X

สนามเลือกตั้ง เทศบาลตำบลช่อแฮ จุดยุทธศาสตร์สำคัญเมืองแพร่ ต้องจับตา


สองกลุ่มการเมือง สองผู้สมัคร และผู้สมัคร สท.ทุกคน ล้วนมีความหมายไม่เพียงพัฒนาชุมชนแต่พื้นที่เทศบาลตำบลช่อแฮคือหน้าตาของจังหวัดแพร่ อีกด้วย
สนามเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลช่อแฮ ในครั้งนี้น่าสนใจไม่น้อย เพราะพื้นที่นี้ถือเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์สำคัญของจังหวัดแพร่ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ศาสนสถานที่สำคัญ คือวัดพระธาตุช่อแฮวรวิหาร พระอารามหลวง และพื้นที่ชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์ที่เป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวระดับต้นๆ ของจังหวัดแพร่ นอกจากนั้นยังมีเศรษฐกิจที่น่าสนใจทั้งภาคเกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำมีอ่างเก็บน้ำสำคัญหลายแห่ง ถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญของอำเภอเมืองแพร่โดยรวมก็ว่าได้ ดังนั้นการบริการท้องถิ่นที่นี่จึงมีความสำคัญยิ่ง


การเลือกตั้งท้องถิ่นช่อแฮ –ป่าแดง ครั้งนี้ มีผู้สมัครค่าย ใหญ่ๆ 2 กลุ่มการเมือง คือกลุ่มฮักช่อแฮ – ป่าแดง มีผู้สมัคร สท. เขต 1 หมายเลข 1 นางสวิง แก้วอิ่น หมายเลข 2 นายพรพิชิต วังแผน หมายเลข 3 นายเฉลิมพงษ์ ยาณะแก้ว หมายเลข 4 นายมาโมชย์ เผือกหอม หมายเลข 5 นางสาว กมลวรรณ ญาณะแก้ว หมายเลข 6นายฐาณมาศ ศิริวรคุณธนนท์
เขต 2 หมายเลข 1 นายเลียบ สิบน้อย หมายเลข 2 นางฉัตรชนันท์ แสงเรียง หมายเลข 3 นางสาววาสนา วงศ์ทอง หมายเลข 4 นายณัฐพงศ์ เมืองธรรม หมายเลข 5 นายกิตติพงษ์ ไพชอูนย์ หมายเลข 6 นายสานิตย์ เต่าคำ มีนางอัมราพร มุ้งทอง เป็นหัวหน้ากลุ่ม นายพยุงเกียรติ ปันศีล นายวิรัตน์ กระจ่างแก้ว เป็นรองนายกฯ นายสมภพ มุ้งทองเป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรี นางกาญจนา ทองคำ เป็นเลขานุการ


ในเขต 1 มีผู้สมัคร สท.อิสระอีกคือ หมายเลข13 นายเทพ หมดทุกข์ หมายเลข 14 นายมีชัย เวียงคำ

ส่วนกลุ่ม รวมพลังช่อแฮ-ป่าแดง เขต 1 หมายเลข 7 นางชวนพิศ ทุ่งห้า หมายเลข 8 นางสาวคริษฐา ประเดชบุญ หมายเลข 9 นางเพียรทอง แสงโรจน์ หมายเลข 10 นายอิทธิพล ขัดเชิง หมายเลข 11นายศศิษย์ เป็นใจ หมายเลข 12 นายวินัย หนองหล่ม
เขต 2 หมายเลข 7 นายอุเทน ทาหาญหมายเลข 8 นายศิริชัย ธรรมเมือง หมายเลข 9นางนันทวรรณ์ อุดมกิจ หมายเลข 10 นายสาคร นันกด หมายเลข 11 นางจารุวรรณ ปัญญานิติพันธ์ หมายเลข 12 นายม้วน สูงศักดิ์ มีนายอดุลย์ ไหลทุ่ง เป็นหัวหน้าทีมลงสมัครในตำแหน่งนายกเทศมนตรี และมีทีมบริหารคือนายศิริพงศ์ วงค์แสน นางภคพร สดสวยเป็นรองนายกเทศมนตรี นางสุภัทร มัชฌิโม เป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรี นายธนาวุฒิ หอมขจร เป็นเลขานุการนายกเทศมนตรี


ในเขต 2 มีผู้สมัครอิสระคือ หมายเลข 13 นางโสพิศ เชวงสุข หมายเลข 14 นางกฤติกา เชิดชู หมายเลข 15นางจีรนันท์ คำแพงอาจ หมายเลข 16 นางจิดาภา เพสอน และหมายเลข 17 นางราตรี ก้อนฟู
การหาเสียงเลือกตั้ง 2 เขตเริ่มคึกคักเป็นพิเศษผู้สมัครทั้ง 2 ทีมใช้วิธีการหาเสียงเป็นทีมและแยกย้ายกันเข้าพบปะประชาชนแบบเคาะประตู ในพื้นที่นี้ชุมชนอยู่บนภูเขาสูง บ้านเรือนอยู่ในเขตป่าต้นน้ำ การเดินทางไปพบชาวบ้านข้อนข้างลำบากเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามชุมชนต่างๆ เช่น บ้านน้ำจ้อม น้ำกาย หรือบ้านนาตอง เป็นต้นอย่างไรก็ตามพื้นที่แบบนี้กลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ การเกษตรบนที่สูง มีอากาศหนาวเย็นสิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นวิกฤตแต่มันคือโจทย์สำคัญของผู้สมัครทุกคนที่จะนำเสนอนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่มีถิ่นที่อยู่บนภูเขาและพื้นราบเชิงเขา พื้นที่นี้ยังมีศาสนสถานสำคัญอันดับต้นๆ ของจังหวัดแพร่ คือ วัดพระธาตุช่อแฮวารวิหาร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระธาตุช่อแฮ แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาที่สำคัญของจังหวัดแพร่


นางอัมราพร มุ้งทอง เป็นผู้นำสตรีในท้องถิ่น ก่อนลงสมัครเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ เคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี(นายสุทัศน์ เงินหมื่ม) ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ อดีตรองนายกเหล่ากาชาดแพร่ อดีตประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองแพร่ คณะกรรมการประชารัฐ และความจริงแล้วนางอัมราพร เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศนมตรีมาก่อนแล้วในยุคต้นๆ
นายอดุลย์ ไหลทุ่ง ในครั้งนี้ขอประกาศตัวลงสมัครตำแหน่งนายกเทศมนตรี ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลช่อแฮ เคยเป็นรองประธานสภาเทศบาลตำบลช่อแฮ และตำแหน่งใหญ่ล่าสุดคือประธานสภาเทศบาลตำบลช่อแฮ
นายอดุลย์วางแนวการเมืองแบบเข้าถึงในการให้บริการชุมชน ส่วนนางอัมราพร นั้นถ้ามองประวัติแล้วจะพบว่าเป็นผู้กว้างขวางในระดับจังหวัดและเคยเป็นถึงที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และ ที่ปรึกษา นายก อบจ.แพร่ เคยสมัคร ส.ส.จังหวัดแพร่ พร้อมทั้งเคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลช่อแฮมาก่อนแล้วที่ต้องสละตำแหน่งไปเพราะไปทำงานการเมืองที่ใหญ่กว่า จนมีนางเกสร ปลาลาศ เข้ามาเป็นนายกเทศมนตรีติดต่อกันหลายสมัย ครั้งนี้ นางเกสร ขอพัก 1 สมัยเป็นการเปิดทางให้ทีมเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทบ้าง
เมื่อมองทิศทางการพัฒนาพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งด้านสุขภาพ สวัสดิการ สายป่านของนางอัมราพรอาจเหนือกว่าหลายขุมทีเดียวถ้าต้องการพัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ทั้งในตัวเมืองและคนบนดอยต่างมองเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเพราะนักท่องเที่ยวที่มาเมืองแพร่ ร้อยละ 90 ต้องเดินทางมานมัสการพระธาตุช่อแฮ แต่จะทำให้คนที่มานมัสการพระธาตุได้อยู่ในตำบลช่อแฮและตำบลป่าแดงให้นานขึ้นจะทำอย่างไร คุณสมบัติของพื้นที่มีพร้อม แต่การขับเคลื่อนการพัฒนาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่ามีความสำคัญยิ่ง
ใครจะได้ครองเก้าอี้นายกเล็กตำบลช่อแฮ – ต.ป่าแดง ครั้งนี้ วันที่ 28 มีนาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08,00 น.- 17.00 น.จะเป็นห้วงเวลาการตัดสินว่าใคร กลุ่มใด หรือผู้สมัครอิสระใด จะได้เข้าไปทำหน้าที่อันสำคัญเพราะถือว่าพื้นที่นี้ มีคุณสมบัติพิเศษศักยภาพสูงมาก การตัดสินใจเลือกผู้บริหารจึงมีความสำคัญยิ่ง และต้องจับตาการหาเสียงและการเลือกตั้งว่าจะออกมาแบบใดมีความสำคัญต่อการพัฒนาทั้งสองตำบลพื้นที่เทศบาลและการพัฒนาที่นี่จะไปสร้างศักยภาพให้กับจังหวัดแพร่ไปพร้อมๆ กันด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน