X

พบบ้านโบราณถูกทุบ เคยเป็นที่อาศัยของนักเขียนชื่อดัง “เสริมศรี เอกชัย”


พบบ้านโบราณถูกทุบ เคยเป็นที่อาศัยของนักเขียนชื่อดัง “เสริมศรี เอกชัย” ประธานหอแพร่วอนขอเป็นหลังสุดท้าย
ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม วิศวกรรมชาวเมืองแพร่ ถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่โดยภาครัฐ หากลับมาทดแทนยากแล้วทางออกไม่ควรประวัติซ้ำรอย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่ วันที่ 17 มิถุนายน หลังจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ได้ใช้งบประมาณของทางราชราชการทำการทุบรื้ออาคารไม้โบราณร่องรอยประวัติการป่าไม้เมืองแพร่ ตำนานล่าอนานิคมประเทศอังกฤษ ล่าสุดพบเป็นบ้านในชีวิตวัยเยาว์ของเสริมศรี เอกชัย นักเขียนชื่อดัง ความคืบหน้าหลังจากมีการประชุมด่วนโดยคำสั่งของนางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เรียกหน่วยงานเข้าชี้แจงที่ศาลากลางจังหวัดแพร่ เนื่องจากเป็นงบประมาณที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ของบประมาณจังหวัดเพื่อซ่อมแซมอาคารเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่อนุมัติให้เพราะเห็นว่า เป็นอาคารเก่าที่ต้องดูแลซ่อมแซมในปี พ.ศ. 2561 ผลของการประชุมชี้แจงด่วนยังหาข้อยุติไม่ได้ โดยทางนายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 เป็นผู้สั่งการให้ดำเนินการยังไม่สามารถให้เหตุผลต่อองค์กรอนุรักษ์เมืองเก่าและผู้ว่าราชการจังหวัดได้ โดยจะนัดพูดคุยกันอีกครั้งในวันที่ 19 มิถุนายนเพื่อให้ทุกฝ่ายเตรียมความพร้อมในการตอบคำถาม ซึ่งชาวแพร่กว่า 400,000 คนรู้สึกเสียใจกับการกระทำดังกล่าว เบื้องต้นนางกานต์เปรมปรีย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สั่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้วโดยให้นายวรญาณ บุญราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานค้นหาความจริงเพื่อสั่งการลงโทษต่อไป


ล่าสุด นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กทม. เปิดเผยว่า อาคารศูนย์การเรียนรู้การป่าไม้ เป็นอาคารไม้สองชั้น สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคมประยุกต์ ริมแม่น้ำยมสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 อายุ 131 ปี ถือเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของชาวจังหวัดแพร่ มาหลายชั่วอายุคน แต่ในการปรับปรุงซ่อมแซม กลับเป็นการรื้อทำลาย โดยปราศจากการศึกษาหรือใช้หลักวิชาการในการอนุรักษ์ฟื้นฟูอาคารที่ถูกต้อง และไม่สอดคล้องกับนโยบายในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าแพร่
การดำเนินการนี้เป็นโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตะวันจังหวัดแพร่ ซึ่งสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) เป็นเจ้าของโครงการใช้เงินทั้งหมด 4,560,000 บาทเริ่มโครงการวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 และสิ้นสุดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563
อาคารดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ ของบริษัทบอมเบเบอร์ม่า เทรดดิ้ง จำกัด จากประเทศอังกฤษ และ บริษัทอีสเอเชียติค จำกัด จากประเทศเดนมาร์ก ได้เข้ามาตั้งสำนักงานที่อยู่อาศัยและใช้เป็นท่าล่องซุงจากแม่น้ำยมสู่แม่น้ำเจ้าพระยาต่อมาได้ยกพื้นที่และอาคารให้กรมป่าไม้ซึ่งได้ใช้เป็นที่ทำการและที่พักของประไม้ภาค ปัจจุบันให้บริเวณดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติเชตะวัน ในความดูแลของสำนักบริหารพื้นที่ อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) จนล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สั่งตั้งกรรมการสอบสวน
นายสุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บ้านดังกล่าวสร้างให้ นักเขียนที่ชื่อ “เสริมศรี เอกชัย” เติบโตและเข้มแข็ง เป็นนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญขอประเทศไทย ซึ่งเสริมศรี เอกชัย เจ้าของนามปากกา “สนทะเล” ได้เขียนถึงชีวิตตนเองสมัยอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ ในฐานะลูกสาวของ “ขุนวนารักษ์ดำรง (ทองคำ สุวรรณเกสร์) ป่าไม้ภาค ซึ่งมีบ้านหลังนี้เป็นบ้านประจำตำแหน่งโดยมีข้อความเขียนว่า “ ไม่มีใครรู้ดีกว่าดิฉันเลยว่า ไม่เคยมีความสุขที่ไหน จะเปี่ยมล้นพ้นสมบูรณ์ที่สุด เท่ากับชีวิตของดิฉัน เพื่อพ่อยังมีชีวิตอยู่ เมื่อดิฉันยังเป็นเด็ก เมื่อดิฉันอยู่เมืองแพร่ และเพราะความสมบูรณ์ยิ่งในชีวิตที่เคยได้รับมานี่เองที่เป็นกำลังใจให้ดิฉันสามารถยืนหยัดรับการคุกคามของเหตุการณ์ต่างๆ มาได้ ผ่านชีวิตมาอย่างคนจองหองคนหนึ่ง ที่ไม่เคยคุกเข่าให้ใคร
เสริมศรี เอกชัย กล่าวไว้ในบทความหนึ่งว่า “ดิฉันผ่านชีวิตมาได้โดยไม่ทุกข์ ก็เพราะว่าดิฉันมีความรักเป็นเครื่องทดแทน มีชีวิตที่ผาสุกสมบูรณ์ในวัยเด็ก มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความรักของญาติสนิทมิตรสหาย


ดิฉันจึงอยากเหลือเกิน ต้องการเหลือเกิน ที่จะช่วยให้เด็กๆ มีความสุขในวัยเด็กของเขาเพราะรู้ดีว่าไม่มีความสุขในวัยไหน จะเทียบเท่าและตรึงตราอยู่ในหัวใจไปชั่วชีวิต เท่ากับความสุขในวัยเด็กและความรักที่ได้รับเมื่อยังเป็นเด็ก
มันคือยาบำรุงหัวใจให้อ่อนโยน ให้เข้มแข็งให้มีเมตตาต่อผู้อื่นที่ขาดแคลนความรักและความสุข ดิฉันคิดว่าที่โลกและสังคมมันวุ่นวายเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะคนส่วนใหญ่ขาดความอบอุ่นและความรักในวัยเด็กของเขาเป็นสาเหตุใหญ่ จึงตั้งหน้าที่จะทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่เพียงทำร้ายผู้อื่น แม้แต่พ่อแม่บุพการีของตนก็ยังทำร้ายจิตใจได้ และแม้แต่ลูกในไส้ของตนเองก็ยังทำเสียจนลูกเกลียดได้ คนพวกนี้ไม่เคยรู้จักว่า ความสุขที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะว่าเขาไม่เคยมีความสุขในวัยเด็กอย่างดิฉัน นี่เป็นความจริงนะคะ”
คำกล่าวบทความของเสริมศรี เอกชัย นักหนังสือพิมพ์ชื่อดังที่ให้ความสำคัญของบ้านหลังนี้ไว้อย่างชัดเจนในฐานะหนึ่งในลมหายใจประวัติศาสตร์บ้านแห่งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะนี้มีกระแสการเสียดายบ้านหลังดังกล่าวอย่างมาก ปรากฏออกมาทางสื่อออนไลน์ และพื้นที่สาธารณะที่พยายามที่จะให้บ้านหลังดังกล่าวกลับมาแต่เป็นไปไม่ได้


นายปัญจพล ประสิทธิโศภิน ประธานหอการค้าจังหวัดแพร่ กล่าวว่า เป็นความเสียใจของชาวเมืองแพร่จากการกระทำของราชการต่อบ้านเก่าที่เป็นร่องรอยประวัติศาสตร์ เป็นทุนอันสำคัญต่อวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดแพร่ ต้องปิดตำนานลง การสร้างใหม่ความหมายเปลี่ยนไปแล้ว คงไม่ใช้หลังเก่าที่ใครต่อใครมาอยู่อาศัยมาทำงาน มีความสำคัญในประเทศ สำคัญข้ามทวีป หมดกันวันนี้ แต่ต้องถือเป็นบทเรียนจะทำให้บทเรียนนี้ ไปสู่ทางออกที่ดีอย่างไร อาคารหลังนี้ควรเป็นหลังสุดท้ายหรือไม่ ที่ต้องถูกทำลายไป ภาคราชการต้องมาดูและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเพื่อให้ปัญหาแบบนี้ไม่เกิดซ้ำอีก จะมีกรรมการร่วม หรือให้น้ำหนักภาคประชาชนได้ร่วมทำงาน ร่วมคิดได้แล้วทั้งๆ ที่สังคมกระแสของประเทศไทยมีประเด็นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม มีกฎหมายที่บังคับให้ราชการเอาประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม แต่ก็เป็นเพียงเอกสารไม่เกิดจริง วันนี้ต้องทำให้เกิดและควรเป็นการทำลายครั้งสุดท้าย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน