ก่อนจะเข้าสู่เทศกาลหมอกควัน ในปีนี้ อีกราว 2 เดือนข้างหน้า กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้จับมือกัน เก็บใบไม้ ในพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติ นำออกมาแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม มีการนำมา สะสมเพื่อผลิตเป็น ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร แทนที่จะ ทำการเผา ให้เศษวัสดุเหล่านี้หมดไป
นายเสนห์ แสงมูล. ผอ.ศูนย์ป่าไม้แพร่ กล่าวว่า ปัญหาหมอกควัน เกิดขึ้นทุกปี สาเหตุสำคัญ คือการเผา และลูกตามเข้าป่า ใบไม้แห้ง ที่กำลังร่วงหล่นในช่วงฤดูแล้งกลายเป็นเชื้อเพลิง สำคัญ ที่ทำให้ แก้ปัญหาหมอกควันไม่บรรลุเป้าหมาย มาอย่างต่อเนื่อง
ข่าวน่าสนใจ:
นายชาตรี สัจธรรมนุวงค์ ผอ.ส่วนป้องรักษาและควบคุมไฟป่า กล่าวว่ากรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานในการป้องกันและควบคุมไฟป่าในพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และพื้นที่ป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ได้มีการเตรียมพร้อมในทุกมิติ ของการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่า โดยเฉพาะการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน ถือเป็นมาตรการที่สำคัญ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมไฟป่าให้ประสบความสำเร็จและเป็นการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดโครงการลดปริมาณเชื้อเพลิง กรมป่าไม้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น โดยดำเนินการจัดกิจกรรมในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก และจังหวัดพิษณุโลก
นายธีระ เงินวิลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการถอดบทเรียน ปัญหาไฟป่าพบว่า การเกิดไฟป่ามาจากมือมนุษย์ทั้งสิ้นและเชื้อเพลิงที่สำคัญคือใบไม้แห้งในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าทำให้การเผาไหม้ลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้เกิดฝุ่นละอองค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน. ในปีนี้มีแนวทำงานร่วมกันหลายฝ่ายเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา หมอกควันไฟป่าลดปัญหาฝุ่นละอองในอากาศที่มีผลต่อสุขภาพถือเป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มให้ความสำคัญกับเศษวัสดุเหลือใช้และใบไม้แห้งในป่าจึงมีการทำงานร่วมกันเพื่อเก็บเศษวัสดุและใบไม้แห้งในป่านำมาสร้างประโยชน์ให้กับคนในพื้นที่ในหลายด้านแต่ในช่วงแรกจะนำมาพัฒนาเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ให้กับประชาชนเป็นการนำร่องใน 10 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดจะต้องเก็บเชื้อเพลิงเศษวัสดุเหล่านี้ให้ได้จังหวัดละ 100 ตันเพื่อมาศึกษาดูว่าการเก็บเศษวัสดุเหล่านี้จะมีผลต่อการลดหมอกควันลงได้หรือไม่ จากนั้นก็จะทำเพิ่มขึ้นในปีถัดไปเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายในอนาคต โครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากกองทุนสิ่งแวดล้อม เข้ามาเสริม ในการขับเคลื่อน ให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: