เวลา09.00 น.วันที่ 25 กรกฎาคม โครงการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลพีเอสที เอนเนอน์ยี 1 นำโดยนายสุวิทย์ สิงหจันทร์ ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัทเพาเวอร์โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)เปิดเวทีให้ข้อมูลโครงการตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลภายใต้ชื่อ “อนาคตกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล”โดยได้เชิญแกนนำท้องถิ่น กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น 12 ตำบลจำนวน 150 คน ร่วมรับฟังข้อมูล ที่ห้องประชุมในโรงแรมอมรรักษ์ ถนนเหมืองหิต ในเขตเทศบาลเมืองแพร่
ในที่ประชุมบริษัทสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวได้นำนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาพลังงานทางเลือกเข้าร่วมให้ข้อมูลด้วย โดยได้กล่าวถึงความจำเป็นในการใช้พลังงานทางเลือกมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขาดแคลนพลังงานในอนาคตโดยเฉพาะพลังงานจากฟอสซิลจะหมดไปในไม่ช้า ในประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะใช้พลังงานจากชีวมวล ม(ไม้ฟืน) จึงได้พัฒนาโครงการดังกล่าวขึ้นมา
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- ชาวบ้านยังผวา บ้านสไลด์ตกน้ำบางปะกงตามกัน ไม่กล้าออกไปทำกิน
- รวบสาวใหญ่ซิ่งมอไซค์ขนยาบ้า 516,000 เม็ด
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
นายสุวิทย์ สิงหจันทร์ ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัทเพาเวอร์โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างทำความเข้าใจกับชุมชน โดยการจัดเวทีให้ความรู้และพาไปดูกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่บุรีรัมย์ เมืรอเกิดความเข้าใจก็จะดำเนินการก่อสร้างที่หมู่ 7 ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมืองแพร่ โดยมีแผนก่อสร้างในปี พ.ศ.2562 ใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือนใช้งบลงทุนจำนวน 1,600 ล้านบาท กำลังการผลิต 28.5 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเพิ่มอัตรากำลังไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทนจาก ร้อยละ 8 เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ซึ่งต้องใช้ไม้ฟืนหรือชีวมวลมากถึง 2,000 ตัน/ วัน ซึ่งต้องส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วไม่น้อยกว่า 6,000 ไร่จึงจะเพียงพอ การส่งเสริมดังกล่าวจะทำรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
นายราวิน กาทองทุ่ง แกนนำต้านโรงไฟฟ้าร่องฟอง กล่าวว่า มีข้อสังเกตว่าการจัดเวทีให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของบริษัทไม่จัดเวทีที่ตำบลร่องฟอง ซึ่งมีชุมชนอยู่ใกล้โรงไฟฟ้ามากที่สุด อาจเป็นวิธีการเพื่อเอาชนะโดยไม่ฟังเสียงชาวร่องฟอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ท่ามกลางการจัดเวทีให้ข้อมูลต่อชุมชนในรัศมี 5 กม.ชาวบ้านในตำบลร่องฟอง ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้ที่ตั้งโรงไฟฟ้ามากที่สุด เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมครัวเรือนยังคงออกมาต่อต้าน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดผลกระทบตามมาโดยเฉพาะ สิ่งแวดล้อม การจราจร และ ปัญหาแย่งชิงวัตถุดิบทำให้ถ่านไม้ และไม้ฟืนมคราคาสูงขึ้นอาจทำให้เศรษฐกิจที่มีอยู่เดิมชลอตัว ชาวร่องฟองจึงรวมตัวต่อต้านไม่ต้องการให้สร้างโรงงานในบริเวณดังกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: