ปชป.ไม่เห็นด้วยเสนอตีความร่างแก้รัฐธรรมนูญเหมือนยื้อเจตนาถ่วงยันเห็นด้วยตั้งกรรมการสมานฉันท์
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่ เวลา 10.30 น.วันที่ 27. พฤศจิกายน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาที่จังหวัดแพร่เพื่อตรวจดูโครงการประกันรายได้ให้กับเกษตรกรในภาคเหนือ โดยมีนายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่และนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ส.ส. จังหวัดแพร่ พรรคประชาธิปัตย์ไปต้อนรับที่ท่าอากาศยานแพร่
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนที่สนามบินแพร่ถึงปัญหาทางการเมืองกรณีที่มีผู้ต้องการนำร่างแก้รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น นายจุรินทร์แสดงความเห็นว่า ขณะนี้มีการเข้าชื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ผ่านการพิจารณารับหลักการในวาระ 1. ไปแล้วมีความชอบโดยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่ามีความชอบโดยรัฐธรรมนูญอยู่แล้วเพราะก่อนลงชื่อเสนอที่ประชุมรัฐสภามีการตรวจสอบโดยรอบคอบแล้ว ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะบรรจุญัตินี้เข้าสู่การประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ถ้ามีการพิจารณาดังกล่าวทางพรรคประชาธิปัตย์จะไม่สนับสนุนที่จะให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประการที่ 2. ถ้าจะตรวจสอบว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็สามารถทำได้เมื่อผ่านวาระ 3 ไปแล้วและเมื่อเสนอทูลเกล้า. รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ก็เปิดโอกาสและสามารถตรวจสอบก่อนขึ้นทูลเกล้าได้อยู่แล้ว ประการสุดท้ายการส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความจะทำให้ล่าช้าอาจมองว่าเป็นการถ่วงหรือยื้อเวลาไม่จริงใจแก้รัญธรรมนูญ เป็นสาเหตุให้พรรคประชาธิปปัตย์ไม่เห็นด้วยเพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาตามมา
เรื่องกรรมการสมานฉันท์ ที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯเตรียมตั้งคณะกรรมการ 7 ฝ่ายขึ้นมา เรื่องนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุนและพร้อมเข้าไปมีส่วนร่วมถ้าได้รับโอกาส ที่มีข้อกังวลว่าจะมีบางฝ่ายไม่เข้าร่วม อยากให้ทุกฝ่ายได้พิจารณา ซึ่งทางนายชวน ยืนยันว่ามีผู้สมัครเข้าร่วมได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น มีเท่าไหร่ประชุมกันไปก่อน ฝ่ายที่เหลือจะเข้าร่วมเมื่อไหร่ก็ทำได้ ในส่วนตัวมีความเห็นว่าฝ่ายที่จะเข้าร่วม เกิดลังเลว่าถ้าเข้าร่วมแล้วจะกลายเป็นเสียงข้างน้อย เรื่องนี้ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าไปก็จะเสนอระบบพิจารณาที่มีการตัดสินใจแบบฉันทามุติไม่ควรโหวดด้วนคะแนนเสียงจะทำให้เกิดความร่วมมือ ซึ่งความขัดแย้งทางการเมืองยังคงอยู่ การทำงานทุกเรื่องควรดำเนินการต่อเนื่องมองอนาคตไกลๆ การทำงานอาจมองว่าไม่มีผลอะไรต่อการชุมนุมนายจุรินทร์กล่าวว่าก็ยังดีที่ได้ทำและน่าจะนำไปสู่การลดอุณภูมิทางการเมืองลงบ้าง นายจุรินทร์กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: