เจ้าของบ้านวิชัยราชา ชี้รื้อบ้านเก่าในจ.แพร่ส่วนใหญ่เพื่อขายไม้เก่า ฟันธงรัฐต้องให้ความสำคัญประวัติศาสตร์
ยืนยันบ้านทุกหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แม้อยู่ในครอบครองของภาครัฐหรือเอกชนก็ตามรัฐควรให้ความสำคัญเพราะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทุกชาติพันธุ์ไทย
บ้านวิชัยราชา บ้านเก่าสร้างด้วยไม้สักทองหลังหนึ่งที่ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูมาตลอด30 ปี ตั้งอยู่ริมถนนวิชัยราชา ข้างวัดศรีบุญเรือง ในเขตเทศบาลเมืองแพร่ นายวีระ สตาร์ เจ้าของผู้ครอบครองคนปัจจุบัน พานักท่องเที่ยวผู้สนใจเดินชมและเล่าประวัติควาใเป็นมาด้วยความภาคภูมิใจ
ข่าวน่าสนใจ:
- อยุธยารวมพลคนรักสุขภาพเดินวิ่งปั่น ป้องกันอัมพาต
- มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เชิญชมการแสดงโขนฯ ตอน "พระจักราวตาร" 7 พ.ย.-8 ธค.นี้
- ชัยภูมิหนูน้อยวัย 9 ขวบลีลาเป่าแคนนำแก้บนไม่ธรรมดาเตรียมบันทึกประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่รอบ 198 ปีเมืองชัยภูมิ
- จัดกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติฯ ครั้งที่ 10 จ.สระแก้ว
บ้านเก่าไม้สักหลังนี้ทรงมนิลา สถาปัตยกรรมไม้สักสมัยรัชการที่5 การสร้างบ้านในยุคนั้นมีความหมายมาก เป็นนโยบายของชาติในการสร้างความเจริญให้กับพลเมืองทั่วทุกภูมิภาคเพื่อสู้กับการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มีเรื่องราวผูกโยงมาตั้งแต่เจ้าวิชัยราชา เกี่ยวข้องกันการเป็นนครรัฐมีเจ้าหลวงครองนครแพร่ มาจนถึงพระยาสุรศักดิ์มนตรียกทัพหลวงไปปราบฮ่อที่แนวชายแดนเวียดนาม-สปป.ลาว เชื่อมโยงเข้าสู่ประเทศกำลังเข้าสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย. รัฐบาลมีการสร้างภาพยนต์เรื่องช้างเผือก. นายปรีดี พนมยงค์มาควบคุมการถ่ายภาพยนต์ด้วยตนเองที่ ต.ป่าแดงเมืองแพร่ นายปรีดีใช้บ้านวิชัยราชาเป็นที่พักค้างคืน. บ้านนี้อดีตเป็นผู้ที่มีช้างมากที่สุดในภาคเหนือ. ประวัติศาสตร์เหล่านี้คือความเป็นมาของรัฐสยาม
นายวีระ กล่าวด้วยว่า เป็นสิ่งที่น่าเสียดายยิ่งกับการรื้อทุบทิ้งบ้านโบราณเคยเป็นที่ทำงานของฝรั่งในการตัดไม้สักส่งไปขายในหลายประเทศ เป็นประวัติของช้างไทย เศรษฐกิจไทย. ป่าไม้ไทย ความสัมพันธ์กับประเทศในยุโรป. มันสำคัญมากบ้านหลังที่ทุบทิ้งและอีกกว่า 100 หลังที่ถูกรื้อไปเราจะหยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร. และหลังที่เหลืออยู่คนแพร่คงไม่ต้องขอให้รัฐมาช่วยเพราะเกิดความเสียหายมาแล้วนับไม่ถ้วน. การฟื้นฟูบ้านวิชัยราชา. ผมถูกศาลสั่งล้มละลาย3 รอบ เป็นหนี้กว่า 20 ล้านบาท. แต่บ้านวิชัยราชายังคงสืบตำนานประวัติศาสตร์ต่อไป ถ้ารัฐเห็นด้วยสิ่งที่ควรทำคือการพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและชาติไปอยู่ในโรงเรียน กระบวนการอนุรักษ์จะเติบโตเอง นายวีระกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: