เกษตรเร่งปรับพืชเกษตรหันปลูกพืชตระกูลถั่ว สร้างความยั่งยืนหลังภัยแล้งต่อเนื่องทุกปี
เกษตรกรในเขตชลประทานของจังหวัดแพร่ ตั้งแต่อำเภอเมือง อ.สูงเม่น อ.หนองม่วงไข่ และ อ.เด่นชัย เน้นการปลูกข้าวเพื่อการจำหน่ายเป็นหลัก ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเนื่องจากสภาพอากาศและภัยแล้งที่คุกคามติดต่อกันนานกว่า 3 ปี ในปีนี้มีแนวโน้มว่า ภัยแล้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เกษตรจังหวัดแพร่ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตร(ธกส.) กรมพัฒนาที่ดิน บูรณาการร่วมกันในการให้ความรู้เกษตรกรหันมาปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อลดพื้นที่ทำนาหันไปปลูกพืชตระกูลถั่วในเขตชลประทานแทน
นายสมมารถ สยมภาค เกษตรจังหวัดแพร่ เปิดอบรมให้ความรู้ต่อเกษตรกรในเขตอำเภอสูงเม่น ที่หอประชุมโรงเรียนวัดศรีดอก ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ โดยมีเกษตรกรมาร่วมจำนวน 200 ราย ที่ประชุมได้เสริมความรู้ประโยชน์ของการปลูกพืชตระกูลถั่วแทนการทำข้าวนาปรัง จะได้รับประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพขึ้นเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับหน้าดิน พืชตระกูลถั่วคือแหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพเป็นประโยชน์สูงต่อผู้บริโภค สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีไม่แพ้การปลูกข้าว เพราะสามารถพัฒนาเป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมอาหารหลายด้าน
แต่ปัจจุบันพบว่าฤดูการเพาะปลูกปี 2560-2561 ในจังหวัดแพร่มีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองจำนวน 4,452 ไร่ แต่ในปีที่ผ่านมามีพื้นที่ปลูกลดลงเหลือเพียง 3,973 ไร่ สาเหตุมาจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ แม้จะมีแรงจูงใจจากราคาและโอกาสการจำหน่ายได้มากกว่าการปลูกข้าวก็ตาม ดังนั้นการส่งเสริมอย่างจริงจังจังหวัดแพร่ ได้พัฒนาระบบบริการต่อเกษตรกรได้จัดตั้งศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วระดับชุมชนขึ้นมา ปัจจุบันสามารถตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวแล้วจำนวน 10 แห่งกระจายอยู่ในเขตเพราะปลูกในระบบชลประทานมีสมาชิกที่เป็นเกษตรกรเข้าร่วมแล้วกว่า 200 ราย มีพื้นที่ปลูกตามโครงการจำนวน 400 ไร่ โดยในตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่นถือเป็นแหล่งผลิตถั่วเหลือที่สำคัญของจังหวัดแพร่ โดยมีพื้นที่ปลูกอยู่ในขณะนี้จำนวน 1,250 ไร่
นายสมมารถ สยมภาค กล่าวด้วยว่า การปลูกพืชตระกูลถั่วที่มีตลาดกว้างกว่าสามารถส่งเข้าสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมได้หลากหลายมีผลตอบแทนสูง ซึ่งสิ่งที่ถือว่าสำคัญมากอีกประการคือ เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลถั่วจะสามารถจำหน่ายได้ทุกส่วนของการผลิต คือ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว กากจากการนำเมล็ดออกไปใช้แล้วและลำต้นแก่ สามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ หรือพัฒนาเป็นปุ๋ยหรือวัสดุปลูกพืชได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าเกษตรกรบริหารจัดการได้จะสามารถหาประโยชน์จากการปลูกพืชตระกูลถั่วได้เป็นอย่างดีและไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องน้ำเพราะเป็นพืชต้องการน้ำน้อยอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นแนวทางระยะยาวของจังหวัดแพร่ในการแก้ปัญหาภัยแล้วและลดการเผาในพื้นที่แปลงเกษตรในช่วงเกษตรกรรมนอกฤดูฝน ซึ่งโครงการนี้ยังถือว่าเป็นจุดเริ่มที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามโครงการจะเดินไปสู่ความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่กลไกตลาดที่จะสร้างแรงจูงใจ จากรายได้ให้กับเกษตรกรมากน้อยแค่ไหน ล่าสุดณ วันที่ 28 มกราคม ค่าฝุ่นละอองจากการเผาวัสดุการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นถึง 305.17 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในขณะค่ามาตรฐานเพียง50 ไมโครกรัม / ลูกบาศก์เมตร ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: