ชวนกันรักษาความสะอาดจัดภูมิทัศน์ชุมชนน่าอยู่ ปลูกผักผลไม้อาหารปลอดภัยสร้างสุขภาวะสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน
เวลา 09.00 น.วันที่ 8 กรกฎาคม นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดมหกรรมสุขภาพชุมชนน่าอยู่นำร่องจังหวัดแพร่ ที่ลานกีฬาศูนย์เรียนรู้เสลียมใต้ หมู่3 ต.ตำหนักธรรม อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่. มีประชาชนจาก9 ชุมชนเข้าร่วมได้แก่ 1. บ้านนาหลวง ม.4 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 2. บ้านหล่ายห้วย ม.5 ต.บ้านหนุน อ.สอง จ.แพร่ 3. บ้านต าหนักธรรม ม.2 ต.ต าหนักธรรม อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ 4. บ้านสะเลียมใต้ ม.3 ต.ต าหนักธรรม อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ 5. บ้านต าหนักธรรม ม.4 ต.ต าหนักธรรม อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ 6. บ้านม่วงทอง ม.9 ต.แม่ค ามี อ.เมือง จ.แพร่ 7. บ้านท่ามด ม.4 ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ 8. บ้านแม่จั๊วะ ม.3 ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่ และ9. บ้านไทรย้อย ม.12 ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่
หลังประธานในพิธีกล่าวเปิด ประชาชนในชุมชนต้นแบบทุกวัยร่วมกิจกรรมสาธิต อาทิ การแสดงแผนธรรมนูญหมู่บ้าน การเต้นออกกำลังกาย. โชว์ผลิตภัณฑ์คุณภาพปลอดภัยจากสารพิษและกระบวนการทำงานที่คำนึงถึงอาชีวอนามัยกับผู้ทำงาน โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. โดยมีวัตถุประสงค์สร้างเครือข่ายชุมชนน่าอยู่จังหวัดแพร่ เป็นเครือข่ายชุมชนที่ดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่ ได้รับการสนับสนุนจาก
ส านักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560
จนถึงปัจจุบัน กระบวนการชุมชนน่าอยู่ระดับชุมชน มุ่งเน้น การสร้างกลไกสภาผู้นำชุมชน ที่มีจุดเริ่มต้นมาจาก ฐานคณะกรรมการหมู่บ้าน และรวบรวมตัวแทนผู้นำกลุ่มการพัฒนาต่างๆในชุมชนที่มีความหลากหลาย เข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้นำ กลไกสภาผู้นำชุมชน เป็นการจัดโครงสร้างองค์กรขึ้นใหม่ในชุมชน ที่ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ และผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการตัวแทนของกลุ่มต่างๆที่มีอยู่แล้วในชุมชน เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและ เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้นำชุมชนด้วยกัน และระหว่างผู้นำชุมชน กับสมาชิกชุมชน กลไกสภาผู้นำชุมชน จึงเป็นเสมือนกลไกที่เสริมพลังของสมาชิกทุกกลุ่มในชุมชน นอกจากมีประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่โดยตรงแล้ว ยังช่วยเสริมพลังในมิติของ “โครงสร้างองค์กร” “ผู้นำชุมชน” และ “การมีส่วนร่วม” พร้อมกันทั้งสามมิติชุมชนจะต้องใช้กลไกสภาผู้นำชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน เชิงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะที่จะทำให้ชุมชนน่าอยู่ โดยมีการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง และคัดเลือกประเด็นที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาในแต่ละปี จากแผนชุมชนพึ่งตนเอง แล้วหยิบยกประเด็นที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือก มาพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการ และเสนอกับทางคณะกรรมการจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม โดยสภาผู้นำชุมชนจะต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงประเด็นครอบคลุมสี่มิติ (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ)ที่กำหนดไว้ในแผนชุมชนพึ่งตนเอง ชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่ จะได้รับการพัฒนาศักยภาพผู้นำและมีการกำกับ
ทิศทางการดำเนินงาน ร่วมกัน โดยมีหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือ เป็นที่ปรึกษาในด้านองค์ความรู้และการบริหารจัดการ ประเด็นที่ได้รับการพัฒนาหลักได้แก่ บทบาทของสภาผู้น ากับการพัฒนาชุมชน การวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหา เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบ ของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะที่ชุมชนต้องการแก้ไขในแต่ละปี การบริหารจัดการโครงการ การวิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูล การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา เป็นต้น การพัฒนาศักยภาพดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้สภาผู้นำชุมชน มีทักษะ มีศักยภาพในการพัฒนาชุมชนทั้งในประเด็นสุขภาวะ และประเด็นปัญหาอื่นๆในชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ
นายวรญาณ บุญณราช. รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า. ถือเป็นโอกาสดีของจังหวัดแพร่ที่มีชุมชนสนใจงานพัฒนาด้านสุขภาพ ต้องขอชื่นชมและเชื่อแน่ว่าชุมชนเหล่านี้จะเป็นแบบอย่างที่สำคัญของจังหวัดแพร่ต่่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: