เจ้าอาวาสวัดแม่แคมตกที่นั่งลำบากเสียทรัพย์จากการละเมิดพร้อมเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่ไม่กล้าลงนามย้อนหลังทำผาติกรรม รอทางออกถวายฎีกา ขณะชาวบ้าน 23 รายต้องการเงินค่าเวนคืน 33 ล้าน ชลประทานมั่นใจดำเนินการตามระเบียบขอยื้อเวลาจ่ายเงิน
ผู้สื่อข่าว รายงานจาก จังหวัดแพร่ วันที่ 21 มกราคม ถึงความคืบหน้าโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่แคม อันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่บริเวณ หมู่ 7 บ้านแม่แคม ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ซึ่งกำลังมีปัญหา การทำผิดขั้นตอนกฎหมายในกระบวนการ จัดหาที่ดิน เวนคืนเพื่อการ สร้างอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ โดยทางกรมชลประทานปล่อยให้ปัญหาค้างคามานาน ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ปีพศ 2560 มาจนถึงปัจจุบันโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 58 แต่ปรากฏว่าการเวนคืน ที่ดินและ จ่ายค่าทดแทนพร้อมทั้งค่าขนย้ายทรัพย์สินยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จโดยเฉพาะที่ดินธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง 5 ไร่เศษของวัดแม่แคม ยังไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายเกี่ยวกับที่ดินธรณีสงฆ์คือยังไม่ทำผาติกรรมเปลี่ยนจากพื้นที่ธรณีสงฆ์มาเป็นพื้นที่เวนคืนสร้างอ่างเก็บน้ำในขณะเดียวกันกรมชลประทานนำเครื่องจักรเข้าไปปรับพื้นที่โดยมิได้ขออนุญาตจากผู้รับผิดชอบคือพระครูสุนทร วรปัญโญ เจ้าอาวาสวัดแม่แคม
ความคืบหน้าล่าสุด ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องในปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมประชุมที่ห้องชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย สำนักพุทธศาสนาจังหวัดแพร่. กรมชลประทาน กรมที่ดิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่คือเทศบาลตำบลสวนเขื่อน เจ้าคณะจังหวัดแพร่. เจ้าคณะอำเภอเมืองแพร่. เจ้าอาวาสวัดแม่แคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ และไวยาวัจกรวัดแม่แคม โดยมีนายวิเชียร อนุศาสนนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นประธาน
ก่อนเริ่มประชุม. นายฌาญณริฐน์ พรมวัง นายกเทศมนตรีตำบลสวนเขื่อน ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ให้เร่งรัดการชดเชยเวนคืนที่ดินเอกสารสิทธิ์จำนวน 23. รายและเร่งแก้ปัญหาโดยหาข้อยุติโดยเร็ว
จากนั้นจึงเริ่มประชุม. ซึงไม่อนุญาติให้สื่อมวลชนเข้าฟัง ศูนย์ดำรงธรรมกล่าวถึงความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญคือ. 1.การเวนคืนที่ดินธรณีสงฆ์ที่ต้องทำผาติกรรมก่อนโดยทางกรมชลประทานต้องแจ้งให้หน่วยงานสงฆ์ทราบโดยเฉพาะผู้รับผิดชอบโดยตรงคือเจ้าอาวาสวัดแม่แคม. แต่ปัจจุบันมิได้ดำเนินการ เลยขั้นตอนดังกล่าวไปแล้ว ซึ่งการทำงานที่ผ่านมา กลายเป็นปัญหาบุกรุก ระเมิด ส่งผลไปถึงประเด็นที่ 2 คือต้นไม้สักและไม้กระยาเลยตามบัญชีที่กรมชลประทานสำรวจมีการนำเครื่องจักรเข้ารื้อถอนซึ้งเป็นทรัพย์สินของวัดและยังปล่อยให้ไม้มีค่าที่โค่นล้มหายไปทั้งหมด
ซึ่งนายพิทักษ์ชัย รักสุข ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าอาวาสวัดแม่แคมเข้าประชุมในครั้งนี้ได้กล่าวถึงเจตนาของเจ้าอาวาสที่ไม่ต้องการเอาผิดใครโดยส่วนตัวเนื่องจากอยู่ในสมณเพศ ซึ่งที่ผ่านมา กรมชลประทานทำผิดขั้นตอนของกฏหมายในภาพรวมคือ”ผิดกฏหมาย” พร้อมทั้งประชาชนที่รอเงินเวนคืนเสียที่ทำกินไปแล้วก็อยากได้เงินค่าเวนคืน ในขณะเดียวกันเนื่องจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้เป็นอ่างสำคัญที่เรียกว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวง ร. 9 เมื่อไม่ยอมแก้ไขให้โครงการมีความโปร่งใสจึงได้ยืนถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นธรรมต่อไป
นายพิทักษ์ชัย. รักสุข กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมต้องการให้การสร้างอ่างไม่หยุดชะงักเพราะเป็นโครงการสำคัญ ทางกรมชลประทานขอให้เจ้าอาวาสลงนามยินยอมให้ทำผาติกรรมย้อนหลังและให้หาผู้กระทำผิดขโมยไม้ในที่ธรณีสงฆ์มาดำเนินคดี. พร้อมทั้งเร่งจ่ายเงินเวนคืนให้กับเจ้าของที่ดินที่รอมานานกว่า 3 ปีจำนวน 23 ราย
หลังจบการประชุมนายวิเชียร อนุศาสนนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่. กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า. ผลสรุปคือการเร่งจ่ายเงินค่าชดเชยให้จบโดยเร็วตรวจสอบกระบวนการทำงานว่าเป็นไปตามกฏหมายหรือไม่โดยให้ สตง. และ ปปท.เข้ามาตรวจสอบ ถ้าพบความผิดก็ว่าไปตามผิด. ถูกก็ว่าตามถูกหน่วยงานเหล่านี้มีหน้าที่อยู่แล้ว ส่วนการชดเชยจะไปเร่งรัดไม่ได้ อยู่ที่ระบบราชการ ซึ่งทำความเข้าใจผู้ใหญ่บ้านกำนันเกิดความเข้าใจแล้วเงินของกรมชลประทานอาจต้องมีการบริหารภายในต้องใช้เวลาจะเร่งเอาวันนี้พรุ่งนี้คงไม่ได้ ส่วนการทำผาติกรรมย้อนหลังนั้นทางวัดไม่ขัดข้องหลังประชุมคงไปประสานกันเพื่อให้โครงการเดินไปได้
ส่วนพระครูสุนทรวรปัญโญ เจ้าอาวาสวัดแม่แคม. กล่าวว่า. ทางวัดได้ถวายฎีกาไปเมื่อวันที่ 19. มกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ทางวัดจะรอการตอบรับของสำนักพระราชวังเสียก่อนภายใน 40 วันจึงจะตัดสินใจลงนามทำผาติกรรมย้อนหลังได้ ถ้าไม่ผิดกฏหมายเพราะเจ้าอาวาสก็มีสถานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐเหมือนกันที่ผ่านมาเชื่อว่าเป็นขั้นตอนที่มิชอบด้วยกฏหมาย
ผู้สื่อข่าว รายงานด้วยว่าโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่แคมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แห่งนี้มีชาวบ้านเข้าฟ้องร้องกรมชลประทานมาก่อนหน้านี้แล้วที่มีการแผ้วถางและเผาทรัพย์สินของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง กรณีของวัดแแม่แคม เป็นอีกกรณีหนึ่งที่มีการเข้ารื้อถอนสิ่งที่เป็นทรัพย์สินในพื้นที่ธรณีสงฆ์โดยยังไม่ผ่านกระบวนการทำผาติกรรม อาจเป็นประเด็นกฎหมาย ที่ยากแก่การตัดสินใจของการย้อนกลับไปสู่การลงนามของเจ้าอาวาส ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐก็เป็นไปได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: