ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การทุบทำลายอาคารไม้ทรงประยุคแบบอาณานิคมอังกฤษ ตั้งอยู่ในสวนรุกขชาติเชตวัน ชุมชนเชตวันริมฝั่งแม่น้ำยม เขตเทศบาลเมืองแพร่ ซึ่งเป็นร่องรอยสถาปัตยกรรมหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญของเมืองแพร่ในการทำไม้สักส่งออกมีอายุกว่า 100 ปี เป็นผลงานของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) ทำรื้ออาคารกำลังเกิดกระแสบานปลายหนัก โดยเฉพาะชาวเมืองแพร่ที่ยังเสียดายสถานที่จริงที่จะประกอบกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติป่าไม้เมืองแพร่ ที่ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ส่งออกไม้สักเป็นสินค้าสำคัญของประเทศในอดีต มีความเป็นมาที่เชื่อมโยงทั้งเจ้าหลวงผู้ครองนครแพร่ การเมืองภายในประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ เศรษฐกิจและสังคมในอดีตเมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ยังมีร่องรอยของการพัฒนาด้วยระบบราชการที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย เป็นประวัติอันสำคัญของการป่าไม้ไทยอีกด้วย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นความสูญเสียหลักฐานทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของจังหวัดแพร่ จนทำให้มีมวลชนออกมาแสดงความไม่พอใจโดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์มีการแสดงออกถีงความเสียดายสิ่งทำคัญของจังหวัดแพร่ที่สูญเสียไป ทางด้านผู้รับเหมาบูรณะซ่อมแซมอาคารดังกล่าว คือห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่โกสินก่อสร้าง ตั้งอยู่เลขที่ 9 ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่ วันที่ 18 มิถุนายน ยังเข้ามาทำงานเป็นปกติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การทำงานไม่สามารถทำเกินแผนงานได้ ในขั้นตอนแรกคือการรื้อถอน และมีโครงการขั้นต่อๆ ไปตามลำดับไม่ได้ทำเกินเลยแต่อย่างใด
ซึ่งนายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ยังยืนยันว่าได้ทำตามแผนฟื้นฟูตามโครงการของบพัฒนาจังหวัดแพร่ ปีงบประมาณ 2561 ที่ตนไม่ได้เป็นผู้ขอแต่เข้ามารับตำแหน่งในช่วงที่งบประมาณตกมา อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าจะไม่นำสิ่งสำคัญออกไป และจะเร่งฟื้นฟูให้เร็วที่สุดตามแบบที่ถอดไว้ทุกประการ
ส่วนทางจังหวัดแพร่ นางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้เชิญผู้แทนกรมศิลปากร เข้ามาหารือเพื่อหาแนวทางการบูรณะขึ้นมาใหม่จากแบบเดิมให้เหมือนเดิมจะมีวิธีการอย่างไร ซึ่งก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ในขณะเดียวกัน ยังมีบ้านเก่าในกลุ่มประวัติศาสตร์เดียวกันที่อยู่ในที่ดินของหน่วยราชการและเอกชน เช่น ที่พักของมิชชันนารี โบสถ์คริสจักร ที่อยู่ในพื้นที่ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแพร่ และ โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน รวมทั้งอาคารภายในโรงเรียนการป่าไม้แพร่ ที่เป็นอาคารเก่ายุคเดียวกัน ตัวอาคารเริ่มทรุดโทรมอาจต้องมีการซ่อมแซมและอาจทำให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยก็เป็นได้
ข่าวน่าสนใจ:
- องคมนตรีเชิญสิ่งของพระราชทานเนื่องในโอกาสปีใหม่ 2568 มอบให้ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จ.สระแก้ว
- ปราจีนบุรี สลดหนุ่ม 45 ถูกช้างป่าอ่างฤาไนทำร้ายเสียชีวิต
- "เลยดั้น" แค่มุมภาพเดียว กลายเป็นไวรัล ดึงดูด นทท.แห่เช็คอินถ่ายภาพ อ.น้ำหนาวเตรียมดันเป็นซอฟพาวเวอร์
- พบช้างป่าอยู่ใกล้ที่ทำร้ายคนเสียชีวิตเร่งผลักดันหวั่นเกิดเหตุซ้ำ จ.ปราจีนบุรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเป็นกระแสอนุรักษ์เมืองเก่าถูกโหมกระพืออย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม โครงการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารที่กำลังมีปัญหา ยังหาข้อยุติไม่ได้ งบประมาณดังกล่าวเป็นงบพัฒนาจังหวัด โดยมีการของบเพื่อซ่อมแซมในปี พ.ศ. 2560-2561 แหล่งข่าวกล่าวว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 เป็นหน่วยงานกลางที่เข้ามาทำงานในจังหวัด ซึ่งผอ.สำนักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับจังหวัดเท่าไหร่ มีการส่งตัวแทนเข้าประชุมในระดับจังหวัดมาโดยตลอด การของบประมาณมีการทำ TOR ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ลงนามมอบอำนาจให้กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ไปแล้ว ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนรูปวิธีการซ่อมแซมปรับปรุงก็เป็นได้ และอีกกระแสหนึ่งอาจมีการวางแผนให้เกิดปัญหาเพื่อหวังผลทางตำแหน่งเมื่อมีการโยกย้ายนายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 คนใหม่ก็จะเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตามจะมีการเฉลยทุกขั้นตอนในวันที่ 19 มิถุนายนนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: