X

ลูกหนี้สหกรณ์ที่อยู่ในสภาวะ”หนี้เสีย”กฟก.ยื่นมือช่วย

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เร่งแก้กฏหมาย ระเบียบใหม่เปิดช่องเกษตรกรที่เดือดร้อนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ซื้อหนี้สหกรณ์ก่อน รัฐอัดเงินนับ 10,000 ล้านแก้ปัญหาหนี้ภายใน 6 ปี

เวลา10.00. วันที่ 22 ธันวาคม สำนักงานกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร จังหวัดแพร่ จัดประชุม คณะอนุกรรมการกองทุน ฯระดับจังหวัดเพื่อชี้แจง แนวทางปฏิบัติ ต่อเกษตรกร หลังมีการ แก้กฎหมาย ระเบียบกองทุนใหม่ การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นที่ ห้องประชุม สำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแพร่ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ นอกจากเจ้าหน้าที่คณะอนุกรรมการยังมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมฟัง การชี้แจงในวันนี้ มีนายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหาร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ร่วมด้วย นายประเทือง นรินทรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักกิจการ ภูมิภาคที่ 1 ภาคเหนือ นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการ สำนักจัดการหนี้ ของเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายไพรัช สีวาโย หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดแพร่ร่วมชี้แจงทำความเข้าใจ

ที่ประชุมเน้นไปที่ ประเด็นการแก้กฎหมาย และระเบียบกองทุนฟื้นฟูใหม่ เพื่อนำไปสู่การซื้อนี่ เกษตรกร ที่อยู่ในสภาวะวิกฤต ถูก ฟ้อง ยึดทรัพย์ อยู่ระหว่างบังคับคดี จากสถาบันการเงิน ต่างๆ โดยในช่วงแรก กองทุน เน้นไปที่ หนี้สินเกษตรกร ใน สหกรณ์การเกษตร ก่อนสถาบันการเงินอื่น

หนี้สินเกษตรกร ที่เข้าข่าย การช่วยเหลือ ต้องขาดการชำระหนี้ หรือเป็นหนี้เสียเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป เป็นสมาชิก ขึ้นทะเบียนกับ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยกองทุนจะเข้าไปช่วยเหลือ ซื้อหนี้ จ่ายเต็มจำนวน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ให้กับสถาบันการเงิน จากนั้นทรัพย์สิน ที่ค้ำประกัน จะต้องตกเป็นของกองทุน หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเพื่อนำไปสู่การมีรายได้เพื่อกลับมา เช่าซื้อหรือไถ่ถอน ทรัพย์สินกลับคืน โดยเกษตรกรไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและคิดเงินต้นร้อยละ 50 เท่านั้น

นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหาร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ยกร่าง ระเบียบและกฎหมาย โดยเฉพาะในมาตรา 37/9 วรรค2 ระบุว่า เมื่อซื้อหนี้เกษตรกรแล้ว ทรัพย์สินต้องตกเป็นของกองทุน มีข้อสงสัย ในการซื้อหนี้ ที่มีหลักทรัพย์ และ มัเพียงการค้ำประกันบุคคล ได้ทั้ง 2 ประเภทหรือไม่ ความจริงแล้ว กฎหมายเปิดกว้าง แต่กล่าวไว้ไม่ชัด จึงมีการ หยิบยกขึ้นมา ผ่านกระบวนการแก้ไข กฎหมาย และระเบียบกองทุนใหม่ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 จึงนำไปสู่ การแก้ไขหนี้ ที่มีบุคคลค้ำประกัน ทำให้กองทุน มีอำนาจ เข้าไป ซื้อหนี้ช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานบอร์ดกองทุน ตั้งใจ จะให้เป็นของขวัญปีใหม่ แก่เกษตรกร ที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยรัฐบาล ได้อนุมัติกรอบวงเงิน มาแล้ว จำนวน 11,600 ล้านบาท งบประมาณจำนวนนี้ ในมุมของการบริหารกองทุน น่าจะเพียงพอ ต่อการช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากมีการหมุนเวียน เงินที่เกษตรกรต้องใช้คืนกลับมาด้วย แต่ถ้าไม่เพียงพอ ก็สามารถตั้งเรื่องของบเพิ่มเติมจากรัฐบาลได้ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวและสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เข้าไปอยู่ในแผน ปฏิรูปประเทศไทย 20 ปีด้วย

สิ่งที่ต้องกังวลคือการทำความเข้าใจ ระหว่าง เกษตรกรกับเจ้าหนี้ของเกษตรกร โดยกองทุนจะเป็นคนกลางในการเจรจา ซึ่งต้องเกิดความเข้าใจร่วมกันทุกฝ่าย เฉพาะ สถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ของเกษตรกร จะได้รับเงินต้น ครบ 100% แถมดอกอีกร้อยละ 7.5 ส่วนเกษตรกรนั้น เมื่อ ย้ายหนี้เข้ามาสู่กองทุนจะมีการลดมูลหนี้ลงร้อยละ 50 ลดดอกอีกร้อยละ 7.5 เหลือต้องใช้หนี้กองทุน เพียงร้อยละ50เท่านั้น ส่วนเกษตรกรที่กองทุนเข้าไปช่วยเหลือมักต้องผ่านกระบวนการฟ้องร้องอยู่ในขั้นตอนของศาลเกือบทุกราย

จากสถิติสมาชิกกองทุน ที่เข้าข่าย ขึ้นทะเบียนหนี้แล้วจำนวน 480,000 ราย วงเงินหนี้สินเกษตรกรรวมจำนวน 120,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า การใช้หนี้ เกษตรกร จำนวนนี้ กองทุนจะใช้เวลาราว 6 ปี จะประสบความสำเร็จ ปีนี้ได้รับงบประมาณตามกฎหมายมาแล้ว 11,600 ล้านบาทถือว่าเพียงพอ

นายไพรัช สีวาโย หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดแพร่ กล่าวว่า สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในจังหวัดแพร่ที่เป็นลูกหนี้สหกรณ์ มีอยู่จำนวน 2,000 รายเศษ ในจำนวนนี้เข้าข่ายการช่วยเหลือมีหนี้ค้างชำระ สหกรณ์อยู่ในสภาวะหนี้เสียเกินกว่า 1 ปี จำนวน 600 ราย ซึ่งมีวงเงินหนี้ รวม ประมาณ 500 ล้านเศษ ที่เข้าข่าย การช่วยเหลือ ไหนชุดแรก หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและระเบียบกองทุนใหม่

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน