เน้น สอดส่อง เสนอแนะ แจ้งผวจ.สู่การแก้ไขปรับปรุงให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยสายตรงเรื่องเด่น ท้องถิ่นเพิกเฉยละเลยส่งสำนักปลัดเสนอนายกรัฐมนตรียิงตรงเวลา10.00น.วันที่22 มิถุนายน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี บรรยายเรื่อง “คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดกับการปฏิรูปประเทศ” ต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด และเครือข่ายฯ จำนวน 400 คนที่โรงแรมดวงตะวัน จ.เชียงใหม่ โดยมีนายปวิน ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ นายสุรศักดิ์ เรืองเครือ หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมให้การต้อนรับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (กธจ.)ว่า กธจ.มีการพัฒนามาอย่างยาวนานเริ่มแต่สมัยพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายการทำยุทธศาสตร์จังหวัด เมื่อ 10ปีที่แล้ว กม.ปี 2550 บังคับในระดับจังหวัดกลุ่มจังหวัดมีแผนยุทธศาสตร์ และปัจจุบันกำลังมียุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์จังหวัดคือการบังคับให้ผู้ว่าฯ ปรึกษาคนหลายฝ่าย มหาวิทยาลัยในจังหวัด รวมทั้งประชาคมทั้งหลายเพื่อยกร่างยุทธศาสตร์ขึ้นมาในจ.สงขลาเน้นยุทธศาสตร์เนื้อหาพัฒนาคนทุกระดับ ไปสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติที่3 เด่นมากในภาพรวมประเทศ ภาคเหนือต้องมียุทธศาสตร์ ซึ่งยุทธศาสตร์จังหวัดไปดูว่ามีหรือยังต้องแก้หรือไม่ถ้าแก้ได้ต้องทำตอนนี้ ต่อไปจังหวัดเป็นหน่วยของบปจะมาณโดยตรงได้ ถือเป็นครั้งแรก ที่ผ่านมาต้องขอผ่านหน่วยงานทำให้ เป็นโอกาสของนักการเมืองที่มีอิทธิพลโยกงบข้ามจังหวัดได้ ดังนั้นปี 2550 มีการแก้กฏหมายเพิ่มอำนาจให้จังหวัด
อีกอย่างที่ได้ในปี 2550 คือ กรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดหรือ กธจ. โดย กธจ.ไม่ให้มีข้าราชการ ในที่สุดออกแบบให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายก มีภาระกิจตรวจผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่แล้ว ใน กธจ. มีผู้แทนระดับต่างๆเข้ามานักการเมืองท้องถิ่นก็ได้แต่ต้องไม่เป็นผู้บริหาร มีสื่อ มีข้าราชการบทบาทในหน้าที่ ทำได้ 3 อย่าง คือ สอดส่อง เสนอแนะ และแจ้งผู้บริหารคือผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ หน้าที่มีเท่านี้สอดส่อง คือ หมายความว่าดูแลโดยรอบด้าน เรียกคนมาถามได้ เท่านี้ก็พอ เมื่อสอดส่องพบเสนอแนะแก้ปัญหาแบบธรรมาภิบาลถ้ายังไม่ปฏิบัติแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดและมีข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ต้องทำเอง หรือรายเล็กๆ ไฟฟ้า ประปา ถ้าไม่แก้ก็จึงเสนอ ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะมาตรา3/1 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (3) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ.2552 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือเรียกสั้นๆว่า ธรรมาภิบาล นั่นเอง ตรงกับภาษาอังกฤษ good Governance ซึ่งเป็นคำของสหประชาชาติข้าราชการทุกตำแหน่งทุกหน้าที่ต้องมีการบริหารที่ดี คือการอำนวยความสะดวกต่อประชาชนไม่ซ้ำซ้อน ถูกกฏหมาย รับผิดรับชอบและส่งเสริมผู้อื่นมีส่วนร่วม คุ้มทุนคุ้มค่า ถ้าพบว่าไม่เป็นตามนี้ก็รายงานให้หน่วยงานรับผิดชอบได้กรรมการธรรมมาภิบาล ในสหประชาชาติใช้มานานกว่า30 ปี รัฐบาลที่ดีคือการจัดระเบียบที่ดี ไม่ซ้ำซ้อน สหประชาชาติจึงเรียกร้องให้นานาประเทศทำ แต่ไม่มีใครสนใจ สหประชาชาติเอาหลักธรรมมาภิบาลไปใช้กับธนาคารโลก ธนาคารโลกตั้งเงื่อนไขถ้าเอาเงินกู้ไปใช้ต้องใช้หลักธรรมาภิบาล ประเทศที่ต้องการเงินต้องรับเงื่อนไข เช่นการสร้างเขื่อนมีการต่อต้านอยู่หรือเปล่าถ้ายังมีถือว่าไม่มีธรรมาภิบาลธนาคารก็ไม่ให้เมื่อใช้กับระบบการเงินได้ผล สหประชาชาติจึงรณรงค์ครั้งใหญ่ให้นานาประเทศปฏิบัติ ในประเทศไทย พูดกันมากในช่วงนายกอานันต์ ปัญญารชุน จนสมัยนายกชวน หลีกภัย สนใจให้บัญญัติศัพท์ จนได้คำว่าธรรมาภิบาล ซึ่งแปรว่าผู้ดูแลรักษาธรรมะ ไม่ตรงภาษาอังกฤษ แต่ก็ใช้ไปแล้ว สำนักกิจการข้าราชการพลเรือน (กพ.)ได้บัญญัติว่า “หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” การใช้ธรรมาภิบาลสามารถใช้ได้ทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ไปจนถึงองค์กร บริษัทห้างร้านไม่เพียงราชการเท่านั้นหัวใจธรรมาภิบาลคืออำนวยประโยชน์ให้ประชาชน กธจ.เกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลกลัว 3 อย่าง คือ 1.สอดส่อง 2.ทำเสียเอง 3.มีอำนาจสอดส่องกลัวกลายเป็นฝ่ายค้านของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็เป็นจริงสังคมไทยมักมีการประลองกำลังเช่น ในหลายมหาวิทยาลัยมีสภาคณาจารย์ในอดีตไม่มีการผ่อนสั้นผ่อนยาว สภาคณาจารย์ก็ทำหน้าที่คล้ายๆ ธรรมาภิบาล ในอดีตเป็นเหมือนฝ่ายค้านระยะหลังมาเกิดความเข้าใจ เพราะการออกแบบองค์กรไม่ต้องการเป็นฝ่ายค้าน และไม่ใช่ผู้ปฏิบัติไปทำเองบทบาทที่สำคัญของ กธจ. มาถึงแล้วคือปฏิรูปประเทศไทย 13 ด้าน แผนปฏิรูปเป็นกฏหมายไปแล้ว ทุกกระทรวงทบวงกรมต้องปฏิบัติ ต่อไปการเสนออะไรซักอย่างไม่อยู่ในแผนปฏิรูปจะไม่ได้งบประมาณบทบาท กธจ.ในฐานะตรวจสอบผู้ปฏิรูป ก็ใช้ 3 หลักการข้างต้นกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมกับผู้ตรวจสำนักนายกรัฐมนตรี คือไปช่วยสอดส่อง เสนอแนะและแจ้งผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คือเป็นที่ปรึกษาที่มีลักษณะประชารัฐเพราะได้รวม ประชาสังคม เอ็นจีโอ ท้องถิ่น ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษาฯลฯ เป็นองค์กรรัฐบาลได้ให้ กธจ.สอดส่องการทุจริต ด้วย โดยเฉพาะเงินผู้ไร้ที่พึ่ง เงินอาหารกลางวันเด็ก ที่ปรากฏในสังคมไทย ดังนั้น กธจ.ควรเป็นที่พึ่ง จึงควรพัฒนาส่งเสริมให้ กธจ.มีความเข้มแข็งและพัฒนาเป็นสภาพลเมืองต่อไปในการทำงานถ้าพบประเด็นการทำงานที่ราชการไม่ทำ หรือใหญ่เกินไปที่ระดับจังหวัดทำ ให้ กธจ.บันทึกเข้าสำนักปลัดส่งตรงไปถึงนายกรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อนำไปสู่การแก้ไขต่อไปถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: