี อยู่ที่ 9.13% อันดับสาม อายุ 30-34 ปี 8.99% ส่วนผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี มีน้อย
ด้าน ร.ต.อ.กล้า สมบัติพิบูรณ์ รองสารวัตรสอบสวน สน.บางยี่ขัน เปิดเผยช้อมูลว่า ตำรวจไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าประชากรไทยทั่วไป โดยอยู่ 18 ราย ต่อตำรวจ 1 แสนคน ซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ตำรวจประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศเจริญแล้ว สถิติสูงกว่าประเทศไทย ข้อมูลจากกองวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า ระหว่างปี 2551-2559 มีตำรวจฆ่าตัวตาย 299 คน หรือปีละ 33 คน ปัจจัยสาเหตุ คือ ความสามารถในการเข้าถึงอาวุธปืน ร.พ.ตำรวจ มีข้อมูลว่า ตำรวจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า มากถึง 4,000 คน แสดงว่าตำรวจกำลังเผชิญปัญหาสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ เสียงฆ่าตัวตาย จึงเป็นอีกกลุ่มที่ควรได้รับคำแนะนำและแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
ร.ต.อ.กล้า สมบัติพิบูรณ์ วิเคราะห์สาเหตุ ที่ตำรวจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายว่า
1.ตำรวจเป็นด่านแรก ของกระบวนการยุติธรรม ได้รับฟังแต่ปัญหา ความทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชน และด้านมืดของสังคม ตำรวจหลายรายไม่รู้ว่าตัวเองตกไปอยู่ความเครียด อารมณ์หดหู่ ซึมเศร้า
ข่าวน่าสนใจ:
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- พิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- “คูโบต้า พลังใจสู้ภัยหนาว” ร่วมกับ“กองทัพบก” จัดคาราวานเสื้อกันหนาว เดินหน้ามอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
2.ถูกกดดันด้านเวลาในการทำงาน จนแย่ลง จากความเครียด จนกลายเป็นความกลัว หวาดผว
3.วัฒนธรรมที่ตำรวจถูกวางตัว’เป็นฮีโร่’ เป็นที่พึ่งและช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งกลายเป็นกำแพงใหญ่ ที่ทำให้ไม่กล้าออกมายอรับว่าอ่อนแอ ไม่ไหว ต้องการความช่วยเหลือ และรักษา
4.ความสามารถในการเข้าถึงอาวุธปืน ตำรวจที่พยายามฆ่าตัวตาย จึงสำเร็จเกือบ 100%
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ร.พ.ตำรวจ ได้เปิดศูนย์ดูแลภาวะซึมเศร้าแก่ตำรวจโดยเฉพาะในทุกช่องทาง แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การบำบัดรักษา แต่เกิดจากผู้ป่วยเองที่ไม่กล้า ไม่ยอมรับ ทำให้ไม่เข้าถึงการรักษาได้ จากวัฒนธรรมองค์กร ตำรวจก็เป็นมนุษย์ มีจิตใจ อะไรที่เครียดมากไป ไม่ไหว ก็ต้องระบาย ได้รับการก้ไขที่ถูกต้อง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: